Quantcast
Channel: Digital Advertising – Thumbsup
Viewing all 1958 articles
Browse latest View live

Infographic: 100 เครื่องมือการตลาดดิจิทัลใช้ฟรีแบบครบสูตร

$
0
0

นี่คือลายแทง 100 เครื่องมือการตลาดดิจิตอลใช้ฟรีที่สามารถตอบโจทย์ทั้งในมุมการสร้าง (Create) และการจัดการ (Manage) เรียกว่าครบทั้งการเสกสรรปั้นแต่งเนื้อหาที่มืออาชีพยิ่งขึ้นและการตรวจตรารักษาสถานะออนไลน์ของเนื้อหาเหล่านี้ให้บรรลุเป้าหมายได้โดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณก้อนโต

การตลาดดิจิทัลจะง่ายขึ้นอีกขั้นเมื่อมีเครื่องมือหรือทรัพยากรที่เหมาะสม เพราะผู้จัดการแบรนด์จะสามารถใช้เครื่องมือเป็นตัวช่วยจัดตารางการโพสต์เนื้อหา รวมถึงการหาคีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพ การเผยแพร่ให้ทั่วถึง การทำ email marketing การออกแบบหรือปรับแก้ไข รวมถึงการค้นหาความรู้ใหม่เพื่อต่อยอดเนื้อหาในอนาคต

นอกจากนี้ เครื่องมือออนไลน์หลายค่ายยังช่วยลดเวลาในการจัดการ เพื่อให้เนื้อหานั้นบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ทั้งการวางแผนแคมเปญ การจัดการโซเชียลมีเดีย การทำ SEO การวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย และการติดตามความเห็นของผู้อ่าน

ไม่น่าเชื่อว่าจำนวนเครื่องมือการตลาดดิจิทัลที่เปิดให้ใช้ฟรีและดีนั้นมีอยู่เกิน 100 ค่าย และทุกค่ายถูก Crello รวมมาแล้วในอินโฟกราฟิกนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้จัดการแบรนด์มือใหม่ทราบได้ว่าควรเริ่มต้นที่ไหน แถมยังได้รู้ถึงแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมที่จะช่วยให้งานเดินไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

Crello ยังแยกย่อยและจัดหมวดหมู่เครื่องมือออนไลน์พร้อมใช้งานให้ดูง่าย หลายเครื่องมือโดดเด่นเหมาะกับคนไทย ตัวอย่างเช่น Hemingway เครื่องมือระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษ, Peek เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ SEO, Tweetdeck เครื่องมือติดตามบัญชี Twitter หลายบัญชีในที่เดียว และ Awario เครื่องมือติดตามการกล่าวถึงหรือ mention ชื่อแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย

ผู้สนใจ ขอเชิญเรียนรู้เครื่องมือทั้งหมดจากแผนภาพด้านล่าง

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

The post Infographic: 100 เครื่องมือการตลาดดิจิทัลใช้ฟรีแบบครบสูตร appeared first on thumbsup.


เสริมทัพดิจิทัล Publicis Group คว้า Brilliant & Million เสริมภาพเอเจนซี่แห่งอนาคต

$
0
0

เพื่อให้ก้าวทันโลกดิจิทัลอย่างทันท่วงที วงการเอเจนซี่ก็ไม่ยอมตกขบวนเช่นกัน Publicis Group คว้า Brilliant & Million มาเสริมทัพความแข็งแรงของธุรกิจให้งานเดินหน้าตอบรับลูกค้าได้ครบวงจรที่สุด

ทั้งนี้ คาดว่าการรวมบริษัทในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของ Publicis Group ที่จะสะท้อนความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้นในเรื่องการตลาดดิจิทัล สามารถตอบสนองและให้บริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร มั่นใจว่าการเข้าควบรวมกิจการครั้งนี้จะส่งผลให้ Publicis Group ประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 20%

ด้าน นายสงกรานต์ เศรษฐสมภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า Publicis ประเทศไทยได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่เราเรียนรู้และพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งไปพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมโฆษณาและการสื่อสารการตลาดที่ยังคงหมุนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

อีกส่วนหนึ่งมาจากการที่เรามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าลูกค้าและแบรนด์ต้องการอะไร ในปีนี้เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรในเรื่องของการสื่อสารการตลาดดิจิทัล 

โดยจะมุ่งเน้นการสร้างฐานความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การสื่อสารตลาดดิจิทัลให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อสร้างให้บริษัทในเครือปับลิซีสมีความสามารถในการให้บริการลูกค้าทุกแบรนด์ได้อย่างครบวงจรและอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ซึ่งมีการนำเทรนด์การตลาดแบบ O2O หรือ ออนไลน์ทูออฟไลน์ (online to offline) เพื่อผสานธุรกิจบนโลกออนไลน์สู่ออฟไลน์ ยกระดับศักยภาพการสื่อสารทั้งสองด้านให้เต็มประสิทธิภาพและประยุกต์ใช้อย่างสมดุลเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจลูกค้า

“เป็นที่รู้กันดีว่าบริษัท บริลเลียนแอนด์มิลเลียน จำกัด นั้นเป็นบริษัทดิจิทัลเอเจนซีแถวหน้า สัญชาติไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนกลยุทธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร”

ดังนั้นในการดำเนินกลยุทธ์เพื่อเสริมความแข็งแรงในเรื่องของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลนั้น ทางปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทยจึงได้เลือกบริษัท บริลเลียนแอนด์มิลเลียน จำกัด เข้ามาเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือปับลิซีสกรุ๊ป ประเทศไทย

เพราะมั่นใจว่าการรวมกิจการในครั้งนี้จะทำให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเชิงลึก อีกทั้งยังจะเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานของทั้งสองบริษัทเพื่อนำมาปรับใช้ในเรื่องการทำการสื่อสารการตลาดให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

นางสาวโศรดา ศรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริลเลียนแอนด์มิลเลียน จำกัด กล่าวว่า การเข้าร่วมเป็นหนึ่งบริษัทในเครือปับลิซีส กรุ๊ปครั้งนี้นับเป็นก้าวใหญ่และก้าวสำคัญของเรา

เราเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ และบุคลากรของเราที่สอดคล้องกับมุมมองของกรุ๊ป จึงเชื่อว่าความเชี่ยวชาญของเราในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีในเชิงบูรณาการที่รวมเอาการวิเคราะห์ข้อมูลบนโลกออนไลน์

ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ผ่านการสื่อสารร่วมกัน ระหว่างผู้คนบนสังคมออนไลน์และทุกบทสนทนาที่เกิดขึ้นมาเป็นข้อมูลสู่การสร้างความเข้าใจเชิงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในโลกดิจิทัล

มาผสานเข้ากับความแข็งแกร่งและความโดดเด่นของปับลิซีสในเรื่องของกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ลูกค้าจะได้รับเพื่อสร้างความยั่งยืนของธุรกิจและเพื่อสร้างคนดิจิทัลที่จะทำให้เกิดทีมทำงานที่มีประสบการณ์และมีประสิทธิภาพที่สุด

ตั้งเป้าร่วมกัน

นายสงกรานต์ กล่าวเสริมว่า หลังจากนี้ เรามีแผนที่จะพัฒนาการให้บริการด้านต่างๆ ให้ครบวงจรมากขึ้น โดยมีความตั้งใจที่จะทำให้ บริษัท บริลเลียนแอนด์มิลเลียน จำกัด เป็นหนึ่งในหน่วยปฎิบัติการทางดิจิทัลโดยต่อยอดจาก Creative Solutions ที่เป็นเรื่องที่บริษัทในเครือปับลิซีส กรุ๊ปมีความโดดเด่นอยู่แล้ว

โดยเป็นการทำงานร่วมกันแบบผสาน Digital Creative Expertise เข้ากับ Digital Production Expertise อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้กลายเป็น End-to-End Service ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าที่ต้องการการให้บริการแบบครบวงจรและการวัดผลแบบเบ็ดเสร็จ

“เรามั่นใจว่าการเข้าควบรวมกิจการกับดิจิทัลเอเจนซี่ออย่างบริษัท บริลเลียนแอนด์มิลเลียน จำกัด ครั้งนี้จะทำให้ธุรกิจในส่วนดิจิทัลเอเจนซี่ของปับลิซีส กรุ๊ปนั้นเติบโตแบบก้าวกระโดด”

โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20% ในปีแรก แต่อย่างไรก็ดี นี่ถือเป็นเพียงก้าวแรกของเราสำหรับปี 2562 ซึ่งเรายังมีแผนงานอีกมากมายที่จะทำให้ปับลิซีส กรุ๊ป และบริษัทในเครือก้าวไปสู่ความเป็นเอเจนซี่แห่งอนาคตได้อย่างมั่นคง

โดยเป็นทั้งเอเจนซี่ที่ทันสมัย มากด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งในเรื่องออนไลน์และออฟไลน์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับปับลิซีส กรุ๊ป 

Publicis Group ปับลิซีส กรุ๊ป เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการสื่อสารการตลาด และ การตลาดดิจิทัล โดยปับลิซีส กรุ๊ป ดำเนินงานผ่านเครือข่ายแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา จนถึงงานสร้างสรรค์และการผลิตสื่อทางการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเครื่องมือสื่อสาร และความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ของปับลิซีส กรุ๊ปทั่วโลก

ทั้ง 4  โซลูชั่นฮับ (4 Solutions Hubs) ได้แก่: Publicis Communications, Publicis Media, Publicis Sapient และ Publicis Health โดยดำเนินงานรองรับตลาดหลักๆ และยังรองรับตลาดอื่น ๆ พร้อมเดินหน้าตอบรับทุกรูปแบบความต้องการของลูกค้า ด้วยความเชี่ยวชาญในทุกมิติ  และให้บริการแบบองค์รวมที่เชื่อมโยงครบวงจรเต็มกำลังภายใต้องค์กรเดียว ปัจจุบัน ปับลิซีส กรุ๊ป ตั้งอยู่ในกว่า 100 ประเทศ มีพนักงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 80,000 คน

และในส่วนของเอเจนซี่ที่อยู่ภายใต้ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย ประกอบด้วย ลีโอ เบอร์เนทท์ (Leo Burnett)ซาทชิแอนด์ซาทชิ (Saatchi & Saatchi)ปับลิซีส (Publicis), อัลฟ่า 245 (Alpha 245)อาร์ค(Arc), เรเซอร์ฟิช (Razorfish)เอ็มเอสแอล (MSL)ดิจิทาส (Digitas)สตาร์คอม (Starcom), สปาร์ค ฟลาวดรี้ (Spark Floundry) และล่าสุดคือ บริลเลียนแอนด์มิลเลียน

เกี่ยวกับบริลเลียนแอนด์มิลเลียน

บริลเลียนแอนด์มิลเลียน คือ ดิจิทัลเอเจนซี่ สัญชาติไทย ที่ได้รับรางวัล Thailand Digital Agency of the Year และ Thailand Independent Agency of the Year จากเวที Campaign Asia ถึง ปีติดต่อกัน

บริษัทมีพนักงาน ที่เป็นคนรุ่นใหม่ถึง 130 คนที่ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัลกว่า 10 ปี ทั้งในด้านการวางแผนกลยุทธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร

การสร้างสรรค์แคมเปญต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์ผ่านการสื่อสารร่วมกันระหว่างผู้คนบนบนสังคมออนไลน์ และการวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกบทสนทนาที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

อีกทั้งยังมีการบริการครบวงจรที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านของกิจกรรมทางการตลาด ด้วยประสบการณ์ที่ร่วมทำงานกับแบรนด์มามากกว่า 100 แบรนด์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
Source: thumbsup

The post เสริมทัพดิจิทัล Publicis Group คว้า Brilliant & Million เสริมภาพเอเจนซี่แห่งอนาคต appeared first on thumbsup.

YDM ซื้อ FCB เสริมทัพครบสิบบริษัท หวังปั้นเอเจนซี่ออนไลน์สู่โลกออฟไลน์แบบครบวงจร

$
0
0

กลายเป็นเรื่องจำเป็นเสียแล้ว สำหรับธุรกิจเอเจนซี่ ที่ฝั่งออนไลน์และออฟไลน์ต้องการที่จะดึงจุดแข็งของกันและกันมาเสริมให้ธุรกิจอยู่รอด ด้วยความที่เทรนด์ดิจิทัลมาแรง และพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ก็เปลี่ยนไปเสพสื่อออนไลน์มากขึ้น ทำให้รายได้ของฝั่งเอเจนซี่ออฟไลน์แบบเดิมอาจลดลง และต้องหาฐานออนไลน์ที่แข็งแรงมาช่วยเสริมขาธุรกิจให้แข็งแรงขึ้น

เรื่องของวงการเอเจนซี่ ในรอบปีที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่า โลกออนไลน์เข้ามาเขย่าการทำงานเอเจนซี่แบบเดิมให้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การร่วมมือกันเพื่อสร้างโอกาสเติบโตในธุรกิจย่อมดีกว่าเริ่มต้นเองแน่นอน ด้วยตัวเลขของเม็ดเงินโฆษณาในปี 2561 ที่ผ่านมานั้น คาดว่ามีมูลค่ากว่า 8.9 หมื่นล้านบาท และในจำนวนนี้แบ่งเป็นงบโฆษณาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลถึง 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปี 2560 กว่า 20%

ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) ในเครือ Yello Digital Maketing (YDM) ประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า ตอนนี้ธุรกิจในเครือมี 9 บริษัทแล้ว ส่วนใหญ่จะดำเนินงานด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งทั้งสิ้น การเข้าไปถือหุ้นใน FCB Bangkok แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้บริษัทจะความแข็งแกร่งในด้านการเป็นบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ที่รองรับงานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้แบบครบวงจรมากขึ้น

ผสมผสานการทำงาน โอกาสเติบโตสูง

การเข้าซื้อกิจการของ FCB Bangkok นั้น เพราะมองว่าการเป็นแค่พาร์ทเนอร์ในการทำงานร่วมกันไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้แบบครบวงจร อีกทั้งการจ้างงานแบบสองบริษัทจะกลายเป็นต้นทุนของลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่สามารถเดินหน้าแคมเปญได้อย่างเต็มที่

 

“ปัญหาของการดีลงานออนไลน์และออฟไลน์นั้น คือต่างฝ่ายต่างจะมีมุมของการทำงานที่ไม่ได้เข้ากันได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ กลายเป็นปัญหาใหญ่ของแบรนด์หรือธุรกิจที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสองต่อ รวมทั้งการสร้างแคมเปญใดๆ ก็จะสำเร็จช้ากว่าเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น หากเอเจนซี่เองสามารถรองรับความต้องการได้ทั้งสองรูปแบบ น่าจะช่วยให้ทำงานได้ดีกว่า”

 

ทั้งนี้ การเข้าถือหุ้นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ได้เป็นเม็ดเงินที่มหาศาลจนเขย่าวงการ แต่เป็นราคาที่บริษัทแม่รับได้ และคาดว่าต่อจากนี้ คงจะหยุดตั้งบริษัทใหม่ เพราะ YDM Thailand ต้องการจะเร่งเดินหน้าธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ (SET) ภายใน 3 ปีให้ได้

 

“ด้านรายได้ของบริษัทปีที่ผ่านมา ทำได้ 550 ล้านบาท ปีนี้ก็ตั้งเป้า 60% ทั้งจากลูกค้าใหม่ แพลตฟอร์มที่บริษัทพัฒนาขึ้นและเจาะตลาดหลายธุรกิจมากขึ้น รวมถึงการเข้ามาเสริมด้านออฟไลน์ของ FCB Bangkok คาดว่าจะทำเม็ดเงินได้ราว 800 ล้านบาท”

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัทจะทำเสริมในปีนี้คือเรื่องของเทรนนิ่ง โดยอาจจะเปิดเป็นหลักสูตรด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ให้ธุรกิจขนาดกลางและย่อมเข้ามาเรียนรู้และนำเทคนิคไปใช้งาน คาดว่าหลังจากที่ออฟฟิศใหม่ตกแต่งเสร็จจะมีพื้นที่ในการรองรับบริการนี้มากขึ้น ซึ่งเราก็กำลังเปิดรับคนใหม่ๆ เข้ามาเสริมด้วย

 

“การเมือง” โอกาสที่น่าสนใจแต่ไม่ค่อยมีคนทำ

ทางด้านของอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาใช้งานดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น ยังคงเป็นกลุ่มเดิมที่มีการ Spending สูง เช่น รถยนต์ ธนาคาร ประกันชีวิตและสมาร์ทโฟน ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะทำตลาดแบบเฉพาะเจาะจง จึงเป็นเม็ดเงินที่สูงกว่าธุรกิจอุปโภคบริโภคที่ใช้เม็ดเงินหว่านในทุกโซเชียล

ส่วนกระแสการเมืองนั้น อย่างที่ทราบว่าหลายเอเจนซี่จะไม่เปิดตัวว่าเข้าไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองใด เพราะอาจกระทบในแง่ของธุรกิจโดยรวม ทั้งที่การเมืองเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่น่าจะมีการใช้จ่ายในช่องทางโซเชียลมีเดียสูง ทำให้ส่วนใหญ่ยังเน้นหนักไปในด้านการทำสื่อออฟไลน์อย่างบิลบอร์ด หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น

ในต่างประเทศ นักการเมืองจะใช้เรื่องของบิ๊กดาต้ามาวิเคราะห์และสร้างสรรค์เป็นนโยบายเพื่อหาเสียงสู้กับคู่แข่ง แต่ในประเทศไทยไม่ได้มีแนวทางว่าจะนำข้อมูลไปใช้ในทิศทางใดถึงจะเหมาะสม ทำให้ภาพของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งกับการเมืองไทยยังไม่ค่อยชัดเจนนัก

ต้องยอมรับว่านักการเมืองของไทยยังคงเป็นคนรุ่นเก่า ที่ไม่ได้รู้จักกระบวนการด้านดิจิทัลมากนัก นอกจากการใช้โซเชียลมีเดียในการหาเสียง แนะนำตนเองให้เป็นที่รู้จัก หรือนโยบายต่างๆ แต่ความเป็นจริงยังมีเครื่องมือเชิงลึกที่ใช้ในการทำงานได้อีกมากไม่ต่างกับธุรกิจ อยู่ที่ว่าจะมีมุมมองและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากแค่ไหน

ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของการเมืองเท่านั้น ในวงการธุรกิจก็เช่นกัน หากทีมบริหารเข้าใจภาพของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นเพียงแค่โซเชียลมีเดียก็จะเสียโอกาสอีกมหาศาล แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยยังไม่ได้เก่งถึงขั้นพัฒนาโซเชียลมีเดียขึ้นมาเองจนติดตลาดได้เหมือนอเมริกาหรือจีน ทำให้ภาพของการนำไปใช้งานคือ เกาะเครื่องมือการตลาดอย่างไรให้เกิดผลสำเร็จที่สุด

เอเจนซี่ออฟไลน์โอกาสยังมีอยู่

ทางด้านของ นางสาวทุติยา ดิสภานุรัตน์ Managing Director – FCB BANGKOK กล่าวว่า เป้าหมายหลักของ FCB BANGKOK คือ การมุ่งไปสู่การสร้าง Business Solution ได้แบบ Free Form เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละธุรกิจที่มีความต้องการแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลให้ไอเดียในการแก้ปัญหาของลูกค้ามาได้จากทุกทาง ไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกเป็นออนไลน์ หรือออฟไลน์อีกต่อไป

ดังนั้น การได้เข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ YDM Thailand ครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่ง และทำให้บริการของเราครบวงจรมากขึ้นเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าในการบริหารแคมเปญการตลาด

เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ลูกค้าส่วนหนึ่งมีการแยกใช้เอเจนซีโดยพิจารณาจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นการผนึกกำลังในครั้งนี้ จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรอบด้าน เพราะเป็นการรวมตัวของเอเจนซีที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านงานครีเอทีฟ และการตลาดดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง

 

“รายได้ของ FCB Bangkok ในปีที่ผ่านมาปิดที่ 100 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะมีรายได้เพิ่มอีก 15% ในกลุ่มของลูกค้าเดิมที่ต้องการเข้าสู่โลกดิจิทัล ซึ่งบริษัทมีการพูดคุยกับทางโอสถสภาไว้บ้าง รวมทั้งมีแผนจะคุยกับอีกหลายบริษัทที่เคยเป็นลูกค้าออฟไลน์กันมาก่อน”

ทั้งนี้ FCB BANGKOK มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำ Branding การวางกลยุทธ์ด้านการสื่อสาร การบริหารแคมเปญโฆษณา และการออกแบบแคมเปญการตลาด

เรียกได้ว่าเป็นองค์กรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยทีมงานที่มีศักยภาพ มีองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เชื่อว่าการเข้าร่วมกรุ๊ปกับ YDM Thailand ในครั้งนี้จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ แนวโน้มของธุรกิจโฆษณาในปี 2562  จะเริ่มเห็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมทัพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ในการซื้อสื่อโฆษณา หรือการใช้แชทบ็อททำหน้าที่ให้บริการลูกค้า ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจเอเจนซี สามารถให้บริการและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 
Source: thumbsup

The post YDM ซื้อ FCB เสริมทัพครบสิบบริษัท หวังปั้นเอเจนซี่ออนไลน์สู่โลกออฟไลน์แบบครบวงจร appeared first on thumbsup.

มาส่องดู!! นักการเมืองใช้เครื่องมือทางการตลาดอะไรในการหาเสียงได้บ้าง ?

$
0
0

เมื่อพูดถึง “การเมือง” นั้นที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ เราพบว่ามีมุมมองที่คล้ายกับ “การตลาด” เพราะต้องมีการ “ทำการสื่อสาร” เหมือนกัน ซึ่งเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดก็สามารถหยิบมาใช้  ในการทำแคมเปญรณรงค์หาเสียงได้เช่นกัน

โดยทาง Thumbsup ได้พูดคุยกับ ภคนันท์ จุลเสน Digitial Media Expert ที่ดูแลงานด้านออนไลน์ให้กับหลายๆ แบรนด์ ว่ามีเครื่องมือทำการตลาดไหนที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเล่นเกมทางการเมืองได้บ้างลองมาดูกันค่ะ

เรื่องของ “การเมือง” กับ “การตลาด”

การเมืองก็คล้ายๆ กับการทำการตลาดที่ต้องทำ Marketing Communication กับ PR  เพื่อให้เกิด Awareness หรือการรับรู้เช่นเดียวกับการทำแคมเปญทางการตลาดต่างๆ  ซึ่งหากพูดถึง Awareness ในโลกออนไลน์ นักการตลาดหลายๆ ท่านก็คงมีตัวเลขในใจที่ผุดขึ้นมา เช่น วิดีโอโฆษณาในแคมเปญนี้จะต้องมีการมองเห็น 7 ครั้งผู้ชมถึงจะจำโฆษณาตัวนี้ได้

การใช้สื่อออนไลน์เปลี่ยนโฉมการหาเสียงไปได้อย่างไร

หากจำการเลือกตั้งครั้งที่แล้วได้เราก็จะพบว่ามีการใช้ป้ายหาเสียงจำนวนเยอะมาก  เพื่อให้คนที่พบเห็นสามารถจำหน้าและเบอร์ของสมาชิกในพรรคได้ ซึ่งนั่นก็คือหลักการเดียวกันกับที่ออนไลน์กำลังทำอยู่  เพื่อให้ผู้ชมเห็นโฆษณาในสื่อที่ต่างกันไป

ความแตกต่างคือสื่อออฟไลน์ที่ไม่สามารถควบคุมโฆษณาได้เลยว่าอยากจะให้คนเห็นเป็นจำนวนกี่ครั้ง  เพราะเรารับประกันไม่ได้เลยว่าป้ายหาเสียงจะไม่โดนเด็กพ่นสี  หรือจะหายไปจากจุดที่ตั้งเมื่อไร  หรือ Engagement นั้นจะ Loss  ไปเมื่อไรก็ไม่สามารถมอนิเตอร์สื่อโฆษณาได้ทุกตัว  ซึ่งในออนไลน์ เรียกว่า Viewability

ในทางกลับกันการลงโฆษณาออนไลน์สามารถดูได้ว่าโฆษณากำลังรันอยู่ไหม มีคนเห็นกี่ครั้ง เป็นคนกลุ่มไหนบ้าง กระทั่งเห็นซ้ำเป็นจำนวนเท่าไรในระยะเวลาที่ผ่านๆ มา  รวมไปถึงช่องทางใดที่มีความถี่ในการเห็นเยอะที่สุดได้อย่างชัดเจน

เนื่องจากสื่อออนไลน์มีพื้นที่ให้เราขึ้นโฆษณาได้แบบจะไม่จำกัด  สิ่งที่เราทำได้คืออาจจะให้คนเห็นโฆษณาพรรคการเมืองของเราวันละ 1 ครั้ง หรือ 100 ครั้ง  หรือตลอด 24 ชม. เลยก็ได้ในทางเทคนิคหากมีเงินเพียงพอ

ซึ่งความล้ำยิ่งไปกว่านั้นเราสามารถทำสื่อโฆษณากี่ชิ้นก็ได้  ตราบเท่าที่กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ อาร์ตไดเรกเตอร์ ในทีมของเราทำได้  ในแบบที่ไม่ต้องรอโรงพิมพ์  คนตรวจคำผิด และไม่จำเป็นต้องมีจำนวนการพิมพ์ขั้นต่ำ  เพื่อที่จะส่งไปโรงพิมพ์  เหมือนอย่างในสมัยก่อน  เรียกได้ว่าลดเวลาจากทั้งอาทิตย์ลงเหลือเป็นรายชั่วโมงได้เลย

โดยสามารถเช็คผลลัพธ์ได้แบบทันทีทันใดเมื่องานถูกดเผยแพร่ไปในออนไลน์  ซึ่งทำให้รู้ได้ทันทีว่าสื่อไหนได้ผลหรือสื่อไหนไม่ได้ผล  ซึ่งความได้เปรียบคือถ้าหากคุณมี Copyrighter หรือ Art Director ที่ดี  ก็จะมั่นใจได้เลยว่าสื่อของเราจะออกมาดี

แต่ถึงเเม้ว่าจะมีข้อดีเยอะแค่ไหนก็ตาม  แต่ก็ต้องระวังเพราะถ้าควบคุม “สาร” ที่ต้องการสื่อไม่ดีพอก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดที่ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว  และยากจะแก้ไขก็ได้

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทำงานในวงการ Digital Marketing ทั่วๆ ไปทราบกันดี  แต่ถ้าเป็นประชาชนทั่วไปอาจจะมีหรือไม่มีภูมิต้านทานจากการโดนครอบงำโดยข้อมูลหลากหลายช่องทางตามสื่อต่างๆ หรือเปล่า?  หรือในบางครั้งนักการตลาดเองก็อาจจะพลาดท่าให้กับวิธีการทำการตลาดในจุดนี้เหมือนกัน

ความ Localization ที่นำพาไปสู่ชัยชนะ

อีกหนึ่งเรื่องที่การใช้ออนไลน์นำความได้เปรียบมาให้  คือการเข้าถึงในคนทุกระดับด้วยการสร้างสื่อแบบเฉพาะเจาะจงได้  ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสื่อตามภาษาถิ่นตามภูมิภาค เหนือ อีสาน ใต้ กลาง

หรือพรรคการเมืองจะผลิตสื่อเปลี่ยนไปตามจุดเด่นของตัวเองที่มีอยู่ก็ได้เช่นกัน  ถ้าเรามีนโยบายเรื่องของการแต่งงานในเพศเดียวกันก็สามารถซื้อโหษณาให้ตตรงกันกลุ่มทาเก็ต LGBTQ

โดยสามารถเลือกให้กลุ่มคนเห็นนโยบางอย่างได้ เช่น ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศอาจเลือกให้เห็นนโยบายอย่าง “ภาษีการพัฒนาเมือง”  หรือกลุ่มคนต่างจังหวัดก็เลือกให้เห็นในส่วนของการขยายเมือง การสร้างงาน เป็นต้น

นอกจากนั้น คุณอาจเข้าไปร่วมมือกับหน่วยงานในท้องที่อย่าง “สภาหอการค้าท้องถิ่น” เพื่อสร้างคอนเทนต์ร่วมกันกับคนในท้องถิ่น และเพิ่มการมองเห็นโฆษณาของพรรคการเมืองก็ได้  เรียกได้ว่าเครื่องมือออนไลน์นั้นควบคุมกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งเพศ อายุ การศึกษา และมหาวิทลัย

เราจะนำ Digital Tools มาหาเสียงได้อย่างไร?

มาถึงประเด็นเจาะลึกที่ว่าเราจะนำ “เครื่องมือทางการตลาด” ไปใช้หาเสียงได้อย่างไรบ้าง  เขาก็บอกเราว่าวิธีการนั้นมีหลายรูปแบบที่น่าสนใจตั้งแต่แบบปกติ  หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า “สายขาว” ไปจึงถึงขั้นที่มันซับซ้อนขึ้น

1.สายขาว

เราสามารถใช้เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ในการหาเสียงได้หลายอย่างทั้ง คอนเทนต์ภาพทั่วไป  หรือทำวิดีโอโฆษณาก็ได้  รวมไปถึงการส่ง Sponsor Message ผ่านทาง Messenger Application ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการทำ SMS Marketing ในช่วงยุคปี 2000 ต้นๆ  เพียงแต่ล้ำไปอีกขั้นที่เราสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการตราบเท่าที่มีเงิน  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้เราสามารถกำหนดได้ ทั้งอายุเพศ อาทชีพ รายได้ ความชอบ

2. สายเทา

ถัดมาอีกหน่อยที่พูดได้ว่าเป็นเรื่องไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีข้อจำกัดความถูกผิดในเชิงจรรยาบรรณ  นั่นคือการใช้เครื่องมือในการ “Re-Tarketing” นั่นคือ

  • Facebook Pixel คือ ระบบ Tracking ของ Facebook ที่ใช้ติดตั้ง บนเว็บไซต์เพื่อคอยสำรวจ ติดตาม พฤติกรรมการใช้งานของผู้เยี่ยมที่เข้าเว็บไซต์  โดยข้อดีคือเรานำข้อมูลไปใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับทำโฆษณาอย่างละเอียดได้ (ทำ Custom Audience) ทำให้โฆษณาแสดงออกมาอย่างได้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น
  • Google Ads เป็นเครื่องมือวัด Conversion ที่แสดงให้คุณเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากลูกค้าคลิกที่โฆษณาของคุณ  ทั้งการซื้อผลิตภัณฑ์ ลงทะเบียนรับจดหมายข่าวหรือดาวน์โหลดแอปฯ  โดยเมื่อลูกค้าดำเนินการตามที่คุณกำหนดไว้เราจะเรียกการกระทำของลูกค้ากลุ่มนี้ว่ามี Conversion ต่อกัน
  • Twitter Conversion tracking  เครื่องมือวัดเป้าหมายของการโฆษณาใน Twitter 

โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถดักจับว่าใครเข้าใช้แอป เฟส ช่องทางที่เชื่อมต่อออนไลน์อะไรบ้าง เช่น เราเข้าเว็บพรรคการเมืองหนึ่ง ทาง Facebook, Google, Twitter ก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้ใช้กำลังไปถึงที่หน้านี้เเล้ว  เรียกได้ว่ามีหลายช่องทางเเค่เก็บข้อมูล แต่จุดสำคัญคือสามารถนำเอาข้อมูลนี้ไปทำการตลาดต่อได้!!

ยกตัวอย่าง :

ถ้าวันนี้คุณเข้าเว็บไซต์ของ พรรคริพับลิกันเพื่อไปดูว่าสมาชิกพรรคมีใครบ้างแล้วกดปิดหน้าเว็บไซต์ไป  ถึงแม้ว่าจะออกจากเว็บไซต์ไปแต่เราก็ยังสามารถเห็นวิดีโอ เมื่อเข้า Youtube หรือเห็นโฆษณาของพรรคเมื่อเข้าไปเล่น Twitter, Facebook ต่อได้ในเวลาไม่นานหลังจากปิดเว็บไซต์ไป

นั่นคือเรามีโอกาสที่จะถูกทำโฆษณาต่อในเนื้อหาอื่นๆ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ติดตามต่อ  โดยจริงๆ แล้วแพลตฟอร์มอย่าง Facebook นั้น ไม่ได้มีความเอนเอียงเข้าข้างพรรคการเมืองพรรคไหนโดยตรง  เเต่พูดกันตรงๆ คือ

” พรรคไหนจะมีศักยภาพมากพอจะทำการสื่อสารด้วยวิธี Re-Tarketing ได้ก็จะยิ่งได้เปรียบ ” 

3. สายเทาเข้ม

อีกระดับที่เข้มขึ้นมาหน่อย เช่น สมมติว่าคุณกำลังอ่านบทสัมภาษณ์ของ Donald  Trump ที่มาลงบทสัมภาษณ์กับทาง Thumbsup  แล้วกดอ่านไปจนจบ  หรืออาจจะอ่านไปสักพักแล้วกดปิด  ขณะที่หลังกดปิดไปพรรคการเมืองก็สามารถซื้อโฆษณาทาง Facebook, Google หรือ Twitter ให้ขึ้น โฆษณาของพรรคการเมืองได้ทันทีเลย

หรือในกรณีที่คู่เเข่งขั้วตรงข้ามอย่าง “พรรคเดโมแครต” เข้ามาซื้อกลุ่มเป้าหมายที่มีการเข้ามาอ่านในเว็บไซต์แล้วนำมาหักล้างกันได้  โดยยิงสารที่ต้องการสื่อออกไปในรูปแบบของขั้วตรงกันข้าม  และยังคงใช้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาอ่านบทสัมภาษณ์ของ Donald  Trump

สำหรับด้านกฏหมายนั้นไม่ใช่เรื่องผิดที่จะขายข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตนให้ใครก็ได้  เพราะ Facebook เองเเค่จับกลุ่มเป้าหมายได้เฉยๆ เเต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดถึงขนาดว่ามีชื่อ น้ำหนัก ส่วนสูง เท่าไรกันแน่  เพียงแค่จับยูสเซอร์ได้เท่านั้น

ถ้าให้พูดถึงตัวอย่างคงเป็นช่วงตอนที่ Donald  Trump ลงสมัครนรับเลือกตั้ง  ซึ่งตอนนั้นสามารถนำข้อมูลมาแยกได้ละเอียดมาก ทั้งการศึกษา อายุ เพศ เช่น คนอ่านเว็บไซต์หน้านี้มีทั้งหมด 1,000 คน  และเป็นช่วงอายุ 20-25 ปีจำนวนกี่คน  แต่ตอนนี้ Facebook ไม่เปิดโอกาสให้ทำแบบนี้แล้ว

ส่วนสื่อที่จะมีอิทธิพลกับทุกธุรกิจนั้นจะกลับมาอยู่ที่เว็บไซต์  เพราะตัวเว็บไซต์คือพื้นที่ส่วนกลางที่สุดท้ายผู้อ่านจะต้องกลับมา  เปรียบได้ว่าเว็บไซต์ คือ “บ้าน” ที่สามารถเเทร็คได้ว่าผู้อ่านเข้ามาทำอะไรในจุดไหนของเว็บไซต์  และสามารถนำเอาข้อมูลออกไปทำแคมเปญต่อยังนอกบ้านได้  โดยแตกต่างจากแพลตฟอร์มอย่าง Facebook, Google, Twitter ที่ไม่สามารถเเทร็คได้

” ลองจินตนาการว่าถ้าทุกพรรคการเมืองติด Tools ในเว็บไซต์ตัวเอง  ก็จะสามารถทำให้เห็นสื่อของพรรคตัวเองได้จากทุกๆ ช่องทางจนหลอนไปเลย “

และทุกช่องทางเล่าเรื่องด้วยเมสเสจต่างกันได้  ซึ่งตัว publisher เองก็สามารถขายกลุ่ม Target ที่มาอ่านคอนเทนต์ของพรรคการเมืองให้กับใครก็ได้  

โดยหากเว็บไซต์ xx มีคนเข้ามาเป็นล้านยูสเซอร์ เราจะแยกได้เลยว่าคนนี้ชอบพรรคไหน ก็เอาไปขายต่อได้  ซึ่งความอันตรายคือหากสื่อเจ้า A มีความเอนเอียงไปทางพรรคการเมืองใดก็จะเข้าข้างกันได้

เรื่องสมมติ : เว็บไซต์ xx ทราบว่าคนนี้ชอบพรรคริพับบลิกัน  แต่ก็สามารถใช้สื่อที่เกี่ยวกับพรรคเดโมแครตนำไปหักล้างกันได้เรื่อยๆ  เรียกได้ว่าในสายเทานั้น  ถ้าคุณทราบว่าคลิปวิดีโอไหนใน Youtube ที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองหนึ่ง  เราก็สามารถซื้อโฆษณาเพื่อทับคลิปตัวนั้นได้ เช่น ถ้าเขาจะดูวิดีโอสัมภาษณ์ Donald  Trump เราสามารถเอาวิดีโอสัมภาษณ์ Hillary Clinton มาขึ้นเป็น Political Ad ในคลิปได้

4. สายดำ

เป็นการทำในรูปแบบที่เรียกว่า “คลิกเบต” อย่างเว็บข่าวบางสำนักที่เราเคยเห็นกัน  

เช่น พรรคริพับบลิกันทราบว่ายูสเซอร์ในกลุ่มนี้ชอบพรรคของตัวเอง  จึงไปเปิดเพจที่เป็นบุคคลที่ 3 4 5 เพื่อมาซื้อโฆษณาด้วยการขาย “กลุ่มทาร์เก็ต” จากนั้นใส่สื่อด้านลบเพื่อทำการโจมตีลงไป  โดยอาจมีการทำเว็บไซต์คลิกเบตในหลักร้อย หรือหลักพันเว็บได้  เพื่อที่จะทำการ Discredit กับขั้วตรงกันข้าม  โดยทุกพรรคเองก็สามารถดึงกลุ่มทาร์เก็ตข้ามไปข้ามมากันได้เพื่อทำการบูสโพสต์

เครื่องมือตรวจจับ

แต่การใช้งานสื่อออนไลน์ในโลกนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวจนเกินไป  เพราะยังมีวิธีตรวจจับว่าคุณคือหนึ่งในเป้าหมายของการหาเสียงด้วยวิธีสีเทาอยู่หรือเปล่า

  • Facebook Pixel Helper เครื่องมือตรวจจับการรีทาเก็ตติ้งผ่าน facebook

  • Google Tag Assistant ไว้ดูว่าเว็บมีการเก็บข้อมูลการกระทำอะไรบ้าง

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้พูดถึงระบบอื่นๆ เช่น การทำ DMP Data Management Platform  หรือการใช้ Parametric ในการทำการตลาด  เพราะขอบอกเลยว่ามันยังมีท่ายากในการทำการตลาดออนไลน์ได้อีกมากมาย

เรียกได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้ที่น่าสนใจและทำให้รู้สึกว่า “การตลาด” เองก็เข้าไปสอดเเทรกในเกือบทุกๆ บริษทของชีวิตเรา  จนไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการเมืองการเลือกตั้ง

 

 

 
Source: thumbsup

The post มาส่องดู!! นักการเมืองใช้เครื่องมือทางการตลาดอะไรในการหาเสียงได้บ้าง ? appeared first on thumbsup.

ตามไปดู มหกรรมแบรนด์ใหญ่เกาะกระแส #10yearchallenge

$
0
0

ผ่าปรากฏการณ์ #10yearchallenge ที่เหล่าแบรนด์ไม่ยอมปล่อยตัวให้พลาดโอกาสสร้างการรับรู้ในแบรนด์บนโลกโซเชียล เบื้องต้นพบว่าหลายแบรนด์พยายามใช้โอกาสนี้ในการขอบคุณลูกค้าที่ให้สนับสนุนต่อเนื่องหลายปีจนบริษัทเติบใหญ่เป็นปึกแผ่น ขณะที่หลายองค์กรใช้ #10yearchallenge เป็นช่องทางในการสะท้อนการปรับปรุงบริการของตัวเองได้แนบเนียน

#10yearchallenge นั้นเป็นคำท้าที่ชาวโซเชียลหยิบมาเล่นอย่างสนุกสนานในช่วงสัปดาห์วันครูปี 2019 โดยชาวโซเชียลไทยหญิงชายทุกเพศหลากวัยต่างร่วมสนุกด้วยการโพสต์ภาพตัวเองในปี 2019 เทียบกับปี 2009 เพื่อเทียบให้เห็นความเหมือนหรือความต่างของรูปร่างหน้าตาในช่วง 10 ปีที่ผ่านไป แน่นอนว่ามีม #10yearchallenge ไม่เพียงถูกพลิกแพลงจนเรียกรอยยิ้มจากผู้พบเห็นได้มากมาย แต่ยังถูกแบรนด์หยิบมาประยุกต์เพื่อให้ทันกระแสการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายด้วย

เกาะกระแสเกือบทุกธุรกิจ

ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์รองเท้านันยาง Nanyang ที่โพสต์ว่า “10 ปีมันน้อยไป ขอย้อนไปสัก 62 ปีละกัน” แถมยังติด #62YearsChallenge คู่กับ #ChangDaoStyle #สไตล์ที่อยู่เหนือกาลเวลา อย่างไม่แคร์ใคร

ด้านเพจ Huawei Mobile ก็โพสต์ภาพสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เทียบกับรุ่น 10 ปีที่แล้ว พร้อมระบุว่าหัวเว่ยมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ๆ และสิ่งที่ดีกว่าสำหรับคุณเสมอ

เพจ Mi Thailand ของ Xiaomi เป็นอีกแบรนด์เพจที่ให้ความสำคัญกับ #10yearchallenge โดยโพสต์ว่าปี 2009 ยังไม่มีบริษัท Xiaomi จึงขอขอบคุณที่ทำให้บริษัทมีวันนี้ พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะพัฒนานวัตกรรม สินค้าและบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป จุดนี้ไม่เพียง
#10yearchallenge เพจ Mi Thailand ยังติด #ขอบคุณ ด้วย

เพจ KrungsriCard ใช้ #10yearchallenge เพื่อเน้นย้ำว่าบัตรกรุงศรีมีแต่โปรดีงามจนรูดตามไม่ทัน และจากที่ปี 2009 ยังโชว์ยอดเงินผ่านเล่มสมุดบัญชีธนาคาร มาปี 2019 ยอดเงินถูกโชว์ผ่านแอปแล้วจ้า

บริษัทอสังหายักษ์ใหญ่อย่าง SC Asset ก็ถือโอกาสโพสต์ว่า “10 ปีผ่านไป บ้านของ SC พัฒนาไปแค่ไหน ลองมาดูกันได้ที่ www.scasset.com ครับ” พร้อมกับโพสต์ภาพบ้านตัวอย่างปี 2009 เทียบกับ 2019 ให้เห็นชัดเจน

เพจจำหน่ายถุงผ้าในรูปทรงถุงพลาสติก Plasticbag.Official ก็โพสต์ภาพถุงพลาสติกที่จะยังไม่ย่อยสลายไปไหนไม่ว่าจะผ่านไป 10 ปี ทำให้ภาพถุงพลาสติกในปี 2009 ไม่ต่างอะไรจากภาพในปี 2019

สำหรับเว็บไซต์ ngthai หรือ National Geographic Asia ในเครืออมรินทร์ฯ โพสต์ภาพเสือพูม่าที่ยังมีในปี 2009 เทียบกับภาพสีดำในปี 2019 เพื่อแสดงว่าเสือและสัตว์ป่าหลายชนิดสูญพันธุ์ไปเรียบร้อยในปีนี้

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้จากปรากฏการณ์นี้คือการตอกย้ำว่า วันนี้แบรนด์ต้องไว และต้องตอบสนองกระแสโซเชียลให้ทันจึงจะไม่พลาดโอกาสเกาะแสไป แบรนด์ควรจะมีทีมที่คอยติดตามซึ่งจะต้องสามารถทำเนื้อหาหรือแคมเปญตามสถานการณ์ได้ทันท่วงที รวมถึงงบประมาณสำรองที่ต้องพร้อมเสมอหากเกิดกรณีที่จำเป็นขึ้นมา

 
Source: thumbsup

The post ตามไปดู มหกรรมแบรนด์ใหญ่เกาะกระแส #10yearchallenge appeared first on thumbsup.

Infographic: สถิติ Visual Marketing ต้องรู้เพื่อสานต่องานปี 2019

$
0
0

ในโลกของ Content Marketing นั้นมี Visual Marketing เป็นองค์กรประกอบหลัก เพราะแทนที่จะเป็นข้อความอย่างเดียว Visual Marketing มีเครื่องมือน่าสนใจทั้งภาพนิ่ง วิดีโอ ตารางหรือแผนภูมิ ภาพกราฟฟิก และมีมซึ่งทำให้เกิดกระแสร้อนแรงได้ในเวลาข้ามคืน ทุกเครื่องมือ visual มีสถิติการชมที่น่าสนใจมากในปี 2018 ที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นบันไดต่อยอดงาน marketing ในปี 2019 ได้อย่างแน่นอน

สถิติ Visual Marketing เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดปี 2019 นี้เป็นผลงานการรวบรวมจาก Venngage ประเด็นที่โดดเด่นคือปี 2018 เป็นปีที่นักการตลาดใช้สื่อกลุ่ม visual ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นภาพมากขึ้นกว่าปี 2017 ที่ผ่านมา โดยจากที่นักการตลาด 45% บอกว่า 91-100% ของเนื้อหาที่สร้างขึ้นมีการใช้ภาพ กราฟฟิก วิดีโอ หรือ visual อื่น ล่าสุดนักการตลาด 56% บอกว่าได้ใช้ภาพ visual ในเนื้อหาของตัวเองตลอด 100% ของเวลาเล่นเนื้อหานั้น

ความนิยมในภาพ visual เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ visual สามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับข้อความของทุกคนได้ จุดนี้พบว่านักการตลาด 88% มีการใช้ภาพ visual ในบทความมากกว่า 50% ที่มีการตีพิมพ์

การสำรวจพบว่าแม้ “ภาพสต็อก” หรือภาพประกอบจากคลังจะเป็นประเภทภาพที่พบบ่อยที่สุด (40%) แต่การสร้างกราฟฟิกด้วยตัวเอง (Original Graphic) เช่น Infographic นั้นเรียกความสนใจได้ดีที่สุดบนโลกออนไลน์ รองลงมาเป็นวิดีโอ และตารางแผนภูมิ

ยังมีวิธีดึงดูดผู้อ่านและผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วยภาพอีกมากภายใน Infographic นี้ ผู้สนใจสามารถติดตามฉบับเต็มได้จากด้านล่าง

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

The post Infographic: สถิติ Visual Marketing ต้องรู้เพื่อสานต่องานปี 2019 appeared first on thumbsup.

เจาะพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและตัวเลขคาดการณ์ประจำปี 2019 (1)

$
0
0

รายงานเรื่อง Digital 2019 ของ Hootsuite และ We Are Social ถือเป็นรายงานที่โลกให้ความสนใจเพราะการสำรวจทุกครั้งสามารถบอกสถานะความเป็นไปของวงการออนไลน์โลกได้เป็นอย่างดี สำหรับสถิติปี 2019 สะท้อนว่าโลกออนไลน์มีจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะผู้ใช้รายใหม่เกิน 1 พันล้านรายที่แสดงว่า “Next Billion Users” นั้นปรากฏตัวบนโลกออนไลน์แล้ว ต่อไปนี้คือบทสรุปจาก 200 สไลด์ของการสำรวจ Digital 2019 ที่ครอบคลุมถึงมกราคม 2019 ซึ่งคุ้มค่าต่อการอ่าน!

 

– ปัจจุบันมีผู้ใช้อุปกรณ์พกพามากกว่า 5,110 ล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้น 100 ล้านคน (2%) เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

– มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 4,390 ล้านคน เพิ่มขึ้น 366 ล้านคน (9%) เมื่อเทียบกับมกราคม 2561

– จำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีมากกว่า 3,480 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้น 288 ล้านคน (9%)

– ชาวโลก 3,260 ล้านคนใช้โซเชียลมีเดียบนอุปกรณ์พกพาในเดือนมกราคม 2019 เพิ่มขึ้น 297 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 10%)

– ทุก 1 วินาที มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่เกิดขึ้นทั่วโลก 11 ราย รวมแล้วมีผู้ใช้ใหม่ 1 ล้านรายต่อวัน

– อินเดียคือตลาดที่โดดเด่นมาก เพราะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเกือบ 100 ล้านคนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นอัตราการเติบโตมากกว่า 20% ต่อปี ตัวเลขนี้ทำให้อินเดียครอง 1 ใน 4 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่ของปีนี้ โดยรวมแล้วเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโต 55% ต่อปี

– จีนมีสัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่ 50 ล้านคนในปีที่ผ่านมา

– ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงเป็นอันดับ 3 ทั้งที่แดนลุงแซมมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเทียบกับประชากรหรือ penetration rate 88% แล้ว แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาก็ยังเพิ่มขึ้นเกือบ 9% ต่อปี มีผู้ใช้งานรวมกว่า 310 ล้านคน (penetration rate 95%)

– ในรอบ 5 ปี (ตั้งแต่ปี 2014) จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นแล้ว 1,900 ล้านราย เพิ่มขึ้น 75%

– บทสรุปช่วง 30 ปีที่โลกรู้จัก “World Wide Web” คือวงการอินเทอร์เน็ตต้องใช้เวลามากกว่า 16 ปีกว่าจะมีผู้ใช้งานทะลุ 1 พันล้านราย แต่เพียง 6 ปีต่อมา ผู้ใช้งานก็เพิ่มจำนวนเข้าสู่หลัก “พันล้านที่ 2” ข้อมูลจากการสำรวจ Digital 2019 พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้น 1 พันล้านรายทุก 2.7 ปี ซึ่งปัจจุบัน ฐานผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกทะลุหลัก 4,500 ล้านรายแล้ว

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป

– โดยเฉลี่ย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกใช้เวลาออนไลน์ 6 ชั่วโมง 42 นาทีต่อวัน ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้วที่ 6 ชั่วโมงและ 49 นาที

– แม้สถิติเวลาที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต (ผ่านอุปกรณ์ทั้งหมด) ในมกราคม 2019 จะลดลง แต่ด้วยจำนวนฐานผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เวลาที่มนุษยชาติทั่วโลกใช้บนอินเทอร์เน็ตนั้นคิดเป็นเวลารวมกันมากกว่า 1.2 พันล้านปี ในปี 2019

– ข่าวดีคือโลกมีการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น บริษัท Ookla รายงานว่าความเร็วการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 18% ทั่วโลกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ความเร็วในการเชื่อมต่อเน็ตบ้านนั้นเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสาม

– ประเทศที่มีความเร็วการเชื่อมต่อเน็ตบ้านเฉลี่ยมากกว่า 100MBPS นั้นมี 12 ประเทศในขณะนี้ โดยปัจจุบัน ประเทศที่มีความเร็วการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือโดยเฉลี่ยมากกว่า 50MBPS มีมากกว่า 10 ประเทศ

– สิงคโปร์คือแชมป์ประเทศที่มีการเชื่อมต่อเฉลี่ยที่เร็วที่สุดในโลก (191MBPS) ซึ่งเร็วกว่าการเชื่อมต่อเฉลี่ยในเวเนซุเอลาและพื้นที่ห่างไกลอื่นถึง 50 เท่า

– ความเร็วการเชื่อมต่อบนโทรศัพท์มือถือโดยเฉลี่ยมักสูงกว่าความเร็วการเชื่อมต่อเน็ตบ้าน ภาวะนี้เกิดขึ้นใน 44 ประเทศจาก 117 ประเทศที่ Ookla สำรวจข้อมูล โดยกว่า 10 ประเทศมีความเร็วการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยสูงมากกว่าความเร็วการเชื่อมต่อเน็ตบ้านเกินสองเท่าตัว

– ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของโลก 4.4 พันล้านคนส่วนใหญ่ใช้งาน Google ซึ่งครองแชมป์เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก อันดับ 2 คือ YouTube และ 3 คือ Facebook

– เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ 5 แห่งติด top 20 ในกลุ่มเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก

– แพลตฟอร์มจีนอย่าง Taobao และ Tmall นั้นมีอันดับสูงกว่า Amazon ในแง่ของปริมาณการใช้ทั่วโลก

– ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 92% ในขณะนี้ดูวิดีโอออนไลน์ทุกเดือน ซึ่งหมายความว่าชาวโลกไม่ต่ำกว่า 4 พันล้านคนทั่วโลกกำลังบริโภควิดีโอออนไลน์ในปี 2019 เทียบกับคน 6 พันล้านที่มีโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน

– เกมเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ต ทั้งเกมมือถือทั่วไปจนถึงเกมกราฟฟิกขั้นเทพ ข้อมูลพบว่ามีผู้คนมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกในขณะนี้ที่เล่นเกมออนไลน์ทุกเดือนเดือน โดยเกมอย่าง Fortnite กลายเป็นปรากฏการณ์เกมฮิตระดับโลก

– ตลาดคาสต์เกม (Game Casting Market) หรือการดูคนอื่นเล่นเกมออนไลน์นั้น เติบโตชัดเจน ตัวเลขล่าสุดระบุว่าเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด (มากกว่า 1 พันล้านคน) ดูคนอื่นเล่นเกมดิจิทัลทุกเดือน ในขณะเดียวกันผู้คนมากกว่า 700 ล้านคนจะติดตามดูกีฬา e-sports ในปี 2019 ซึ่งเป็นสองเท่าของจำนวนคนที่ดูการแข่งรถ Formula 1 ในปี 2017

– รูปแบบ interface ของการใช้อินเทอร์เน็ตกำลังเปลี่ยนแปลงชัดเจนในปี 2019 การใช้เครื่องมือควบคุมด้วยเสียงหรือ voice control tools เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 4 ใน 10 มีการใช้คำสั่งเสียงหรือค้นหาด้วยเสียงทุกเดือน

– ขณะนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในจีนและอินเดียใช้ระบบควบคุมด้วยเสียง ทั้ง 2 ตลาดนี้เป็นปัจจัยบวกสำคัญสำหรับนักพัฒนา คาดว่าจะเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในวงการเทคโนโลยีเสียงช่วงปี 2019

– ไทยเป็นประเทศอันดับ 5 ที่มีการใช้งานระบบสั่งการด้วยเสียงมากที่สุดในโลก เป็นรองอินโดนีเซียที่ครองอันดับ 3 และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ครองอันดับ 4

สถิติร้อนผู้ใช้โซเชียลมีเดียปี 2019

– จากการสำรวจ 230 ประเทศทั่วโลก พบว่าจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นเกือบแตะหลัก 3,500 ล้านรายในช่วงต้นปี 2019 โดยมีผู้ใช้ใหม่ 288 ล้านคนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้ทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 45%

– ประเทศในตะวันออกกลางคือกลุ่ม Top ที่อัตรา social media penetration rate สูงที่สุด โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทำได้ 99%

– เกาหลีเหนือคือประเทศที่มีอัตราการใช้งานโซเชียลเมื่อเทียบกับประชากรน้อยที่สุด โดย social media penetration rate ต่ำกว่า 0.1%

– อันดับ social media penetration rate ถูกมองว่าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะโซเชียลมีเดียมักเป็นแพลตฟอร์มที่ห้ามเด็กใช้งาน ดังนั้นการเทียบกับจำนวนประชากรจึงมีความบิดเบือนหากประเทศนั้นเป็นประเทศที่ส่วนใหญ่มีจำนวนประชากรเด็กสูง อย่างเช่น แอฟริกาที่เกือบ 40%ของประชากรทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 13 ปี ขณะที่ social media penetration rate ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ทำได้ 99% ก็ถูกมองว่าไม่สมจริงที่ทุกคนในประเทศจะใช้โซเชียลมีเดีย ทำให้เป็นไปได้ว่าผู้ใช้เหล่านี้อาจเป็นบัญชีที่ซ้ำกันในบางส่วน

– ประเทศอย่างเอธิโอเปียมีการเติบโตที่น่าประทับใจในปีนี้ โดยมีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคน ซึ่งแปลว่าการเติบโตสูงกว่า 60% ต่อปี

– จีนคือแชมป์ประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 100 ล้านคนตั้งแต่ปีที่แล้ว ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้มีผู้ใช้โซเชียลมากกว่า 1 พันล้านคนในประเทศจีน (แม้ว่าบางส่วนอาจเป็นบัญชีซ้ำซ้อน) ยังมีอินเดียที่มีผู้ใช้งานโซเชียลรายใหม่มากกว่า 60 ล้านคน

– ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้โซเชียลมีเดียนั้นโดดเด่นกว่าการใช้อินเทอร์เน็ต เพราะผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลกมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวเมื่อเทียบจากรายงาน Digital 2014 ในปีนี้ จำนวนผู้ใช้โซเชียลทะลุ 3,490 ล้านราย สูงกว่าระดับ 1,480 ล้านรายที่เคยรายงานไว้

พฤติกรรมโซเชียลเล่นดุ

– จำนวนเวลาที่ผู้คนใช้ในโซเชียลมีเดียในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สถิติจาก GlobalWebIndex รายงานว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดียจะใช้เวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 16 นาทีต่อวันบนแพลตฟอร์มโซเชียล – เพิ่มขึ้นจาก 2 ชั่วโมง 15 นาทีในปีที่แล้ว เท่ากับ 1 ใน 3 ของเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตรวม หรือราว 1 ใน 7 ของเวลาที่กำลังตื่น

– ถ้าคูณเวลาเฉลี่ยต่อวันกับผู้ใช้ทั้งหมด 3,484 ล้านคนที่ใช้โซเชียลมีเดียวันนี้ จะพบว่ามนุษยชาติใช้เวลารวมเกือบ 330 ล้านปีไปกับแพลตฟอร์มโซเชียลในปี 2019

– เวลาที่ใช้ในโซเชียลมีเดียของแต่ละชาตินั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในญี่ปุ่นใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 36 นาทีต่อโซเชียลมีเดียในแต่ละวัน ตรงกันข้ามกับชาวฟิลิปปินส์ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ย 4 ชั่วโมง 12 นาทีในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 15 นาทีต่อวัน (6%) เทียบกับค่าเฉลี่ยปีที่แล้ว

– จำนวนเวลาที่ผู้คนใช้ในโซเชียลมีเดียต่อวันนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยของผู้ใช้โซเชียลทั่วโลกคือ 40 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับมกราคมปี 2014

– อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกครั้งที่โซเชียลจะเรียก engagement ได้ เพราะข้อมูลจาก GlobalWebIndex แสดงให้เห็นว่า 98% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกมีการเข้าชมแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในเดือนที่ผ่านมาก็จริง แต่มีเพียง 83% เท่านั้นที่มีส่วนร่วมหรือ engage กับแพลตฟอร์มเหล่านั้น

– ค่าเฉลี่ยขณะนี้ พบว่าผู้ใช้ 1 รายมีบัญชีอยู่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเกือบ 9 แห่ง แต่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับทุกบัญชีเหล่านี้ในแต่ละเดือน

– วันนี้ผู้คนต่างใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้นเพื่อการทำงาน โดยเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้บอกว่าพวกเขาทำเช่นนั้นในเดือนที่ผ่านมา เท่ากับมีชาวเน็ตเกิน 800 ล้านคนที่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการทำงานในวันนี้

นอกจากข้อมูลพฤติกรรมการใช้โซเชียล Digital 2019 ยังมีรายงานข้อมูลเชิงลึกของโซเชียลแต่ละค่ายทั้ง Facebook, YouTube แม้แต่ LinkedIn ซึ่งเติบโตดีมากในพม่า นักการตลาดที่ไม่อยากพลาดขอเชิญติดตามตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ได้เลย.

ที่มา: : Report

 
Source: thumbsup

The post เจาะพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและตัวเลขคาดการณ์ประจำปี 2019 (1) appeared first on thumbsup.

วิเคราะห์ภาพรวม Facebook และโอกาสอยู่รอดของโซเชียลมีเดียอื่นๆ ผ่านสไลด์ของ Digital 2019 (2)

$
0
0

ต่อจาก “ทุกสไลด์ ทุกตัวเลขล่าสุดจาก Digital 2019 (1)” เราขอเชิญทุกคนไปติดตามข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน Digital 2019 ของ Hootsuite และ We Are Social รายงานที่โลกให้ความสนใจเพราะทุกตัวเลขสามารถบอกสถานะความเป็นไปของวงการออนไลน์โลกได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลด้านล่างนี้คือสถิติเชิงลึกของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหลักของโลก ซึ่งจะอธิบายได้ว่าตอนนี้ใครนำหน้าและใครตามหลังอยู่ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับนักการตลาดทุกคนที่ต้องการเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับแคมเปญในอนาคต

 

ภาพของ Facebook ในปีที่ผ่านมา

– แม้จะเป็นปีที่มีปัญหาในปี 2018 แต่ Facebook ยังคงรักษาอันดับสูงสุดของแพลตฟอร์มไว้ได้

– จำนวนผู้ใช้งานรายเดือน (MAU) ของ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 12 เดือนที่ผ่านมาและการประกาศผลประกอบการล่าสุดก็ย้ำว่าผู้ใช้ Facebook เพิ่มขึ้นเกือบ 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี แผนภูมิการเติบโต 5 ปีของ Facebook ก็ดูน่าประทับใจเช่นกัน

– มีสัญญาณบางอย่างแสดงว่าผู้คนใช้งาน Facebook น้อยลงเป็นหลักนาที สะท้อนว่าชาว Facebook อาจต้องการ #DeleteFacebook ทำให้คนกลุ่มนี้ “รีบดู” เมื่อมีการแจ้งเตือนในบัญชี Facebook

– YouTube ครองอันดับที่ 2 ของตารางเว็บไซต์สุดฮิตของคนทั่วโลก คาดว่า YouTube จะทำลายสถิติผู้ใช้ 2 พันล้านเข้าสู่พันล้านถัดไปได้แน่นอน

– แนวโน้มการเติบโตในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า WhatsApp ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดดเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้ใช้ 1.5 พันล้านรายที่คงที่เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

– WeChat (Weixin ในภาษาจีน) มีผู้ใช้ทะลุ 1 พันล้านรายเช่นกัน ยังมี Instagram ที่ทำสมาชิกเกิน 1 พันล้านรายได้สำเร็จในช่วงมิถุนายนปีที่ผ่านมา

– Twitter ถูกมองว่าน่าผิดหวังในปี 2018 เพราะฐานผู้ใช้ที่ลดลง 4 ล้านคนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม Sina Weibo ของจีนซึ่งให้บริการ microblogging สไตล์เดียวกันกลับมีฐานผู้ใช้เติบโตเกือบ 20% ตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา หากแนวโน้มการเติบโตในปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลง Weibo อาจจะมีฐานผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 500 ล้านคนในช่วงครึ่งหลังของปี 2019

– Snapchat เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ฐานผู้ใช้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตัวเลขผู้ชมโฆษณาของ Snapchat ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

– ในมุมแอปส่งข้อความ WhatsApp และ Facebook Messenger เป็นแอปที่ใช้มากที่สุดใน 208 ประเทศ จากทั้งหมด 234 ประเทศ

– Viber ยังเป็นแพลตฟอร์มรับส่งข้อความอันดับต้นที่ผู้ใช้ Android ใน 10 ประเทศทั่วโลกเลือกใช้ อย่างไรก็ตาม WeChat และ LINE เป็นติดอันดับหนึ่งใน 3 ประเทศตลาดหลักของแต่ละรายเท่านั้น

โฆษณาสื่อสังคมออนไลน์รุ่งแรง

– Facebook ยังคงเติบโตในธุรกิจโฆษณาบนสื่อสังคมออนไลน์ เพราะผู้ใช้ใหม่ 18 ล้านคนที่เพิ่มขึ้นนั้นกลายเป็นผู้ชมโฆษณาที่ทุกแบรนด์สามารถเข้าถึงได้ (สถิติไตรมาสที่ 4 ปี 2018)

– อย่างไรก็ตาม Facebook สูญเสียผู้ใช้ 10 ล้านคนที่มีอายุ 13 ถึง 17 ปีในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2018 แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป เพิ่มเข้ามาชมโฆษณาแทน

– อินเดียคือตลาดหลักของ Facebook ในวันนี้ เพราะจำนวนผู้ชมโฆษณาที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านคน (ผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้น 50 ล้านคนในปีที่ผ่านมา) ยังมีฟิลิปปินส์ที่ฐานผู้ใช้เพิ่มขึ้น 2 ล้านคนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เบ็ดเสร็จแล้วเพิ่มขึ้นรวม 8 ล้านคนตลอดปี

– ค่า median หรือมัธยฐานของโพสต์ “ที่ถูกกด like” บน Facebook นั้นลดลง 10% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นี้อยู่ที่ 9 โพสต์ต่อเดือน

– จำนวนครั้งของการคลิกโฆษณาบน Facebook ก็ลดลงเช่นกัน ค่ามัธยฐานเมื่อคำนวณในกลุ่มผู้ใช้ทั่วโลกคือ 8 คลิกโฆษณาต่อเดือน โดยผู้ใช้ทั้งชายและหญิงล้วนคลิกโฆษณาน้อยลง

– เพจที่ได้รับความนิยมที่สุดบน Facebook คือหน้าเพจของ Facebook เอง เพจของ Facebook มีแฟนติดตามมากกว่า 200 ล้านคน รองลงมาเป็นเพจ Samsung ครองตำแหน่งที่ 2 ในระดับโลก สถิติแฟนเพจ 160 ล้านคน

– มี 3 คอนซูเมอร์แบรนด์เท่านั้นที่อยู่ในตาราง 20 อันดับเพจ Facebook ยอดนิยม คือ Samsung, Coca-Cola และ McDonald’s ส่วนที่เหลือของตารางเป็นนักดนตรี ทีมกีฬา นักกีฬา และนักแสดง ข้อมูลนี้ตอกย้ำความจริงว่าผู้ใช้ Facebook ไม่ได้ใช้ Facebook เพื่อดูโฆษณา แต่แรงจูงใจหลักคือการติดต่อกับเพื่อน ครอบครัว และสิ่งที่สนใจ

– ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่สร้างเพจบน Facebook มีจำนวนมากกว่า 80 ล้านธุรกิจ

Instagram อนาคตไกล

– Instagram มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 4% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ชมโฆษณาในระบบมากกว่า 895 ล้านคนทั่วโลก

– แม้จะถูกบล็อกในบางประเทศ แต่ Instagram ยังคงเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลชั้นนำในประเทศกลุ่มนี้ การวิเคราะห์ล่าสุดจาก Techrasa และ Niki Aghaei ชี้ว่าขณะนี้ Instagram มีผู้ใช้มากกว่า 32 ล้านคนในอิหร่าน ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ประเทศทั่วโลกที่ Instagram มีอัตรา penetration เกิน 50% ในกลุ่มที่ได้สิทธิ์ให้ออนไลน์

– ฐานผู้ใช้ของ Instagram แม้จะน้อยกว่า Facebook เกินครึ่ง แต่ Instagram สามารถเพิ่มผู้ใช้ใหม่เกินหน้า Facebook มากกว่า 2 เท่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (Instagram เพิ่มผู้ใช้ใหม่ 38 ล้านคน แต่ Facebook ทำได้ 18 ล้านคน)

– Instagram ไม่ได้โดนใจนักการตลาดเพียงเพราะฐานผู้ใช้ที่กำลังเติบโต แต่ Instagram ยังมีโปรไฟล์ผู้ชมที่สมดุล โดยจะแบ่ง 50:50 ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย แถมอายุเฉลี่ยของผู้ใช้ Instagram ยังน้อยกว่า Facebook

– Instagram มีมีฐานผู้ใช้ช่วงอายุ 18 ถึง 34 ปีสูงกว่า Facebook

– อินเดียยังคงเป็นตลาดสำคัญของ Instagram เพราะมีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 รายทุก 2 วินาทีในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เบ็ดเสร็จ Instagram ในอินเดียมีผู้ใช้ใหม่รวม 4 ล้านคนตั้งแต่เดือนตุลาคม

– Instagram ได้รับความนิยมในหลายประเทศที่ Facebook เข้าไม่ถึง เช่น รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียกลาง

– ผู้ชมโฆษณาของ Instagram ตอนนี้มีจำนวนมากกว่า Facebook ใน 20 ประเทศทั่วโลก จำนวนนี้อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2019

– คอนซูเมอร์แบรนด์หนึ่งเดียวที่เจาะตารางสุดยอด Instagram ฮิตคือ Nike สามารถแทรกตัวเข้ามาได้ท่ามกลางเซเลบฯคนดังทั่วโลก

 

Twitter ยังไม่ขาลง

– ฐานผู้ใช้ Twitter ลดลง 1.5% ตั้งแต่เดือนตุลาคม ผู้ชมโฆษณาของ Twitter กลายเป็นกลุ่มผู้ชาย (สัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ที่เป็นผู้ชาย)

– ฐานผู้ใช้ Twitter ที่ลดลงสวนทางกับการเติบโตในฐานะเวทีออกเสียงของบุคคลผู้มีอิทธิพลหลายคนทั่วโลก ตั้งแต่ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี นักข่าว และนักธุรกิจ โดยที่ผู้สังเกตการณ์ไม่จำเป็นต้องมีบัญชี Twitter ส่งให้หน้าเว็บ Twitter.com มีผู้เยี่ยมชมมากกว่า 670 ล้านคนในเดือนธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา สะท้อนการเติบโตมากกว่า 4% ต่อเดือน

– ตัวเลขผู้เยี่ยมชม Twitter.com โดยรวมนั้นมีจำนวนมากกว่าผู้ชมโฆษณาที่สามารถระบุตำแหน่งได้ แถมผู้เข้าเว็บทั้ง 670 ล้านคนยังใช้เวลาเฉลี่ยมากกว่า 9 นาทีในการเข้าชมเว็บไซต์แต่ละครั้ง ชัดเจนว่าทุกคนไม่ได้อ่านแค่ 1 หรือ 2 ทวีต แต่ต้องอ่านมากกว่านั้น

– จุดเด่นของ Twitter จึงถูกมองว่าเหมาะกับบริษัทที่สามารถเข้าใจถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้นจากผู้เข้าเว็บที่ไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้

Snapchat น่าเป็นห่วง

– Snapchat อยู่ในสถานการณ์ที่่น่าเป็นห่วงมากกว่า Twitter เพราะ Snapchat มีฐานผู้ใช้รายวันลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตัวเลขผู้ชมโฆษณาที่ลดลงอย่างมาก

– จำนวนผู้ใช้ทั้งหมดของ Snapchat อยู่ที่ 306.5 ล้านราย (ตัวเลขต้นปี 2019) ลดลงมากกว่า 10% นับตั้งแต่เดือนตุลาคม

– จากตัวเลขที่เผยแพร่โดย Snapchat ในเครื่องมือโฆษณาของตัวเอง พบว่าผู้ชมโฆษณาของ Snapchat ลดลง 41 ล้านคนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขนี้อาจสอดคล้องกับการเติบโตของผู้ใช้ Instagram รายใหม่ 38 ล้านคนที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน

– แม้จะมีผู้ใช้เพศหญิงมาก แต่ Snapchat กำลังสูญเสียผู้ใช้กลุ่มสาวๆไปเช่นกัน โดย Snapchat ถูกมองว่าสูญเสียผู้ใช้เพศชายเร็วกว่าผู้ใช้ผู้หญิง

– ข้อมูลล่าสุดที่รายงานในเครื่องมือโฆษณาของ Snapchat ยอมรับว่าผู้ใช้เพศชายลดลงเกือบ 17% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับผู้ใช้เพศหญิงที่ลดลง 11%

นอกจาก Facebook, Instagram และ Snapchat รายงาน Digital 2019 ยังมีข้อมูลเชิงลึกของโซเชียลของ YouTube และ LinkedIn ซึ่งเติบโตดีมากในพม่า นักการตลาดที่ไม่อยากพลาดขอเชิญติดตามตอนที่ 3 หรือจะย้อนอ่านตอนที่ 1 เพื่อรับข้อมูลพฤติกรรมการใช้โซเชียลก็ได้.

ที่มา: : Report

 
Source: thumbsup

The post วิเคราะห์ภาพรวม Facebook และโอกาสอยู่รอดของโซเชียลมีเดียอื่นๆ ผ่านสไลด์ของ Digital 2019 (2) appeared first on thumbsup.


อุปกรณ์มือถือยังมาแรงส่งผลให้แอพและอีคอมเมิร์ซยังรุ่ง กับสรุปสุดท้ายของ Digital 2019

$
0
0

นี่คือตอนสุดท้ายที่รวมข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน Digital 2019 ของ Hootsuite และ We Are Social ไว้แบบสะใจ สำหรับสถิติเชิงลึกของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหลักของโลกยังคงน่าเรียนรู้เสมอสำหรับนักการตลาดทุกคน ที่ต้องการเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับแคมเปญในอนาคต แถมยังมีสถิติอีคอมเมิร์ซน่าสนใจพ่วงมาในตอนท้ายด้วย

LinkedIn ผู้ใช้เพิ่ม

– LinkedIn มีฐานผู้ชมโฆษณาเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2018

– LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่นับจำนวนผู้ชมโฆษณาตามผู้ใช้ที่ลงทะเบียนทั้งหมด (ไม่ใช่ผู้ใช้งานรายเดือนเหมือนแพลตฟอร์มอื่น) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดของ LinkedIn แสดงให้เห็นว่านักโฆษณาสามารถเข้าถึงผู้ใช้มากกว่า 600 ล้านคนทั่วโลกบน LinkedIn เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ที่หวังจะติดต่อกับมืออาชีพทั่วโลก

– LinkedIn เติบโตแข็งแกร่งหลายประเทศในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอยู่ในตลาดพม่า ซึ่งทำให้ LinkedIn เพิ่มผู้ใช้ใหม่ได้มากกว่า 80,000 รายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

– นอกจากพม่า LinkedIn ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่งในหลายส่วนของแอฟริกา แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าขนาดผู้ชมโดยรวมในหลายประเทศเหล่านี้ยังเล็กอยู่

– LinkedIn ยังเติบโตในตลาดที่พัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่นผู้ใช้ LinkedIn เพิ่มขึ้น 14% ในญี่ปุ่น และ 13% ทั้งในเกาหลีใต้และสิงคโปร์

 

YouTube เด่นค้นหาเพลง

– ชาว YouTube นิยม “ดนตรี” มากที่สุด เพราะคำว่า song เป็นคำค้นหาที่มีการเติบโตสูงที่สุดบน YouTube และคำอื่นไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของตาราง Top 20 คือหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเพลง

– ประเทศไทยค้นหาเพลงบน YouTube บ่อยมากจนคำว่า “เพลง” ภาษาไทยปรากฏในอันดับที่ 13 ของตาราง Top 20 คำค้นหายอดนิยมบน YouTube

– นอกจากเพลง เนื้อหาอื่นในตารางคือภาพยนตร์และ TV content หรือรายการโทรทัศน์ รวมถึงเกม Fortnite และ Minecraft ซึ่งเป็น 2 เกมที่ดึงดูดความสนใจมหาศาลบน YouTube ตลอดปี 2018

– มิวสิควิดีโอคิดเป็น 9 ใน 10 วิดีโอที่ถูกดูมากที่สุดตลอดกาลของ YouTube โดย PewDiePie ยังคงเป็น YouTuber อันดับ 1 ที่อาจเสียแชมป์ให้ T-Series ซึ่งเป็นค่ายเพลงและภาพยนตร์อินเดีย ในเวลาอันใกล้

ผู้ใช้อุปกรณ์มือถือโตไม่หยุด

– จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้น 100 ล้านคนในปี 2018 สถิติผู้ใช้งานทั่วโลกขณะนี้คือ 5,100 ล้านคน (ข้อมูลเดือนมกราคม 2019) ส่งให้ worldwide mobile penetration ทะลุ 67% ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของประชากรโลก

– ตอนนี้สมาร์ทโฟนคิดเป็น 2 ใน 3 ของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือทั่วโลก สถิติล่าสุดชี้ว่ามีสมาร์ทโฟนเกือบ 5,500 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งานอยู่ในปัจจุบันทั่วโลก เพิ่มขึ้น 450 ล้านเครื่องเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

– โทรศัพท์มือถือกลุ่ม “ฟีเจอร์โฟน” จำนวนราว 2,500 ล้านเครื่องยังคงใช้งานอยู่ทั่วโลกในขณะนี้

– การเชื่อมต่อที่เกี่ยวข้องกับพีซี, แท็บเล็ต และโมบายเราเตอร์ มีจำนวนรวม 270 ล้านอุปกรณ์

– เกือบครึ่งหนึ่งของการเชื่อมต่อมือถือทั่วโลกปัจจุบันเป็น 4G (LTE) โดยจำนวนการสมัครสมาชิกบริการ LTE เพิ่มขึ้นเกือบ 50% ในปีที่แล้ว

– 3 ใน 4 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตผ่านการเติมเงิน ลดลงเล็กน้อยจาก 76% ในปีที่แล้ว

โมบายแอปใช้งานคึกคัก

– ด้วยสมาร์ทโฟน 5,500 ล้านเครื่องที่มีการใช้งานทั่วโลกในวันนี้ การดาวน์โหลดแอปจึงเพิ่มขึ้น 9% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ยอดดาวน์โหลดรวมเกือบ 2 แสนล้านดาวน์โหลดตลอดทั้งปี 2018

– ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกใช้จ่ายมากกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐผ่านแอปในปี 2018 เฉลี่ยยอดใช้จ่ายมากกว่า 20 เหรียญสหรัฐต่อปี

– mobile game ยังคงครองพื้นที่หลักในร้านแอปสโตร์ โดยครองแชมป์หมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั้งในแง่การดาวน์โหลดและรายได้ ควบแชมป์ทั้งร้าน Google Play และ iOS store ในปี 2018

– การใช้งานแอปพลิเคชันนี้มีส่วนทำให้ปริมาณการใช้ข้อมูลบนมือถือเพิ่มขึ้นอย่างมาก สถิติชี้ว่าชาวโลกใช้ข้อมูลบนมือถือมากกว่า 20 พันล้านกิกะไบต์ต่อเดือน เฉลี่ยแล้ว 1 อุปกรณ์ใช้ข้อมูลมือถือเกือบ 7GB ทุกเดือน

อีคอมเมิร์ซพุ่งฉิว

– การใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งปี 2018 อยู่ที่ 1.78 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

– สินค้าแฟชั่นและความงามครองแชมป์การเติบโตแข็งแกร่งที่สุด 17% ในปีที่ผ่านมา ยอดใช้จ่ายทั่วโลกในสินค้าหมวดนี้สูงถึง 5 แสนล้านเหรียญ

– การจองทัวร์ แพคเกจเดินทางออนไลน์ และการจองที่พักถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซสำหรับผู้บริโภคในปี 2018 สถิติพบว่าผู้ใช้ทั่วโลกใช้เงินรวม 750,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการท่องเที่ยวออนไลน์ตลอดทั้งปี

– จำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปีที่แล้วโดย Statista รายงานว่ามีผู้คนมากกว่า 2,800 ล้านคนทั่วโลกช็อปออนไลน์ในขณะนี้

– รายได้เฉลี่ยทั่วโลกต่อผู้ใช้ (ARPU) ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซล่าสุดคือ 634 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

– อินเดียถูกมองว่าเป็นตลาดที่มีโอกาสโตสูง เพราะ 74% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอินเดียกล่าวว่าได้ซื้อของออนไลน์ในเดือนที่ผ่านมา แสดงว่ายังมีกลุ่มคนที่ไม่ได้เข้าร่วมอีคอมเมิร์ซในขณะนี้

– ประเทศไทยติดอันดับ 26 ในตารางประเทศที่มี ARPU มากที่สุดเมื่อเทียบกับ GDP per capita ขณะเดียวกัน ไทยสามารถครองอันดับ 3 ในตารางตลาดที่ยอดใช้จ่ายออฟไลน์สูงสุดเมื่อเทียบกับยอดใช้จ่ายร้านค้าปลีก

3 อนาคตธุรกิจ Digital

– ระบบควบคุมด้วยเสียงจะเพิ่มความสำคัญ สอดคล้องกับที่แพลตฟอร์มระดับโลกเช่น Google, Facebook และ Amazon พยายามมองหาอินเทอร์เฟซใช้งานง่ายเพื่อให้บริการผู้ใช้ใหม่

– โซเชียลมีเดียจะปฏิวัติตัวเอง ผลจากการสูญเสียผู้ใช้ต่อเนื่อง จะทำให้โลกเห็นการผนวกรวมหรือการจับมือเพื่อพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้น

– การตลาดจะกลายเป็นบริการ เป็นไปตามแนวทางของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสูงเพราะการดำเนินงานด้านการตลาดแบบงานบริการ แบรนด์เหล่านี้จะใช้งบประมาณด้านการตลาดเพื่อสร้างสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้าของตัวเอง สิ่งนี้จะเป็นยาแก้พิษที่ช่วยให้นักการตลาดอยู่รอดในยุคเงินเฟ้อ.

ที่มา: : Report

 
Source: thumbsup

The post อุปกรณ์มือถือยังมาแรงส่งผลให้แอพและอีคอมเมิร์ซยังรุ่ง กับสรุปสุดท้ายของ Digital 2019 appeared first on thumbsup.

Infographic: รวม checklist ห้ามพลาดเรื่อง social media marketing

$
0
0

ภารกิจดูแลการตลาดบนโซเชียลอาจจะกลายเป็นเรื่องปอกกล้วยเข้าปากเมื่อมีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม Infographic นี้จะตอบคำถามได้ว่าจะต้องจัดการภารกิจ social media marketing อย่างไร เพราะรายการ checklist ที่ต้องทำทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกไตรมาส นั้นรวมอยู่ใน Infographic เรียบร้อย

checklist นั้นเป็นสิ่งที่หลายคนใช้จัดการภารกิจของตัวเอง การไล่เรียงรายการสิ่งที่ต้องทำเป็น checklist นั้นจะทำให้เราไม่หลงลืมบางงานไปจนอาจเกิดความเสียหาย ซึ่งในกรณีของการตลาดโซเชียลมีเดีย checklist จะสามารถจัดระเบียบงานที่จุกจิกและละเอียดละออเหล่านั้นได้ เพราะ checklist จะทำให้นักการตลาดมองเห็นงานที่ยังไม่ต้องทำในตอนนั้นได้

ทำตามแผนแบบไหนดี

สิ่งที่นักการตลาดควรทำคือการวางแผนงานเป็นรายวัน, รายสัปดาห์ รายเดือน และรายไตรมาส เนื่องจากงานโซเชียลมีเดียบางงานไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน ขณะเดียวกัน การสอดส่องดูแลที่ไม่สม่ำเสมอก็อาจมีผลต่อความสำเร็จและงบประมาณด้วย ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักการตลาดโซเชียลและผู้จัดการแบรนด์ เพื่อจัดระเบียบและติดตามผลบนโซเชียลมีเดียของตัวเอง

ใน Infographic โดย SEMrush นี้ ย้ำว่าแบรนด์ควรตรวจสอบปฏิกิริยาที่มีต่อแบรนด์ และการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายทุกวัน จากนั้น ควรจะสำรวจเพื่อวิเคราะห์โพสต์ที่ประสบความสำเร็จของคู่แข่งในทุกสัปดาห์

นอกจากนี้ แบรนด์ควรรวบรวมตัวเลขวัดผล เพื่อวัดความสำเร็จของแบรนด์ในทุกเดือน แล้วจึงสรุปรวม KPI เป็นรายไตรมาสเพื่อการพัฒนาในขั้นต่อไป

ที่มา: : PRDaily , SMErush

 
Source: thumbsup

The post Infographic: รวม checklist ห้ามพลาดเรื่อง social media marketing appeared first on thumbsup.

Infographic: 19 เทคนิคทำ SEO ฉลุยในปี 2019

$
0
0

หนทางทำการตลาดดิจิทัลและการทำ SEO หรือ Search engine optimization นั้นเปลี่ยนแปลงไปทุกปี สำหรับปี 2019 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO ของทุกคนจะไม่ได้อยู่ที่การตั้งคีย์เวิร์ด หรือการเพิ่มลูกเล่นให้เว็บเพจเท่านั้น แต่อยู่ที่การปรับแนวทางเนื้อหาและแคมเปญโซเชียลซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นได้ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด

ต้องยอมรับว่า Search engine optimization คือส่วนสำคัญที่ทำให้สถานะของการตลาดดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากอัลกอริธึมใน Google ได้รับการปรับปรุงและมีกลยุทธ์ใหม่เพื่อให้ผลเสิร์ชมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นวิธีการที่เจ้าของเว็บเพจจะสามารถทำได้คือการคำนึงถึงความสะดวกของนักเสิร์ชในการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ให้ดีขึ้น ซึ่งใครทำได้ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกลไกค้นหาหรือ SEO ได้ในที่สุด

รางวัลของคนที่ทำภารกิจนี้สำเร็จคือการยกระดับเว็บไซต์ และดึงลิงก์เว็บไซต์ของเราไปยังด้านบนของหน้าผลลัพธ์ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์โดยตรง

Infographic ที่บริษัท Click เป็นผู้รวบรวมนี้ให้รายละเอียด 20 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO บนเว็บไซต์ในปี 2019 ว่าหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO คือการใส่ใจกับ backlink หรือลิงก์ย้อนกลับและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกันอยู่ วิธีนี้ยังไม่ล้าสมัยสำหรับการทำ SEO ในปี 2019

SEO ปี 2019 ยังควรคำนึงถึงภาพบนเว็บไซต์เป็นพิเศษ จุดนี้เจ้าของเว็บไซต์ควรทำทุกทางให้มั่นใจว่าภาพบนเว็บไซต์นั้นสามารถค้นหาได้ เนื่องจากการสำรวจพบว่ากว่า 27% ของการเสิร์ชทั้งหมดนั้นเป็นการเสิร์ชเพื่อหาภาพ

สิ่งที่แตกต่างจาก SEO ปีอื่นๆ คือเว็บไซต์ควรดำเนินการแคมเปญโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพราะยิ่งมีการใช้จ่ายเงินเพื่อทำแคมเปญบนโซเชียลมีเดียมากขึ้นเท่าใด เว็บไซต์นั้นก็อาจจะถูกเสิร์ชพบได้มากขึ้นเท่านั้น ทั้งการทำไลฟ์สตรีมมิ่งเพื่อถ่ายทอดสด หรือการลงทุนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล รวมถึงการปรับเนื้อหาตามอัลกอริธึมของโซเชียลมีเดียเช่น Facebook หรือ Twiiter ที่ปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน ก็อาจทำให้อันดับการเสิร์ชบน Google ดีขึ้นตามไปด้วย

ยังมีประเด็นเรื่องการปรับแต่งเนื้อหาเพื่อแสดงผลบนสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ อย่างเช่นการสร้างเนื้อหาแนวตั้ง (Vertical Content) ก็อาจทำให้เว็บไซต์เจาะ SEO กลุ่มการเสิร์ชบนสมาร์ทโฟนได้ดีขึ้น จุดนี้ถือว่าน่าสนใจเพราะวันนี้ชาวโซเชียลใช้เวลา 70% บนสมาร์ทโฟนของตัวเอง

ขอเชิญติดตามข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง จะได้รู้ว่า SEO ปี 2019 นั้นเปลี่ยนแปลงไปแบบก้าวกระโดดของจริง.

ที่มา: : Click

 
Source: thumbsup

The post Infographic: 19 เทคนิคทำ SEO ฉลุยในปี 2019 appeared first on thumbsup.

Amazon กินแชร์ธุรกิจโฆษณา Google สำเร็จปีนี้

$
0
0

ธุรกิจโฆษณาของ Amazon ถูกมองว่าจะขโมยส่วนแบ่งการตลาดจาก Google ได้สำเร็จในปีนี้ โดยผลการวิจัยของบริษัท eMarketer ประเมินว่า Amazon จะครองตลาดโฆษณาออนไลน์อเมริกันราว 8.8% ของยอดใช้จ่ายในวงการโฆษณาดิจิทัลรวมปี 2019 ตรงกันข้ามกับ Google ที่คาดว่าจะเสียส่วนแบ่งการตลาดไปอย่างน้อย 1%

eMarketer ยังประเมินว่าใน 5 บริษัทใหญ่ด้านการโฆษณาดิจิทัลอเมริกัน จะมีเพียง Amazon และ Facebook เท่านั้นที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้ในปี 2019 โดยผู้เล่น Top 5 ในตลาดโฆษณาดิจิทัลนั้นรวมบริษัทเช่น Microsoft และ Verizon ไว้ด้วย ซึ่งจะมีส่วนแบ่งตลาดคงที่หรือลดลงเล็กน้อย

สำหรับกรณีของ Amazon บริษัทวิจัย eMarketer ลงรายละเอียดว่ายอดใช้จ่ายที่ Amazon จะดูดไปได้จากตลาดโฆษณาออนไลน์อเมริกัน 8.8% ในปี 2019 นั้นเพิ่มขึ้นจาก 6.8% ในปี 2018 แนวโน้มที่เป็นบวกและปัจจัยเสริมรอบด้านทำให้คาดว่าส่วนแบ่งของ Amazon จะสูงเกิน 10% ได้ภายในปี 2020

การเพิ่มขึ้นของ Amazon สวนทางกับผู้นำตลาดอย่าง Google การสำรวจพบว่าเจ้าพ่อเสิร์ชเอนจินจะเสียส่วนแบ่งตลาด 1% ลดลงจาก 38.2% เป็น 37.2% ด้าน Facebook คาดว่ายักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียจะดึงเม็ดเงินโฆษณาอเมริกัน 22.1% ไปครอง ถือเป็นยอดใช้จ่ายโฆษณาดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 21.8% ในปีที่แล้ว

ผลการสำรวจนี้ตอกย้ำว่า Amazon กำลังขยายตัวร้อนแรงในธุรกิจโฆษณา โดยปัจจุบัน ธุรกิจนี้เริ่มทำรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ลำดับที่ 3 ของบริษัท โดย 2 อันดับแรกเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจคลาวด์ ซึ่งทั้ง 2 ธุรกิจถูก Amazon แยกออกจากกันชัดเจน

นอกจากธุรกิจหลัก 2 อันดับแรก Amazon รวบธุรกิจที่เหลือไว้ในหมวด “อื่น ๆ” ซึ่ง Amazon บอกว่ารายได้ส่วนใหญ่ของหมวดนี้มาจากยอดขายโฆษณา จุดนี้ Amazon ให้ข้อมูลในเอกสารชี้แจงว่า รายได้หมวดอื่น ๆ ในปี 2018 นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากปี 2017 คิดเป็นมูลค่ารวม 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐ บนยอดขายสุทธิปี 2018 ของบริษัทจำนวน 233,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เบื้องต้น eMarketer ประเมินว่า Amazon จะขยายธุรกิจโฆษณาในสหรัฐฯอีก 50% ในปีนี้ เป็นการปรับตัวเลขประมาณการเพิ่มขึ้นจากที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่ง eMarketer เชื่อว่ารายได้ธุรกิจโฆษณาของ Amazon จะเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลใหม่ล่าสุดของหมวดธุรกิจอื่น ๆ

แนวโน้มบวกทั้งหมดนี้ทำให้ eMarketer ประมาณการรายได้ Amazon ว่าจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี โดยตั้งแต่ปี 2018-2021 บริษัทวิจัยมองว่ารายได้โฆษณาของ Amazon ในปี 2019 จะมีมูลค่ารวม 7,230 ล้านเหรียญ

ผลการวิเคราะห์เหล่านี้สอดคล้องกับรายงานในช่วงปีที่ผ่านมา ที่พบว่านักโฆษณาบางราย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบรนด์สินค้าสำหรับผู้บริโภค) ได้ลดงบประมาณโฆษณาบนเสิร์ชเอนจินจาก Google ราวครึ่งหนึ่งไปให้ Amazon เนื่องจากการโฆษณาใน Amazon สามารถให้ผลตอบแทนการลงทุนที่แข็งแกร่งกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาได้ในคลิกเดียว.

ที่มา: : CNBC

 
Source: thumbsup

The post Amazon กินแชร์ธุรกิจโฆษณา Google สำเร็จปีนี้ appeared first on thumbsup.

YouTube บานปลายปัญหาใคร่เด็ก แบรนด์ใหญ่ตบเท้าเลิกโฆษณาชั่วคราว

$
0
0

Disney, Nestle รวมถึงต้นสังกัดผู้สร้างเกม Fortnite อย่าง Epic Games ประกาศยกเลิกการลงโฆษณาบน YouTube ชั่วคราวเพราะกังวลเรื่องเนื้อหาวิดีโอที่ไม่เหมาะสม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทใหญ่ตัดสินใจเข้าเกียร์ว่างกับ YouTube โดยข้อมูลเบื้องต้นพบว่า YouTube จะชดเชยค่าโฆษณาบนวิดีโอกลุ่มนี้ราว 2 แสนบาทในช่วง 2 เดือน

การตัดสินใจของ Walt Disney Co., Nestle และ Epic Games Inc. กลายเป็นการตอกย้ำปัญหาเรื้อรังของ YouTube เพราะบริษัทกลุ่มนี้ตัดสินใจดึงโฆษณาออกจากอาณาจักรของ Alphabet Inc. ต้นสังกัด YouTube ที่ไม่อาจดูแลเนื้อหาไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ได้เท่าที่ควร

สำหรับกรณีล่าสุดนั้นเกี่ยวข้องกับวิดีโอที่โพสต์โดยบล็อกเกอร์รายหนึ่งชื่อ Matt Watson เนื้อหาวิดีโอคือการตีแผ่แง่ลบของอัลกอริธึม YouTube ที่กำลังชี้นำและอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้เป็นโรคใคร่เด็ก (pedophilia) ซึ่งทำให้คนจิตใจไม่ปกติกลุ่มนี้สามารถค้นหาวิดีโอแสดงภาพเด็กหญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ขณะกำลังเล่นกีฬาที่แสดงสัดส่วนร่างกาย เช่น ยิมนาสติก ได้ง่าย

การโบกมือลา YouTube ของแบรนด์ใหญ่นั้นเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับที่ Matt Watson อัปโหลดวิดีโอแฉ YouTube ความยาว 20 นาทีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วิดีโอนี้ตอกย้ำโทษของอัลกอริทึม YouTube ที่เสนอหรือแนะนำวิดีโอเพิ่มเติมที่คล้ายกันได้แบบที่คนรักเด็กไม่ต้องเหนื่อย

Watson ยังระบุต้นเหตุของปัญหาที่ YouTube แก้ไม่ตกว่ามาจากส่วนแสดงความคิดเห็น เพราะชุมชนคนรักเด็กมักจะโพสต์ลิงก์วิดีโอหลายรายการเพื่อเอื้อเฟื้อแก่ผู้ชมที่มีรสนิยมเดียวกัน

ประเด็นนี้ร้อนแรงขึ้นไปอีกเมื่อ Watson ชี้ให้เห็นว่า วิดีโอฮิตของกลุ่ม pedophilia มีโฆษณาจากบริษัทใหญ่เช่น Clorox และ Disney แสดงก่อนเล่นวิดีโอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิดีโอได้รับความนิยมเพราะมีผู้ชมเกือบ 2 ล้านครั้งนับตั้งแต่มีการอัปโหลด

นอกจาก Nestle, Epic Games และบริษัทบรรจุภัณฑ์อาหารสัญชาติเยอรมนี Dr. August Oetker KG ยืนยันกับ Bloomberg ว่าได้หยุดการใช้งบโฆษณาบน YouTube แล้ว หลังจากพบว่าโฆษณาของพวกเขาถูกดีแผ่ว่าเล่นก่อนวิดีโอที่เข้าข่าย “โป๊เด็ก” แต่การเคลื่อนไหวของ Disney นั้นไม่มีการเปิดเผยแหล่งที่มาว่าบริษัทคิดเห็นอย่างไร

อย่างไรก็ตาม โฆษก YouTube ไม่นิ่งนอนใจและออกแถลงการณ์ว่า ทุกเนื้อหาและทุกความคิดเห็นที่เป็นอันตรายต่อผู้เยาว์นั้นเป็นเรื่องน่ารังเกียจ และบริษัทมีนโยบายชัดเจนเรื่องห้ามไม่ให้มีการกระทำบน YouTube ดังนั้นบริษัทจะดำเนินการในทันที ผ่านการลบบัญชีและช่อง ก่อนจะรายงานพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ต่อไป

เบื้องต้น YouTube ประเมินว่าการใช้จ่ายโฆษณาทั้งหมดในวิดีโอกลุ่มเสี่ยงนั้นมีมูลค่าต่ำกว่า 8,000 เหรียญสหรัฐหรือราว 2 แสนบาทภายใน 60 วันที่ผ่านมา ซึ่งทาง YouTube วางแผนที่จะคืนเงิน

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แพลตฟอร์มที่เป็นของ Google เผชิญกับการต่อต้านจากผู้โฆษณา ในปี 2017 บริษัทต้องเผชิญกับการโบกมือลาของผู้โฆษณาจำนวนมาก ที่พบว่าโฆษณาของตัวเองถูกเล่นในวิดีโอเนื้อหาสุดโต่งที่สนับสนุนการก่อการร้าย ตัวอย่างแบรนด์ใหญ่กลุ่มนี้คือ AT&T, Verizon, Walmart, Johnson & Johnson, JPMorgan Chase รวมถึงอีกหลายรายที่ตัดงบการใช้จ่ายโฆษณาออกไปชั่วคราว

แม้ว่าหลายรายจะกลับมาโฆษณาบน YouTube เมื่อเวลาผ่านไป แต่กรณีล่าสุดนี้อาจทำลายความไว้วางใจที่ YouTube สั่งสมไว้ก็ได้ ล่าสุดหุ้น Alphabet ลดฮวบ 1.11% มาอยู่ที่ 1,108.20 เหรียญเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา: : The Street

 
Source: thumbsup

The post YouTube บานปลายปัญหาใคร่เด็ก แบรนด์ใหญ่ตบเท้าเลิกโฆษณาชั่วคราว appeared first on thumbsup.

ยกเลิก Relevance Score บน Facebook Ads เตรียมใช้ 3 Metrics ใหม่ใน เม.ย.นี้

$
0
0

Facebook Ads เตรียมเลิกใช้ Relevance Score แล้วใช้ 3 Metrics ใหม่ในเดือนเมษายนนี้ และจะปิด 6 Metrics แล้วนำหน่วยวัดใหม่ๆ ที่สามารถใช้งานได้จริงเข้ามาแทน

Facebook ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บไซต์ ระบุว่าเตรียมยุติการใช้ Metric อย่าง Relevance Score ซึ่งเป็นตัวเลขที่บอกถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของโฆษณาใน Ad relevance diagnostics โดยจะยกเลิกการนำใช้ในการ Bid โฆษณาภายในวันที่ 30 เมษายน 2562 นี้

โดย Ad relevance diagnostics เตรียมหันมาใช้ Metrics ใหม่ที่มีความ “ละเอียดกว่า” และ “สามารถใช้งานได้จริง” เข้ามาแทนที่ ดังนี้

  • Quality ranking : ตัววัดคุณภาพโฆษณาที่ได้รับรู้มา โดยเทียบกับ โฆษณาที่แข่งขันในแข่งขันในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
  • Engagement rate ranking : อัตราส่วน Engagement ของโฆษณาที่คุณคาดหวัง เมื่อเทียบกับโฆษณาที่แข่งขันในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
  • Conversion rate ranking : อัตราส่วน Conversion Rate ของโฆษณาที่คุณคาดหวัง ที่มี Optimization Goal เท่ากันและแข่งขันในกลุ่มผู้ชมเดียวกัน

อีก 6 Metrics ก็ถูกยกเลิกใช้งาน

นอกจากนี้ Facebook Ads ยังยกเลิกการใช้งานอีก 6 Metrics ดังนี้

  • Offers Saved และ Cost Per Offers Saved – เปลี่ยนเป็น Post Saves บอกได้ว่าเพจสามารถดูได้ว่ามีคนกด Save Ads ไปกี่คน
  • Messaging Replies และ Cost Per Messaging Replies – เปลี่ยนเป็น New Messaging Connections และ Messaging Conversations Started มีขึ้นเนื่องจาก Facebook เห็นว่าหลายคนจะยังไม่เคยส่งข้อความหาเพจ จึงแยก Metrics ออกมาเพื่อให้ชัดเจนและวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
  • Mobile App Purchase ROAS และ Web Purchase ROAS – เปลี่ยนเป็น Purchase ROAS (Return on Ad Spend) มัดรวม Metric นี้ให้กลายเป็นตัวเดียว

ทำไมเรื่องนี้สำคัญ

การปรับปรุง Metrics หรือตัวชี้วัดครั้งนี้ช่วยให้ผู้ลงโฆษณา (Advertiser) ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการคาดการณ์ Performance และมุ่งเน้นไปที่การปรับ Optimization Effort ได้มากขึ้น

หากตอนนี้ใครที่กำลังใช้ Metrics เดิมๆ ตามที่เรารายงานไป ควรเตรียมเปลี่ยน Metrics และแก้ไข Report ให้เข้ากับ Metrics ใหม่ภายใน 1-2 เดือนนี้

ที่มา : Facebook Business, Facebook Ads Help Center (1) (2) และ Marketing Land

 
Source: thumbsup

The post ยกเลิก Relevance Score บน Facebook Ads เตรียมใช้ 3 Metrics ใหม่ใน เม.ย.นี้ appeared first on thumbsup.

ฟังกูรูแจงสถานการณ์ Nano-influencer ปี 2019

$
0
0

Dan Seavers เป็นหนึ่งในทีมคอนเทนต์ของ Talkwalker บริษัทวิจัยที่ทำรายงานชื่อ Global State of Influencer Marketing Report 2019 รายงานดังกล่าวพูดถึงสถานการณ์ influencer ระดับโลกในช่วงปีนี้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะประเด็นที่แบรนด์ไม่ควรละเลย Nano-influencer เพื่อยกระดับการทำ influencer marketing ชนิดคุ้มค่าที่สุด

การทำ influencer marketing ที่คุ้มค่าหมายถึงการเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับคุณภาพได้โดยไม่ต้องใช้เงินหนา กลุ่มเป้าหมายคุณภาพจะนำไปสู่ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีกว่า ซึ่งการสำรวจของ Talkwalker พบว่าคำตอบของประเด็นนี้คือ micro-influencer และ nano-influencer

จากการค้นคว้าในวงการสื่อสารโฆษณาและผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์กว่า 800 ราย Global State of Influencer Marketing Report 2019 ย้ำว่าผู้มีอิทธิพลระดับ micro-influencer และ nano-influencer จะเป็นโอกาสที่ชัดเจนสำหรับแบรนด์ที่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมหรือ engagement รวมถึงการเพิ่มการเข้าถึง influencer ที่บริษัทเลือกไว้ได้โดยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ

nano-influencer ปี 2019 ยิ่งแรง

ไม่ว่าปีที่ผ่านมา nano-influencer จะเป็นกระแสเพียงไร แต่การสำรวจประจำปี 2019 พบว่าเหล่าแบรนด์พร้อมใจมุ่งเน้นไปที่ nano-influencer ต่อเนื่อง สถิติล่าสุดคือ 69% ของผู้เชี่ยวชาญที่ Talkwalker สัมภาษณ์นั้นมองว่า influencer marketing มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์สูงสุด โดย 71% ของคนกลุ่มนี้ใช้ influencer ราว 50 คนหรือน้อยกว่า

เทรนด์นี้แปลว่า influencer marketing แบบดั้งเดิมนั้นตกยุคไปแล้ว ก่อนหน้านี้แบรนด์มักว่าจ้างใครบางคนที่มีผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียจำนวนมาก เพื่อให้คนดังโพสต์ sponsored post บน Instagram แลกกับเงินค่าจ้างจำนวนมหาศาล

วันนี้แบรนด์จึงหันมาขยายมุมมองและพิจารณา influencer ที่มีจำนวนผู้ติดตามน้อยกว่า บนงบประมาณที่แม้จะไม่น้อยกว่า แต่ก็สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า

การสำรวจพบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับ influencer-created Instagram post หรือโพสต์ Instagram ที่สร้างโดยผู้สร้างที่เป็น influencer ในขณะนี้มีมูลค่าประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 31,000 บาท) ต่อผู้ติดตาม 100,000 คน อย่างไรก็ตาม วงการ influencer ไม่มีสูตรการตั้งมูลค่าที่แน่นอน ซึ่งเน็ตไอดอลหรือ influencer บางรายสามารถขอเพิ่มเงินได้ถึงระดับ 10,000 เหรียญต่อการโพสต์

influencer ระดับนาโนเป็นเน็ตไอดอลที่มีผู้ติดตามระหว่าง 1,000 ถึง 5,000 คน บุคคลเหล่านี้ถือเป็นคนเก่งในโซเชียลมีเดียและได้สร้างกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือ niche audience ที่เข้าใจในหัวข้อที่พวกเขาต้องการพูดคุย ชุมชนคน niche อาจมีขนาดเท่ากับ 1% ของ influencer หรือคนดังรายใหญ่ แต่ค่าใช้จ่ายที่แบรนด์รับผิดชอบก็จะน้อยลงหรืออาจฟรีในบางราย เพราะ nano-influencer บางคนมีความสุขในการโปรโมตแบรนด์เพื่อแลกกับผลิตภัณฑ์ฟรี

เทียบปริมาณกับคุณภาพ

แทนที่จะจ้าง influencer รายเดียวในราคา 10,000 เหรียญต่อโพสต์ แต่วันนี้แบรนด์หันมาจ้าง influencer หลักร้อยคนบนงบประมาณที่เท่ากัน วิธีนี้อาจฟังดูเหมือนทีมการตลาดของแบรนด์จะมีงานมากขึ้น แต่ประโยชน์ของวิธีนี้ก็ทวีคูณมากขึ้นตามไปด้วย

การสำรวจล่าสุดพบว่า กลุ่มผู้ชมที่เป็น niche ที่ nano-influencer สร้างไว้จะมีส่วนร่วมหรือ engage และให้ความสนใจกับสิ่งที่ nano-influencer รายนั้นโพสต์ มากกว่าผู้ชมของคนดัง influencer รายใหญ่ สถิติจาก Digiday พบว่า nano-influencer ใน Instagram สามารถดึงดูดผู้ชมได้มากถึง 8.7% ของผู้ติดตามรวม ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับ 1.7% ของ influencer ระดับเซเลบริตี้

ดังนั้น nano-influencer จึงสามารถเพิ่ม engagement หรืออัตราการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้มากกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ influencer รายใหญ่ ปี 2019 จึงเป็นปีที่แบรนด์เฉลี่ยงบประมาณก้อนเดียวกันเพื่อหว่านไถในนาของ nano-influencer ที่จะให้ผลผลิตได้มากกว่า

สำหรับปี 2019 การสำรวจชี้ว่า nano-influencer มักเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม ทำให้ nano-influencer เป็นผู้นำการสนทนาที่ต้องการผูกแฟนคลับไว้ให้เหนียวแน่น คนกลุ่มนี้จึงพยายามค้นหาวิธีใหม่ในการสร้างกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหลายแบรนด์พบว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่แบรนด์กำลังมองหาเช่นกัน

รายงานเรื่อง Experticity micro-influencer report ก็พบว่าผู้บริโภคกว่า 82% มีแนวโน้มสูงที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของ nano-influencer เปรียบเทียบแล้วสูงกว่าผู้บริโภคทั่วไปที่มีคะแนน 73% เท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้บริโภคมักมองว่า nano-influencer เป็นคนน่าเชื่อถือ มีความรู้ และมีความสามารถในการอธิบายว่าผลิตภัณฑ์ทำงานได้ดีกว่าเน็ตไอดอลคนดัง

แต่ทั้งหมดทั้งมวล ก่อนที่จะเทงบจ้าง nano-influencer หลักร้อยคน แบรนด์จะต้องไม่ลืมประเด็น relevant หรือความเกี่ยวข้องที่จะเป็นเหตุผลในการเลือกผู้มีอิทธิพลรายนั้น จุดนี้แบรนด์ยังต้องศึกษาทั้งตัวผู้มีอิทธิพลและกลุ่มผู้ชม ซึ่งยิ่งตรวจสอบมากเท่าไร งบที่ใช้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ความจริงข้อนี้ไม่เคยเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นปี 2019 หรือปี 2020 ที่กำลังจะมาถึง

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

The post ฟังกูรูแจงสถานการณ์ Nano-influencer ปี 2019 appeared first on thumbsup.


Facebook อัพเดทวิธีคิด Potential Reach บน Facebook Ads ใหม่

$
0
0

นอกจาก Facebook Ads จะยังยกเลิก Relevance Score และอีกหลาย Metrics แล้ว ยังเปลี่ยนวิธีการคำนวณ Potential Reach ใหม่อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ Facebook ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บไซต์ ระบุว่าเตรียมยุติการใช้ Metric อย่าง Relevance Score ซึ่งเป็นตัวเลขที่บอกถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของโฆษณาใน Facebook Ads โดยจะยกเลิกการนำใช้ในการ Bid โฆษณาภายในวันที่ 30 เมษายน 2562 นี้

ล่าสุดเราพบว่า Facebook Ads ยังมีการเปลี่ยนวิธีคำนวณค่า Metrics อย่าง Potential Reach ซึ่งเป็นการคาดการณ์จำนวนคนที่น่าจะเห็น Ads ตัวนี้ ใช้ปัจจัยเหล่านี้คำนวณ

  • การกำหนดกลุ่มเป้าหมายโฆษณา (Ad targeting) และการเลือกตำแหน่งวางโฆษณา (Placement locations)
  • คอนเทนต์แบบไหนที่ผู้ใช้จะมี interact กับ Facebook (เช่น การกดไลก์เพจ)
  • Demographic ของ Report เรา เช่น อายุ หรือเพศ เป็นต้น
  • จุดที่พบ Ads (เช่น เจอ Ads บน Facebook News Feed หรือ Instagram Stories)

โดย Potential Reach จะเปลี่ยนจากการนำ “จำนวนผู้ใช้งานอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ/เดือน (Total monthly active users)” มาคำนวณ มาใช้การคำนวณว่า “ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา มีจำนวน Ads ที่แสดงบนแพลตฟอร์ม Facebook Ads เท่าไหร่” แทนอีกด้วย

โดยการเปลี่ยนแปลง Potential Reach ครั้งนี้ จะเริ่มมีผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ที่มา : Facebook Business (1) (2) และ Search Engine Journal

 
Source: thumbsup

The post Facebook อัพเดทวิธีคิด Potential Reach บน Facebook Ads ใหม่ appeared first on thumbsup.

FAQ : ในห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 8 วัน สามารถ Boost Post หรือลง Banner ได้หรือไม่ ? สิ่งที่แบรนด์และเอเจนซี่ควรรู้

$
0
0

หลังจากที่สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสมาคมโฆษณาดิจิทัลได้ออกแนวทางปฏิบัติ สำหรับการลงเนื้อหาโฆษณาและการนำเสนอในสื่อออนไลน์ สำหรับห้วงห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 เป็นเวลา 8 วัน (6, 18, 19 เมษายน และ 2-6 พฤษภาคม 2562)

ซึ่งในแนวทางปฏิบัตินั้น ก็ยังมีหลายท่านที่สงสัย หรือสอบถามเข้ามา เช่น เรายังสามารถ Boost Post ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ไหม หรือต้องหยุดไปเลย ? การลงคลิปวิดิโอโฆษณาที่ไม่ Boost Post ทำได้ไหม ฯลฯ

ทางทีมงาน Thumbsup จึงได้สอบถามไปทางสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และได้คำตอบที่น่าสนใจ จึงขอสรุปใจความมาให้ทางแบรนด์, เอเจนซี่ และสื่อ ได้ลองเป็นแนวทางกัน

อ่านเพิ่ม : แนวปฏิบัติในห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 สำหรับโฆษณา-เนื้อหาออนไลน์

สามารถ Boost Post ในห้วงพระราชพิธีได้หรือไม่ ?

คำตอบคือ “ได้” แต่ในลักษณะที่เป็นโพสต์ปกติ เช่น บทความ, ภาพ, อัลบั้มภาพ หรือหน้าเว็บไซต์ต่างๆ สามารถ Boost Post ในช่วงที่มีพระราชพิธีได้ ซึ่งหากทางแบรนด์หรือเอเจนซี่มีงานโฆษณาที่เป็นลักษณะโพสต์ทั่วไป สามารถลงโฆษณาได้ตามปกติ เว้นแต่งานโฆษณาที่เป็นลักษณะคลิป “วิดิโอ”

โดยในแนวทางปฏิบัตินั้น จะเน้นเรื่องของการลงโฆษณาวิดิโอ ซึ่งทางสมาคมเกรงว่าคลิปโฆษณา อาจจะขึ้นมาในช่วงที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธี เช่น Pre-Roll หรือ In Stream ต่างๆ ซึ่งจะดูไม่สมควร

 

การลง Boost Post ประเภทวิดิโอ หรือลง YouTube Ads ที่เป็นคลิปวิดิโอ สามารถทำได้หรือไม่ ?

คำตอบคือ “ไม่ควร” การโฆษณาประเภท Online Video ทางสมาคมขอความร่วมมือให้งดเว้นการโฆษณาประเภท Online Video ในช่วงวันและเวลาที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีฯ ตามที่ได้อธิบายไปในข้อที่ผ่านมา

 

การลงโฆษณาประเภท Banner สามารถทำได้หรือไม่ ?

สามารถ “ทำได้” แต่ให้ดูความเหมาะสม กล่าวคือ ทางสมาคมขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ ที่จัดทำเนื้อหาหรือถ่ายทอดสดพระราชพิธี ให้ทำหน้าเว็บพิเศษขึ้นมา เพื่อนำเสนอพระราชพิธีโดยเฉพาะ ซึ่งหน้าเว็บพิเศษนี้ไม่ควรจะมีโฆษณาใดๆ

ซึ่งทางแบรนด์หรือเอเจนซี่ ลงโฆษณา Banner ในเว็บไซต์ ที่มีการแยกหน้าเว็บสำหรับพระราชพิธีไปแล้ว สามารถลง Banner โฆษณาต่อเนื่องได้ โดยไม่ต้องหยุดการโฆษณาแต่อย่างใด

 

การลงโฆษณา Adsense, Banner Programmatic สามารถทำได้หรือไม่ ?

กรณีนี้ขอแนะนำให้พิจารณา “เนื้อหา” ของการลงโฆษณา เนื่องจากผู้ลงโฆษณาไม่สามารถทราบได้ว่า Banner โฆษณาของเราจะไปแสดงผลในเว็บใดบ้าง ? ต่างจากในข้อที่ผ่านมา ทำให้มีโอกาสที่ Banner โฆษณาของเราจะไปแสดงผลในหน้าเดียวกับเว็บที่กำลังถ่ายทอดสดพระราชพิธี

เพราะฉะนั้นเราควรพิจารณาที่เนื้อหาของโฆษณา เช่น โฆษณาที่มีเนื้อหาล่อแหลม หรือโฆษณาที่มีภาพที่ไม่เหมาะสมกับห้วงเวลาดังกล่าว แนะนำให้งดลง

 

การลงโฆษณาที่เป็นภาพหรือวิดิโอที่แสดงข้อความการแสดงความจงรักภักดี สามารถทำได้หรือไม่ ?

สามารถ “ทำได้” โดยปรากฎพระฉายาลักษณ์และใช้ถ้อยคำให้มีความเหมาะสมต่อห้วงบรรยากาศพระราชพิธีฯ โดยการใช้ตราสัญลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ ข้อความถวายพระพร ขอให้ดาวน์โหลดภาพจากเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์เท่านั้น

 

แนวทางปฏิบัตินี้เป็นข้อห้ามหรือไม่ ? หากไม่ทำตามหรือเกิดข้อผิดพลาดในการลงโฆษณา จะมีผลทางกฏหมายใดๆ หรือไม่

จากคำตอบของทางสมาคมเน้นย้ำว่า ทั้งหมดนี้เป็น “แนวทางปฏิบัติ” ไม่ใช่ “ข้อห้าม” เนื่องจากการห้ามลงโฆษณานั้น ทางกสทช.ออกกฏเฉพาะกับสื่อทีวีโทรทัศน์ แต่ในแนวทางที่สมาคมเสนอมานั้น ทางกสทช. ไม่ได้มีการควบคุมหรือกำกับ

ตอบแบบเข้าใจง่าย คือหากทางแบรนด์หรือเอเจนซี่ “ลืม” หยุดการลงโฆษณา ก็ไม่ได้มีผลใดๆ กับทางกสทช. เพียงแต่ให้พิจารณาเรื่องความเหมาะสม

รายละเอียดอื่นๆ

ทั้งนี้ขอความกรุณาสมาชิกสมาคมฯ ศึกษาข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบแนวปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการมีความสมบูรณ์

  • การใช้ตราสัญลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ ข้อความถวายพระพร ขอให้ดาวน์โหลดภาพจากเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์เท่านั้น
  • สามารถหาข้อมูลและรายละเอียดงานพระราชพิธีฯ ที่
  • แนวปฏิบัติที่เผยแพร่โดยสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย
  • แนวปฏิบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, กสทช. และกรมประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่ และขอความร่วมมือ

 

เรียบเรียงโดย
ทีมงาน Thumbsup

 
Source: thumbsup

The post FAQ : ในห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 8 วัน สามารถ Boost Post หรือลง Banner ได้หรือไม่ ? สิ่งที่แบรนด์และเอเจนซี่ควรรู้ appeared first on thumbsup.

Infographic: ลงทุนการตลาด digital channel ไหน ให้ ROI สูงที่สุด

$
0
0

 

ช่องทางดิจิทัลหรือ digital channel เป็นสิ่งที่ธุรกิจยุคนี้ต้องลงทุน แต่ถามว่า digital channel ไหนหนอ ที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงสุด Infographic นี้มีคำตอบ

วันนี้หลายแบรนด์ต้องลงทุนด้าน digital เพื่อเสริมแกร่งการตลาด ทั้งการโปรโมทผ่านอีเมล การทำ SEO เพื่อให้แบรนด์ติดอันดับดีในระบบค้นหาหรือเสิร์ชเอนจิ้น ยังมีการซื้อโฆษณาออนไลน์ที่ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้พร้อม เพราะหากไม่พร้อมก็อาจพลาดท่าในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์

Infographic นี้ของบริษัทที่ปรึกษา Digital Marketing Philippines รวบรวมข้อมูลอุดมประโยชน์ให้นักการตลาดได้ทราบมุมมองที่เกิดขึ้นในตลาดโลก ข้อมูลนี้อาจเป็นคู่มือเพื่อให้ผู้จัดการแบรนด์เลือกตัดสินใจได้ดี เพราะการปูพรมทำการตลาดดิจิทัลทุกช่องทางนั้นเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง

อย่ามองข้าม SEO

ข้อมูลจาก Digital Marketing Philippines พบว่า email marketing นั้นยังใช้ได้ดี แต่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม SEO เพราะนักการตลาดเกิน 73 เปอร์เซ็นต์ยกให้ SEO เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนยอดเยี่ยมถึงปานกลาง

ขณะที่ 48 เปอร์เซ็นต์ของนักการตลาดกลุ่มตัวอย่าง บอกว่าการทำงานกับเอเจนซี่คุณภาพหลายแห่ง นั้นให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีเยี่ยม เรียกว่าคุ้มค่ากับการลงทุนที่จ่ายไป

เช่นเดียวกับโฆษณาบนเสิร์ชเอนจิ้น Paid search หรือโฆษณาบนระบบการค้นหาที่เสียค่าใช้จ่ายนั้นให้ผลตอบแทนการลงทุนปานกลางถึงยอดเยี่ยม ตามข้อมูลจาก 57% ของผู้จัดการแบรนด์ที่ร่วมตอบความเห็น

ยังมีช่องทางการตลาดโซเชียล รวมถึงข้อมูลอื่นเกี่ยวกับช่องทางการลงทุนอื่นที่น่าสนใจ สามารถติดตามได้จาก Infographic รวมด้านล่าง

ที่มา: : PRDaily, DigitalmarketingPhilipines

 

 
Source: thumbsup

The post Infographic: ลงทุนการตลาด digital channel ไหน ให้ ROI สูงที่สุด appeared first on thumbsup.

เปิดความน่าสนใจกับการวิเคราะห์ 3 ประเด็นฮอตบนโซเชียล รับกระแส Apple คลอดโฆษณาใหม่

$
0
0


Apple คลอดโฆษณาใหม่ที่ไม่ได้อัดแน่นแค่มุมตลกชมสบาย แต่ยังจัดเต็มทุกสินค้าที่รวมถึงกล่องพิซซ่าพันธุ์ใหม่ซึ่ง Apple จดสิทธิบัตรเป็นเรื่องเป็นราว โฆษณานี้นำไปสู่การพูดคุยต่อยอดได้อีกไม่ต่ำกว่า 3 ประเด็นบนโลกออนไลน์ บางประเด็นสะท้อนความต้องการให้ Apple ต่อยอดเนื้อหาโฆษณาซึ่งถือเป็นความเห็นที่มีค่ามากในมุมของแบรนด์

โฆษณาใหม่ของ Apple ถูกตั้งชื่อว่า “Underdogs” วัตถุประสงค์ของโฆษณานี้คือเพื่อแสดงความสามารถของสินค้าหลากรุ่นของ Apple ไล่ตั้งแต่ iPhone ถึง iMac ไม่เว้นแม้แต่ AirDrop ที่มนุษย์งานใช้โยนไฟล์ให้กันระหว่างเพื่อนร่วมงาน แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์ของ Apple นั้นดีงาม แต่โฆษณานี้ได้รับคำชมว่าดีงามสุดๆ เพราะอารมณ์ของนักแสดงและจังหวะจะโคนที่ลงตัวในโฆษณา

เรื่องราวของโฆษณานี้ฉายถึงพนักงานกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสได้เจรจากับผู้บริหารหญิงมาดเฉียบโดยบังเอิญ โอกาสนี้ทำให้พนักงานกลุ่มนี้มีเวลา 2 วันในการสร้างฝันให้เป็นจริง นั่นคือการพัฒนากล่องพิซซ่ารูปวงกลม มุมสนุกสนานแทรกอยู่ทั่วโฆษณาเช่น สีหน้าของ Mike หนึ่งในทีมงานที่ตั้งใจบอกรายละเอียดหัวหน้างาน แต่กลับถูกไล่ให้ไปส่งอีเมลในนาทีที่ 1:03 ยังมีปฏิกิริยาของ Brian ที่ถูก แม่ปลุกให้ตื่นในนาทีที่ 1:34 รวมถึงไคลแมกซ์คือการถามว่า “มีใครกดปุ่มลิฟต์แล้วใช่ไหม?” ในนาทีที่ 2:49

1. กล่องพิซซ่าพันธุ์ใหม่

ประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลในช่วง 24 ชั่วโมงแรกที่โฆษณานี้ถูกเผยแพร่ มาจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @cabel หรือ Cabel Sasser ซึ่งมีดีกรีเป็นนักพัฒนาของ Apple โพสต์ของ @cabel ชี้ให้เห็นว่า Apple ถือสิทธิบัตรการพัฒนากล่องพิซซ่ารูปวงกลมที่ใช้ในโฆษณา ซึ่งมีการใช้งานจริงแล้วหากพนักงานสั่งพิซซ่าไปรับประทานที่โต๊ะทำงานจากร้าน Caffè Macs ที่ Apple Park

แม้ในโฆษณาจะไม่ฉายถึงบรรยากาศในการประชุม แล้วปล่อยให้ผู้ชมจิตนาการต่อเอาเอง แต่สิ่งที่ Apple ได้รับไปเต็มที่คือการถูกพูดถึงในมุมใหม่ว่าเป็นองค์กรที่คิดใหม่ทำใหม่ แถมยังให้ความใส่ใจกับการมองปัญหาใกล้ตัว หลายคนรู้สึกทึ่งที่ได้รู้ว่า Apple เป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยีการออกแบบกล่องพิซซ่าด้วย

2. สมดุลย์ชีวิตและการทำงาน

หลายเสียงบนโลกโซเชียลบอกว่าชอบที่โฆษณานี้แสดงให้เห็นว่าชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของมนุษย์งานมักจะไหลไปด้วยกัน จุดนี้สะท้อนว่า Apple เองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เรียกว่าเข้าใจหัวอกคนทำงานแต่ก็แอบแทรกให้ผู้ชมรู้ด้วยว่าผลิตภัณฑ์ทำงานอย่างไร

3. อาจมีซีรีส์ของ 4 พนักงานบน Apple TV+

อีกประเด็นที่ชาวโซเชียลเห็นด้วยหลายคน คือเคมีลงตัวของนักแสดงที่สวมบทบาทเป็นทีมงานกลุ่มนี้ เสียงที่เกิดขึ้นจึงมีการเรียกร้องให้ Apple ลองสร้างซีรีส์ต่อยอดจากโฆษณา เพื่อฉายบนบริการใหม่อย่าง Apple TV+ ซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะเป็นเสียงเรียกร้องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต

น่าเสียดายที่ Apple ไม่เปิดให้ผู้ชมแสดงความเห็นท้ายวิดีโอบน YouTube โดยสถิติล่าสุดคือวิดีโอชุด Apple at Work — The Underdogs มียอดชมรวม 715,131 ครั้งในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ยอดกดถูกใจทะลุ 32,000 ครั้ง ขณะที่ยอดกด dislike คือ 3,600 ครั้ง

ที่มา: : YouTube

 
Source: thumbsup

The post เปิดความน่าสนใจกับการวิเคราะห์ 3 ประเด็นฮอตบนโซเชียล รับกระแส Apple คลอดโฆษณาใหม่ appeared first on thumbsup.

Infographic: 5P ของการทำ social media marketing

$
0
0


4P คือพื้นฐานการตลาดที่หลายคนยึดเป็นคัมภีร์หลักในการต่อยอดธุรกิจ แต่การตลาดบนโซเชียลมีเดียหรือ social media marketing นั้นมีรูปแบบที่ต่างออกไป แถม 5P ของ social media marketing นั้นยังให้มุมมองที่ครบและรอบด้านสำหรับมือใหม่ได้ดีทีเดียว

แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างโซเชียลมีเดียนั้นสามารถช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงผู้ชมรายใหม่ และดึงดูดใจลูกค้าปัจจุบันไม่ให้หนีไปไหน ประโยชน์มหาศาลนี้ทำให้แบรนด์ใหญ่นิยมวางแผน social media marketing แบบเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้การขยายงานเป็นไปอย่างที่วางแผนไว้ ซึ่งหากกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของใครมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จก็จะอยู่ใกล้แค่เอื้อม

Infographic จากบริษัท Branex นี้แสดงข้อมูลว่าแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง Instagram, Facebook และ Twitter นั้นเป็นช่องทางของโอกาสนับไม่ถ้วนสำหรับแบรนด์ เพราะฐานผู้ใช้รวมมากกว่า 3,196 ล้านคนที่แบรนด์สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้ตลอดเวลา โดยสถิติล่าสุดพบว่าผู้ใช้เพลิดเพลินไปกับโซเชียลมีเดียมากกว่า 116 นาทีต่อวัน

อย่างไรก็ตาม แบรนด์ต้องวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อผลลัพธ์ที่รอคอย เพราะวันนี้ผู้บริโภคต่างระมัดระวังในการอ่านข้อมูลทางการตลาดมากขึ้น จุดนี้การสำรวจพบว่าความเชื่อมั่นของสาธารณชนโดยรวมลดลง นักการตลาดจึงต้องเปลี่ยนกระบวนท่าให้ทันแบบครบรอบด้าน

1. Plan

ด้านแรกที่ Infographic แนะนำคือการ Plan วางแผนทั้งเป้าหมาย และกลยุทธ์ที่จะทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ ในขั้นนี้ แบรนด์ควรจะตัดสินใจด้วยว่าจะวัดความสำเร็จจากที่ไหน รวมถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทำให้แบรนด์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

2. Produce

เมื่อวางแผนได้แล้ว ก็ถึงเวลาต้องผลิตเนื้อหาที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่จะทำให้เกิดเป็นไวรัลกระแสแรง

3. Publish

การเผยแพร่เนื้อหานั้นต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแบรนด์ จากนั้นจึงเลือกแพลตฟอร์มเพื่อเผยแพร่เนื้อหาที่สร้างไว้อย่างเหมาะสม ในขั้นนี้แบรนด์ควรพิจารณาช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์บนแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อไม่ให้ต้องเซ็งกับผลลัพท์ที่ไม่คุ้มค่า

4. Promote

การส่งเสริมหรือโปรโมทโพสต์นั้นทำได้หลายทาง ทั้งการลงทุนซื้อโฆษณาหรือการใช้ email marketing ซึ่งจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป

5. Prove

P ตัวสุดท้ายคือการพิสูจน์ อาจจะทำได้ด้วยการเปรียบเทียบผลลัพท์ของแคมเปญกับเกณฑ์ในอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ละเอียดกว่าการวัดที่ KPI อย่างเดียว

แคมเปญโซเชียลมีเดียของใครยังขาด P ใดไป ขอให้ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม P นั้นโดยด่วน

ที่มา: : Branex

 
Source: thumbsup

The post Infographic: 5P ของการทำ social media marketing appeared first on thumbsup.

Viewing all 1958 articles
Browse latest View live