voice search หรือการค้นหาด้วยเสียงยังเป็นดินแดนลึกลับที่นักการตลาดหลายคนยังไม่มีข้อมูลอินไซต์มากนัก ดังนั้น Infographic นี้จึงรวบรวมสิ่งที่นักการตลาดควรรู้เกี่ยวกับวงการค้นหาด้วยเสียง ในวันที่ผู้ใช้หลายคนเอ่ยถามคำถามกับผู้ช่วย AI แทนที่จะพิมพ์คำถามเหล่านั้นลงในเสิร์ชเอ็นจิ้น
พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลที่เปลี่ยนไปกลายเป็นความจำเป็นที่ทำให้ผู้จัดการแบรนด์ทั่วโลกต้องปรับตัวตามให้เหมาะสม โดยเฉพาะรูปแบบการทำการตลาดบนเครื่องมือข้อหาข้อมูล เพราะวันนี้สถิติชัดเจนแล้วว่า 89% ของผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับผู้ช่วย AI ล้วนต้องการให้ระบบค้นหาข้อมูลอัตโนมัติทั้งสิ้น ขณะที่ 88% บอกว่าใช้เพื่อถามคำถาม ซึ่ง 71% ของคนกลุ่มนี้บอกว่าติดใจความสบาย และจะเลือกพูดคำแทนที่จะพิมพ์ในเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม
ไม่เพียงวลี “OK, Google …,” หรือ “ Hey, Siri …” และ “Alexa …” จะเป็นจุดเริ่มต้นการสืบค้นออนไลน์ของผู้บริโภคจำนวนมาก แต่ผู้จัดการแบรนด์ควรรู้ว่านี่คือโอกาสต่อยอดการสนทนาถึงแบรนด์ในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อการค้นหาด้วยเสียงกลายเป็นเรื่องธรรมดา การคิดหาทางให้แบรนด์มีโอกาสสนทนา มากกว่าการถามตอบแบบจบเร็วจะเพิ่มโอกาสในการสร้างแบรนด์ใด้จริง
ขณะนี้เทรนด์การใช้ voice search ในหลายตลาดเริ่มขยายไปถึงการค้นหาบทวิจารณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่สนใจซื้อ ดังนั้นนักการตลาดที่ปรับกลยุทธ์ตามเทรนด์ฮิตของผู้ช่วยดิจิตอลเหล่านี้ ก็อาจจะไม่พลาดโอกาสในการคว้าลูกค้ากลุ่มใหญ่ในอนาคต
Infographic จากเอเจนซี่โฆษณา MDG ชิ้นนี้แนะนำแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญและเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคที่ต้องการแสดงออกด้วยคำถาม แทนที่จะพิมพ์ออกมา ว่านักการตลาดควรไม่มองที่คีย์เวิร์ดหรือคำหลักที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น แต่ควรขยายให้รวมถึงการค้นหาบทสนทนาที่กว้างขึ้น
ที่สำคัญ คือนักการตลาดควรท่องให้ขึ้นใจว่าผู้ช่วยเสียงหรือ voice assistants ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานที่เท่ากันหรือเหมือนกัน ดังนั้นนักการตลาดควรปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับบริการ voice assistants ของแต่ละค่าย ซึ่งใน Infographic นี้มีแนะนำข้ออมูลเชิงลึกเพิ่มเติมไว้ด้วย รวมถึงอีกหลายสถิติที่แสดงรายละเอียดความสำคัญของการค้นหาด้วยเสียง โดยทุกสถิติตอกย้ำว่านักการตลาดต้องปรับตัวในวันที่คน 70% ต้องการค้นหาด้วยเสียง มากกว่าพิมพ์ข้อความ.
ที่มา: : PRDaily
The post Infographic: ทุกเรื่อง voice search ที่นักการตลาดควรรู้ appeared first on thumbsup.