ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีโฆษณาเกมเจ้าหนึ่งปรากฎบนแพลตฟอร์ม YouTube อย่างต่อเนื่อง เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกไปต่างๆ นานา ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า.. การทุ่มเม็ดเงินโฆษณาและกว้านเจาะกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างจะเป็นผลดีต่อแบรนด์ ต่อแอป ต่อ product ที่เราจะนำเสนอจริงๆ หรือไม่?
ต้องยอมรับการโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Video Streaming ไม่ว่าจะเป็นบน Facebook Watch (ซึ่งมีผลต่อการชมหลายๆ คลิปบน Facebook) และ YouTube ซึ่งมีเจ้าของคือ Google ได้ผลดีกว่าที่ใครคิด
แต่เมื่อวานนี้ เว็บไซต์ MacThai ทำ poll สอบถามแบบทีเล่นทีจริง ซึ่งถามว่า “สอบถามสนุกๆ ว่าช่วงนี้ คุณโดนโฆษณาไหนตามวนเวียนอยู่มากที่สุด” โดยมาพร้อมกับช้อยส์เป็นแบรนด์ที่พวกเราทุกคนคุ้นกันในช่วงเวลาหนึ่ง ได้แก่ Rise of Kingdom, Shopee, Traveloka และ Netflix
Poll : คุณโดนโฆษณาไหน ตามหลอกหลอนมากสุดบน YouTube ?ช่วงนี้หลายคนเจอโฆษณาซ้ำๆ บน YouTube จำนวนมาก แม้จะกด report…
โพสต์โดย MacThai เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2019
เสียงส่วนใหญ่ออกไปในทางเดียวกัน คือ ไม่โอเคกับโฆษณา Rise of Kingdom กันพอสมควร และแม้จะกด report ไปแล้วก็ยังขึ้นมาให้เห็น
ทำให้เกิดคำถามว่า ผู้บริโภคเบื่อโฆษณาที่ขึ้นบนแพลตฟอร์มจริงๆ หรือเปล่า หรือโฆษณามันไปรบกวนความรู้สึกผู้บริโภคด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ เช่น
- ฉันไม่ได้เล่นเกม ขึ้นโฆษณาอื่นมาบ้างสิ
- ฉันไม่ได้เล่นเกม กดรายงานไปหลายรอบแล้วก็ยังขึ้นอยู่
- ฉันลองเล่นแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนุกอย่างที่คิด
- ฉันลองเล่นแล้ว เล่นบนไอแพดไม่ได้เลย
- ฯลฯ
หากไปดูใน Twitter hashtag อย่าง #riseofkingdom และ #riseofkingdoms ก็พบว่าเสียวิจารณ์ออกไปในทางแง่ลบ รวมถึงพาลเข้าใจผิดไปถึง YouTube Channel อื่นๆ ที่มีโฆษณานี้ขึ้น ทั้งๆ ที่เจ้าของ YouTube Channel ไม่สามารถเลือกโฆษณาขึ้นมาเองได้ ระบบของ YouTube จะเป็นผู้คัดสรรโฆษณาที่คิดว่าเหมาะสมมาให้กับเรา
สวัสดีค่า pic.twitter.com/Ly5BgdhCHO
— น่าเบื่อ (@thisisboringday) August 15, 2019
นอกจากนี้อย่าลืมว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่คนยอมใช้เวลาละเมียดละไมในการรับชมวิดีโอกว่า Facebook โดยเห็นว่า Facebook จะเลือกใช้โฆษณาแบบสั้นเพียง 15 วินาทีที่กดข้ามไม่ได้ แต่ YouTube กลับต้องมีรูปแบบโฆษณาที่ยืดหยุ่นกว่า นั่นคือมีโฆษณาทั้งแบบกดข้ามไม่ได้และกดข้ามได้ รวมถึงรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย
สะท้อนให้เห็นว่า แบรนด์ต่างๆ อาจต้องคำนึงถึงความรู้สึกของผู้บริโภคในภาพรวมมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์และผู้บริโภคอยู่ในจุดสมดุลที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
“คนไม่ได้ไม่ชอบโฆษณา เราแค่ไม่ชอบโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับเรา” มัณฑิตา จินดา Vice President of Digital Marketing ของ Workpoint Entertainment กล่าวไว้ในงาน Seminar on Stage เมื่อวานนี้ (18 ส.ค. 62)
ถือเป็นอีกเคสที่น่าสนใจ ชวนคิด และชวนตั้งคำถามต่อว่า… การทุ่มเม็ดเงินโฆษณาและกว้านเจาะหลุ่มเป้าหมายในวงกว้างจะเป็นผลดีต่อแบรนด์ ต่อแอป ต่อ product ที่เราจะนำเสนอจริงๆ หรือไม่?
The post [กรณีศึกษา] เมื่อแบรนด์โฆษณาบนแพลตฟอร์มวิดีโอถี่เกินไป อาจทำให้เกิดกระแสตีกลับแทน! appeared first on Thumbsup.