ปกติการลงทุนในเรื่องโฆษณาของแบรนด์นั้น จะแบ่งสัดส่วนเป็นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเม็ดเงินโฆษณาถือว่าเป็นเม็ดเงินก้อนใหญ่ที่จะถูกใช้ไปในการประชาสัมพันธ์ สื่อสารและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และการจะเข้าถึงลูกค้าที่มีความต้องการที่หลากหลายนั้น ก็ต้องปั้น “คอนเทนต์” ที่แตกต่างกัน โดยหวังว่าจะมีสักชิ้นงานที่ตรงใจจนเกิดโอกาสการซื้อ ซึ่งการ “ปั้นคอนเทนต์” ให้โดนใจนี้เอง จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากสำหรับแต่ละแคมเปญ ซึ่ง YDM Thailand ต้องการจะคิดแบบแหวกแนวนั่นคือ ไม่ต้องเหนื่อยไป Pitch งานแข่งกับค่ายอื่นให้เหนื่อยแล้ว เพราะแบรนด์จะต้องวิ่งมาหาเราเอง
คุณธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม ไทยแลนด์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า แนวคิดแบบนี้เขาได้มาจาก Consumer หรือพฤติกรรมของผู้บริโภค ลูกค้าเมื่อเข้าไปสอบถามข้อมูลบนช่องทางออนไลน์แล้ว ไม่ว่าจะโซเชียลมีเดียใดก็ตาม จะไม่ถามข้อความเดิมซ้ำ ดังนั้นแบรนด์ต้องรู้ให้ทันลูกค้าและตอบสนองให้ไว รวมทั้งการตอบลูกค้าในแต่ละครั้งไม่ควรถามเรื่องเดิมๆ รู้ปัญหาและรักษาความปลอดภัยเรื่องข้อมูลให้ลูกค้าด้วย
ทำความรู้จักพฤติกรรมของลูกค้า
- สิ่งที่ Marketer หรือแบรนด์ต้องทำคือ Personalize เพราะไม่ใช่ลูกค้าทุกคนจะยอมทำ Interact กับแบรนด์
- “คอนเทนต์” กำลังเป็นเรื่องน่าเบื่อ เพราะทุกแบรนด์สร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเยอะมากเกินไป ดังนั้น คุณจะต้องทำให้เป็นคอนเทนต์ที่มีความหมายและเกี่ยวเนื่องกับไลฟ์สไตล์ของเขา
- Response ต้องเร็ว เพราะความอดทนของคนยุคนี้ต่ำลง ทำให้การตอบกลับข้อสงสัยต้องทำได้แบบเรียลไทม์
- เรื่องของออแกไนเซชั่น ต้องเลิกวิธีคิดแบบเดิม การมีหน่วยงานย่อยในการตัดสินใจหลายแผนก ทำให้ตอบสนองลูกค้าได้ช้า
- ยุคนี้จะแบ่งเป็น ธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจออฟไลน์ไม่ได้ ทุกอย่างต้องผสานกันเป็น Omni Channel
- พัฒนาสินค้าใหม่ ต้องว้าวกว่าเดิม
- การรักษาความปลอดภัยของลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวฉุดความน่าเชื่อถือหากข้อมูลรั่วไหล
สิ่งสำคัญอีกอย่างสำหรับภาคธุรกิจคือ บริษัทในไทยยังเก็บข้อมูลได้แค่ Transaction แต่ความเป็นจริงต้องเก็บทุกอย่าง ทุกไลฟ์สไตล์ และทุกเช็คอิน เพราะทุกอย่างล้วนเกิดโอกาสของรายได้ทั้งสิ้น รวมทั้งการทำ Agile Marketing ก็เป็นสิ่งจำเป็น นำส่ิงที่เคยผิดพลาดมาเป็นความรู้และพัฒนาสิ่งใหม่
Revenue Sharing Model สร้างมิติใหม่ของวงการเอเจนซี่
การสร้างโมเดลใหม่นี้ขึ้นมา เพราะอยากทดลอง “มองกลับด้าน” ดูบ้าง และถ้าแบรนด์ที่มาร่วมทำกับเราแล้วไม่เวิร์ค ก็ไม่ต้องจ่ายเงิน เพราะเราคิดค่าบริการเป็นส่วนแบ่งรายได้ที่เกิดจากช่องทางการขายของเราเท่านั้น ซึ่งลูกค้าไม่ต้องจ่ายเงินก่อน แต่หลังจากที่มียอดขายหรือรายได้ขึ้นมาผ่านช่องทางของเรา ค่อยหักส่วนแบ่งรายได้กันตามตกลง
“แนวคิดที่ได้มานั้น เพราะเราเห็นว่าถ้าลูกค้าอยากจ้างเอเจนซี่จะต้องจ่ายเงินจำนวนมาก เพื่อทำโปรดักชั่นทั้งหมด และไม่ทราบว่าจะมีรายได้ย้อนกลับมาเมื่อไหร่ แต่แนวคิดของเราจะสลับกัน แบรนด์มาคุยกับเราก่อน หากพิจารณาแล้วว่า มีโอกาสสร้างรายได้ คุณยังไม่ต้องเสียเงินค่าโปรดักชั่นเพราะเราจะเป็นคนทำให้คุณก่อนทั้งหมด แต่เมื่อมียอดขายเกิดขึ้นมาจากช่องทางของเรา ค่อยจ่ายกลับมาเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ทำรายได้ 1 ล้านบาท ส่วนแบ่ง 10% ก็จ่ายมาแค่ 1 แสนบาท ถือว่าเป็นการทำตลาดออนไลน์ที่ถูกมาก”
การที่เรากล้าทำโมเดลนี้ เป็นเพราะเรามีบริษัทในเครือกว่า 9 บริษัท ได้แก่
- เอฟซีบี แบงคอก (FCB Bangkok) และ นวิน คอนซัลแทนต์ (Nawin Consultant) สองบริษัทนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ การทำแบรนด์คอมมูนิเคชั่น การวางแผนสื่อโฆษณา รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์และการผลิตสื่อต่างๆ
- แอดยิ้ม (Adyim) ให้บริการด้าน Digital Marketing Solutions แบบครบวงจร
- ก็อตติไมซ์ (Gottimize) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและการซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์
- อัลเทอร์เนท65 (Alternate65) เจ้าของแพลตฟอร์ม REVU เชี่ยวชาญด้านการรีวิวสินค้าโดยใช้ Micro influencers
- แอดพ็อกเกต (ADPOCKET) ผู้ให้บริการด้านการทำ Mobile Advertising
- แจ่มจรัส (Jamjaras) ผู้ให้บริการด้านการทำการตลาดภูธรแบบครบวงจร
- เอวีจีไทยแลนด์ (AVG Thailand) ให้บริการด้านการทำ Digital Marketing เจาะตลาดจีนโดยเฉพาะ
- ดูเออร์ (Doer) แพลตฟอร์มสำหรับฟรีแลนซ์ที่ให้บริการด้านการทำ Website, Mobile Application, ฯลฯ
โดยทั้ง 9 บริษัทในเครือของเราจะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนา Marketing Solutions ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจของลูกค้าอย่างแท้จริง หากเอเจนซี่อื่นต้องการทำโมเดลธุรกิจแบบเราอาจต้องแบกรับต้นทุนสูงมาก แต่ของเราไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องนั้น เราแค่ดึงศักยภาพของทีมมาใช้ในแง่มุมต่างๆ เท่านั้น
BuyZabuy.com & SellZabuy.com ช่องทางขายแนวใหม่
ส่วนเว็บไซต์ทั้ง 2 เว็บคือ Buyzbuy และ Sellzabuy นั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ไม่ต้องไปพึ่งพาแพลตฟอร์มให้วุ่นวาย และเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพราะเราจะขายผ่าน Influencer บนโซเชียลมีเดียของพวกเขา เมื่อลูกค้าสนใจต้องการสั่งซื้อสามารถกดคลิกลิ้งที่เราเตรียมไว้ให้ ทำให้ทราบว่าเป็นยอดขายมาจากช่องทางใด และสร้างโอกาสทางการขายได้อย่างรวดเร็ว
“โดยปกติแล้วแบรนด์ส่วนใหญ่จะมีการขายสินค้าในหลากหลายช่องทาง และมีการทำการตลาดในหลายๆ ส่วน ทำให้บางครั้งเกิดความยากลำบากในการแจกแจงว่า ยอดขายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากผลการทำงานของ YDM Thailand หรือไม่ เราเลยพัฒนาระบบ E-commerce ที่ชื่อ BuyZabuy.com ขึ้นมาเพื่อให้แบรนด์นำสินค้ามาวางจำหน่าย และสามารถ Track ดูยอดขายที่เป็นผลจากการทำการตลาดของทางเราได้ ซึ่งแบรนด์จะทำหน้าที่เพียงแค่จัดส่งสินค้าเท่านั้น ส่วนทาง YDM Thailand จะดำเนินการทำการ ตลาดและทำการโฆษณาให้ทั้งหมด ผ่านทีมงานมืออาชีพในกลุ่มบริษัทของเราตามความเหมาะสม โดยทางแบรนด์จะจ่ายเฉพาะส่วนแบ่งที่เกิดจากยอดขายเท่านั้น”
เนื่องด้วยโมเดลใหม่ “Revenue Sharing” คิดค่าบริการตามยอดขาย ถือว่าทางเอเจนซี่ หรือบริษัทแบกรับความเสี่ยงไว้พอสมควร เพราะ YDM Thailand ต้องลงทุนทั้งบุคคลากร และค่ามีเดีย ในการทำการตลาด ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องเลือกลูกค้าอย่างระมัดระวัง โดยหลักการเราต้องการสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ทางเจ้าของสินค้าพร้อมให้ความร่วมมือกับ และ ทำงานร่วมกันในลักษณะของ Partnerที่พร้อมจะลุยและเปิดใจให้กับการวิธีการทำการตลาดใหม่ๆ ของเรา
ถือว่าเป็นอีกสิ่งโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจและเป็นการ Disruption วงการเอเจนซี่แบบเดิมที่ต้องรอลูกค้าให้พิจารณาความสามารถ มาเป็นพิจารณาแบรนด์ที่มีโอกาสและความสามารถจะเติบโตไปด้วยกัน
The post ทำความรู้จักลูกค้าแบบ YDM Thailand ที่จะพลิกวงการเอเจนซี่ด้วยการปั้น Revenue Sharing Model appeared first on thumbsup.