ตัวฝรั่งเองยังบอกว่า “Less is not always more.” เพราะบางกรณีความเยอะยาวอาจจะทำให้เนื้อหาเข้าขั้น “ดีกว่า” โดยเฉพาะบทความที่มีเนื้อหายาวกว่า 2,000 คำ ที่อาจจะทำประสิทธิภาพดีกว่าเนื่องจากมีการแชร์ต่อมากกว่าบนโซเชียลมีเดีย
อัตราการแชร์ต่อที่สูงกว่าบนโลกโซเชียล คือส่วนหนึ่งของคำตอบว่าทำไมเนื้อหาที่ยาวกว่าอาจดีกว่าเท่านั้น เพราะการสำรวจยังพบว่าความยาวของเนื้อหาโดยเฉลี่ยของผลการค้นหา 10 อันดับแรก นั้นอยู่ที่ระดับมากกว่า 2,000 คำ
ทั้งยอดแชร์ และยอดแสดงผลเสิร์ชอันดับต้น (การจัดอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหา) ล้วนช่วยให้เจ้าของบทความมีพื้นที่แสดงลิงก์ให้ผู้อ่านคลิกสู่เว็บไซต์ และจะเพิ่มอำนาจเว็บไซต์ได้ในที่สุด
จริงอยู่ที่ “เนื้อหายาวๆ” มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ แต่ความยาวนั้นต้องมีคุณภาพ ซึ่ง Infographic จากบริษัท SerpLogic ระบุ 6 ขั้นตอนสำคัญในการสร้างเนื้อหาแบบยาวที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ ว่าควรเริ่มจากการระบุเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วจึงกำหนดว่าบทความนี้จะเปิดเฉพาะผู้สมัครสมาชิกได้อ่านเท่านั้น หรือจะเลือกเปิดกว้างให้ทุกคน (Gated content และ Non-gates content)
จากนั้นเลือกหัวข้อให้ดี เมื่อเลือกได้แล้วให้ตัดสินใจว่าใครจะเขียนเนื้อหา (จะเขียนเองภายในองค์กรหรือจ้างทีมภายนอก) หากได้บทความที่ต้องการ สามารถเลือกแปลงเนื้อหา หรือเพิ่มสารที่ยังขาดไปได้ เช่น อาจเพิ่มเติมอีเมล หรือเพิ่มหัวข้อเรื่องย่อย ซึ่งจะช่วยให้เนื้อหานั้นมีประสิทธิภาพในการดลใจให้ผู้อ่านลุกขึ้นมาซื้อหรือทำกิจกรรมตามเนื้อหามากขึ้น
สุดท้ายคือการสร้างกลยุทธ์เพื่อโปรโมตเนื้อหาที่สร้างสรรค์ ลองดู Infographic ด้านล่างนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม:
ที่มา: PRDaily
The post Infographic: บางที “content ยาวกว่า” อาจจะดีกว่า appeared first on thumbsup.