เมื่อพูดถึง “การเมือง” นั้นที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ เราพบว่ามีมุมมองที่คล้ายกับ “การตลาด” เพราะต้องมีการ “ทำการสื่อสาร” เหมือนกัน ซึ่งเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดก็สามารถหยิบมาใช้ ในการทำแคมเปญรณรงค์หาเสียงได้เช่นกัน
โดยทาง Thumbsup ได้พูดคุยกับ ภคนันท์ จุลเสน Digitial Media Expert ที่ดูแลงานด้านออนไลน์ให้กับหลายๆ แบรนด์ ว่ามีเครื่องมือทำการตลาดไหนที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเล่นเกมทางการเมืองได้บ้างลองมาดูกันค่ะ
เรื่องของ “การเมือง” กับ “การตลาด”
การเมืองก็คล้ายๆ กับการทำการตลาดที่ต้องทำ Marketing Communication กับ PR เพื่อให้เกิด Awareness หรือการรับรู้เช่นเดียวกับการทำแคมเปญทางการตลาดต่างๆ ซึ่งหากพูดถึง Awareness ในโลกออนไลน์ นักการตลาดหลายๆ ท่านก็คงมีตัวเลขในใจที่ผุดขึ้นมา เช่น วิดีโอโฆษณาในแคมเปญนี้จะต้องมีการมองเห็น 7 ครั้งผู้ชมถึงจะจำโฆษณาตัวนี้ได้
การใช้สื่อออนไลน์เปลี่ยนโฉมการหาเสียงไปได้อย่างไร
หากจำการเลือกตั้งครั้งที่แล้วได้เราก็จะพบว่ามีการใช้ป้ายหาเสียงจำนวนเยอะมาก เพื่อให้คนที่พบเห็นสามารถจำหน้าและเบอร์ของสมาชิกในพรรคได้ ซึ่งนั่นก็คือหลักการเดียวกันกับที่ออนไลน์กำลังทำอยู่ เพื่อให้ผู้ชมเห็นโฆษณาในสื่อที่ต่างกันไป
ความแตกต่างคือสื่อออฟไลน์ที่ไม่สามารถควบคุมโฆษณาได้เลยว่าอยากจะให้คนเห็นเป็นจำนวนกี่ครั้ง เพราะเรารับประกันไม่ได้เลยว่าป้ายหาเสียงจะไม่โดนเด็กพ่นสี หรือจะหายไปจากจุดที่ตั้งเมื่อไร หรือ Engagement นั้นจะ Loss ไปเมื่อไรก็ไม่สามารถมอนิเตอร์สื่อโฆษณาได้ทุกตัว ซึ่งในออนไลน์ เรียกว่า Viewability
ในทางกลับกันการลงโฆษณาออนไลน์สามารถดูได้ว่าโฆษณากำลังรันอยู่ไหม มีคนเห็นกี่ครั้ง เป็นคนกลุ่มไหนบ้าง กระทั่งเห็นซ้ำเป็นจำนวนเท่าไรในระยะเวลาที่ผ่านๆ มา รวมไปถึงช่องทางใดที่มีความถี่ในการเห็นเยอะที่สุดได้อย่างชัดเจน
เนื่องจากสื่อออนไลน์มีพื้นที่ให้เราขึ้นโฆษณาได้แบบจะไม่จำกัด สิ่งที่เราทำได้คืออาจจะให้คนเห็นโฆษณาพรรคการเมืองของเราวันละ 1 ครั้ง หรือ 100 ครั้ง หรือตลอด 24 ชม. เลยก็ได้ในทางเทคนิคหากมีเงินเพียงพอ
ซึ่งความล้ำยิ่งไปกว่านั้นเราสามารถทำสื่อโฆษณากี่ชิ้นก็ได้ ตราบเท่าที่กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ อาร์ตไดเรกเตอร์ ในทีมของเราทำได้ ในแบบที่ไม่ต้องรอโรงพิมพ์ คนตรวจคำผิด และไม่จำเป็นต้องมีจำนวนการพิมพ์ขั้นต่ำ เพื่อที่จะส่งไปโรงพิมพ์ เหมือนอย่างในสมัยก่อน เรียกได้ว่าลดเวลาจากทั้งอาทิตย์ลงเหลือเป็นรายชั่วโมงได้เลย
โดยสามารถเช็คผลลัพธ์ได้แบบทันทีทันใดเมื่องานถูกดเผยแพร่ไปในออนไลน์ ซึ่งทำให้รู้ได้ทันทีว่าสื่อไหนได้ผลหรือสื่อไหนไม่ได้ผล ซึ่งความได้เปรียบคือถ้าหากคุณมี Copyrighter หรือ Art Director ที่ดี ก็จะมั่นใจได้เลยว่าสื่อของเราจะออกมาดี
แต่ถึงเเม้ว่าจะมีข้อดีเยอะแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ต้องระวังเพราะถ้าควบคุม “สาร” ที่ต้องการสื่อไม่ดีพอก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดที่ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว และยากจะแก้ไขก็ได้
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทำงานในวงการ Digital Marketing ทั่วๆ ไปทราบกันดี แต่ถ้าเป็นประชาชนทั่วไปอาจจะมีหรือไม่มีภูมิต้านทานจากการโดนครอบงำโดยข้อมูลหลากหลายช่องทางตามสื่อต่างๆ หรือเปล่า? หรือในบางครั้งนักการตลาดเองก็อาจจะพลาดท่าให้กับวิธีการทำการตลาดในจุดนี้เหมือนกัน
ความ Localization ที่นำพาไปสู่ชัยชนะ
อีกหนึ่งเรื่องที่การใช้ออนไลน์นำความได้เปรียบมาให้ คือการเข้าถึงในคนทุกระดับด้วยการสร้างสื่อแบบเฉพาะเจาะจงได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสื่อตามภาษาถิ่นตามภูมิภาค เหนือ อีสาน ใต้ กลาง
หรือพรรคการเมืองจะผลิตสื่อเปลี่ยนไปตามจุดเด่นของตัวเองที่มีอยู่ก็ได้เช่นกัน ถ้าเรามีนโยบายเรื่องของการแต่งงานในเพศเดียวกันก็สามารถซื้อโหษณาให้ตตรงกันกลุ่มทาเก็ต LGBTQ
โดยสามารถเลือกให้กลุ่มคนเห็นนโยบางอย่างได้ เช่น ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศอาจเลือกให้เห็นนโยบายอย่าง “ภาษีการพัฒนาเมือง” หรือกลุ่มคนต่างจังหวัดก็เลือกให้เห็นในส่วนของการขยายเมือง การสร้างงาน เป็นต้น
นอกจากนั้น คุณอาจเข้าไปร่วมมือกับหน่วยงานในท้องที่อย่าง “สภาหอการค้าท้องถิ่น” เพื่อสร้างคอนเทนต์ร่วมกันกับคนในท้องถิ่น และเพิ่มการมองเห็นโฆษณาของพรรคการเมืองก็ได้ เรียกได้ว่าเครื่องมือออนไลน์นั้นควบคุมกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งเพศ อายุ การศึกษา และมหาวิทลัย
เราจะนำ Digital Tools มาหาเสียงได้อย่างไร?
มาถึงประเด็นเจาะลึกที่ว่าเราจะนำ “เครื่องมือทางการตลาด” ไปใช้หาเสียงได้อย่างไรบ้าง เขาก็บอกเราว่าวิธีการนั้นมีหลายรูปแบบที่น่าสนใจตั้งแต่แบบปกติ หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า “สายขาว” ไปจึงถึงขั้นที่มันซับซ้อนขึ้น
1.สายขาว
เราสามารถใช้เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ในการหาเสียงได้หลายอย่างทั้ง คอนเทนต์ภาพทั่วไป หรือทำวิดีโอโฆษณาก็ได้ รวมไปถึงการส่ง Sponsor Message ผ่านทาง Messenger Application ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการทำ SMS Marketing ในช่วงยุคปี 2000 ต้นๆ เพียงแต่ล้ำไปอีกขั้นที่เราสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการตราบเท่าที่มีเงิน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้เราสามารถกำหนดได้ ทั้งอายุเพศ อาทชีพ รายได้ ความชอบ
2. สายเทา
ถัดมาอีกหน่อยที่พูดได้ว่าเป็นเรื่องไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีข้อจำกัดความถูกผิดในเชิงจรรยาบรรณ นั่นคือการใช้เครื่องมือในการ “Re-Tarketing” นั่นคือ
- Facebook Pixel คือ ระบบ Tracking ของ Facebook ที่ใช้ติดตั้ง บนเว็บไซต์เพื่อคอยสำรวจ ติดตาม พฤติกรรมการใช้งานของผู้เยี่ยมที่เข้าเว็บไซต์ โดยข้อดีคือเรานำข้อมูลไปใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับทำโฆษณาอย่างละเอียดได้ (ทำ Custom Audience) ทำให้โฆษณาแสดงออกมาอย่างได้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น
- Google Ads เป็นเครื่องมือวัด Conversion ที่แสดงให้คุณเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากลูกค้าคลิกที่โฆษณาของคุณ ทั้งการซื้อผลิตภัณฑ์ ลงทะเบียนรับจดหมายข่าวหรือดาวน์โหลดแอปฯ โดยเมื่อลูกค้าดำเนินการตามที่คุณกำหนดไว้เราจะเรียกการกระทำของลูกค้ากลุ่มนี้ว่ามี Conversion ต่อกัน
-
Twitter Conversion tracking เครื่องมือวัดเป้าหมายของการโฆษณาใน Twitter
โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถดักจับว่าใครเข้าใช้แอป เฟส ช่องทางที่เชื่อมต่อออนไลน์อะไรบ้าง เช่น เราเข้าเว็บพรรคการเมืองหนึ่ง ทาง Facebook, Google, Twitter ก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้ใช้กำลังไปถึงที่หน้านี้เเล้ว เรียกได้ว่ามีหลายช่องทางเเค่เก็บข้อมูล แต่จุดสำคัญคือสามารถนำเอาข้อมูลนี้ไปทำการตลาดต่อได้!!
ยกตัวอย่าง :
ถ้าวันนี้คุณเข้าเว็บไซต์ของ พรรคริพับลิกันเพื่อไปดูว่าสมาชิกพรรคมีใครบ้างแล้วกดปิดหน้าเว็บไซต์ไป ถึงแม้ว่าจะออกจากเว็บไซต์ไปแต่เราก็ยังสามารถเห็นวิดีโอ เมื่อเข้า Youtube หรือเห็นโฆษณาของพรรคเมื่อเข้าไปเล่น Twitter, Facebook ต่อได้ในเวลาไม่นานหลังจากปิดเว็บไซต์ไป
นั่นคือเรามีโอกาสที่จะถูกทำโฆษณาต่อในเนื้อหาอื่นๆ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ติดตามต่อ โดยจริงๆ แล้วแพลตฟอร์มอย่าง Facebook นั้น ไม่ได้มีความเอนเอียงเข้าข้างพรรคการเมืองพรรคไหนโดยตรง เเต่พูดกันตรงๆ คือ
” พรรคไหนจะมีศักยภาพมากพอจะทำการสื่อสารด้วยวิธี Re-Tarketing ได้ก็จะยิ่งได้เปรียบ ”
3. สายเทาเข้ม
อีกระดับที่เข้มขึ้นมาหน่อย เช่น สมมติว่าคุณกำลังอ่านบทสัมภาษณ์ของ Donald Trump ที่มาลงบทสัมภาษณ์กับทาง Thumbsup แล้วกดอ่านไปจนจบ หรืออาจจะอ่านไปสักพักแล้วกดปิด ขณะที่หลังกดปิดไปพรรคการเมืองก็สามารถซื้อโฆษณาทาง Facebook, Google หรือ Twitter ให้ขึ้น โฆษณาของพรรคการเมืองได้ทันทีเลย
หรือในกรณีที่คู่เเข่งขั้วตรงข้ามอย่าง “พรรคเดโมแครต” เข้ามาซื้อกลุ่มเป้าหมายที่มีการเข้ามาอ่านในเว็บไซต์แล้วนำมาหักล้างกันได้ โดยยิงสารที่ต้องการสื่อออกไปในรูปแบบของขั้วตรงกันข้าม และยังคงใช้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาอ่านบทสัมภาษณ์ของ Donald Trump
สำหรับด้านกฏหมายนั้นไม่ใช่เรื่องผิดที่จะขายข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตนให้ใครก็ได้ เพราะ Facebook เองเเค่จับกลุ่มเป้าหมายได้เฉยๆ เเต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดถึงขนาดว่ามีชื่อ น้ำหนัก ส่วนสูง เท่าไรกันแน่ เพียงแค่จับยูสเซอร์ได้เท่านั้น
ถ้าให้พูดถึงตัวอย่างคงเป็นช่วงตอนที่ Donald Trump ลงสมัครนรับเลือกตั้ง ซึ่งตอนนั้นสามารถนำข้อมูลมาแยกได้ละเอียดมาก ทั้งการศึกษา อายุ เพศ เช่น คนอ่านเว็บไซต์หน้านี้มีทั้งหมด 1,000 คน และเป็นช่วงอายุ 20-25 ปีจำนวนกี่คน แต่ตอนนี้ Facebook ไม่เปิดโอกาสให้ทำแบบนี้แล้ว
ส่วนสื่อที่จะมีอิทธิพลกับทุกธุรกิจนั้นจะกลับมาอยู่ที่เว็บไซต์ เพราะตัวเว็บไซต์คือพื้นที่ส่วนกลางที่สุดท้ายผู้อ่านจะต้องกลับมา เปรียบได้ว่าเว็บไซต์ คือ “บ้าน” ที่สามารถเเทร็คได้ว่าผู้อ่านเข้ามาทำอะไรในจุดไหนของเว็บไซต์ และสามารถนำเอาข้อมูลออกไปทำแคมเปญต่อยังนอกบ้านได้ โดยแตกต่างจากแพลตฟอร์มอย่าง Facebook, Google, Twitter ที่ไม่สามารถเเทร็คได้
” ลองจินตนาการว่าถ้าทุกพรรคการเมืองติด Tools ในเว็บไซต์ตัวเอง ก็จะสามารถทำให้เห็นสื่อของพรรคตัวเองได้จากทุกๆ ช่องทางจนหลอนไปเลย “
และทุกช่องทางเล่าเรื่องด้วยเมสเสจต่างกันได้ ซึ่งตัว publisher เองก็สามารถขายกลุ่ม Target ที่มาอ่านคอนเทนต์ของพรรคการเมืองให้กับใครก็ได้
โดยหากเว็บไซต์ xx มีคนเข้ามาเป็นล้านยูสเซอร์ เราจะแยกได้เลยว่าคนนี้ชอบพรรคไหน ก็เอาไปขายต่อได้ ซึ่งความอันตรายคือหากสื่อเจ้า A มีความเอนเอียงไปทางพรรคการเมืองใดก็จะเข้าข้างกันได้
เรื่องสมมติ : เว็บไซต์ xx ทราบว่าคนนี้ชอบพรรคริพับบลิกัน แต่ก็สามารถใช้สื่อที่เกี่ยวกับพรรคเดโมแครตนำไปหักล้างกันได้เรื่อยๆ เรียกได้ว่าในสายเทานั้น ถ้าคุณทราบว่าคลิปวิดีโอไหนใน Youtube ที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองหนึ่ง เราก็สามารถซื้อโฆษณาเพื่อทับคลิปตัวนั้นได้ เช่น ถ้าเขาจะดูวิดีโอสัมภาษณ์ Donald Trump เราสามารถเอาวิดีโอสัมภาษณ์ Hillary Clinton มาขึ้นเป็น Political Ad ในคลิปได้
4. สายดำ
เป็นการทำในรูปแบบที่เรียกว่า “คลิกเบต” อย่างเว็บข่าวบางสำนักที่เราเคยเห็นกัน
เช่น พรรคริพับบลิกันทราบว่ายูสเซอร์ในกลุ่มนี้ชอบพรรคของตัวเอง จึงไปเปิดเพจที่เป็นบุคคลที่ 3 4 5 เพื่อมาซื้อโฆษณาด้วยการขาย “กลุ่มทาร์เก็ต” จากนั้นใส่สื่อด้านลบเพื่อทำการโจมตีลงไป โดยอาจมีการทำเว็บไซต์คลิกเบตในหลักร้อย หรือหลักพันเว็บได้ เพื่อที่จะทำการ Discredit กับขั้วตรงกันข้าม โดยทุกพรรคเองก็สามารถดึงกลุ่มทาร์เก็ตข้ามไปข้ามมากันได้เพื่อทำการบูสโพสต์
เครื่องมือตรวจจับ
แต่การใช้งานสื่อออนไลน์ในโลกนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวจนเกินไป เพราะยังมีวิธีตรวจจับว่าคุณคือหนึ่งในเป้าหมายของการหาเสียงด้วยวิธีสีเทาอยู่หรือเปล่า
-
Facebook Pixel Helper เครื่องมือตรวจจับการรีทาเก็ตติ้งผ่าน facebook
-
Google Tag Assistant ไว้ดูว่าเว็บมีการเก็บข้อมูลการกระทำอะไรบ้าง
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้พูดถึงระบบอื่นๆ เช่น การทำ DMP Data Management Platform หรือการใช้ Parametric ในการทำการตลาด เพราะขอบอกเลยว่ามันยังมีท่ายากในการทำการตลาดออนไลน์ได้อีกมากมาย
เรียกได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้ที่น่าสนใจและทำให้รู้สึกว่า “การตลาด” เองก็เข้าไปสอดเเทรกในเกือบทุกๆ บริษทของชีวิตเรา จนไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการเมืองการเลือกตั้ง
The post มาส่องดู!! นักการเมืองใช้เครื่องมือทางการตลาดอะไรในการหาเสียงได้บ้าง ? appeared first on thumbsup.