ในช่วงที่สุ่มเสี่ยงว่าสถานการณ์ COVID-19 จะพ้นจากประเทศไทยได้จริงหรือไม่ เพราะการเปิดประเทศจำเป็นต้องมาพร้อมความเสี่ยง ยิ่งในต่างประเทศการติดเชื้อยังมีจำนวนมหาศาล ยิ่งมีความเสี่ยง แต่ถ้าไม่เปิดก็มีความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจในประเทศจะทรุด เพราะรายได้แต่ละครัวเรือนถดถอยจากสถานการณ์นี้ไปเยอะมาก
แล้วในมุมของแบรนด์จะเป็นอย่างไร จังหวะนี้ควรรู้จักใช้ดาต้าอย่างไรให้เหมาะสม เรามี 3 กูรูจะมาบอกวิธีปรับตัวรับสถานการณ์ในช่วงนี้
คุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer ของ Rabbit Digital Group กล่าวว่า ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าสถานการณ์ COVID-19 นั้นสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้กับทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิต การสร้างสัมพันธ์บนโลกที่ไร้การสัมผัส แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคงไม่พ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ในช่วง COVID-19 ยังเป็นประเด็นใหญ่ McKinsey & Company ได้เผยผลวิจัยของพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคเริ่มใช้จ่ายให้กับข้าวของเครื่องใช้ ของแต่งบ้านและของดูแลร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายก็ไปลงที่กับเสื้อผ้า เครื่องประดับลดลง แต่ที่แน่ๆ พอทุกอย่างเริ่มผ่อนคลายลง ทุกคนก็พร้อมที่จะกลับมาอีกครั้ง
จากผลวิจัยของ EY เผยความคิดของผู้บริโภคหลังจากช่วง lockdown แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้:
- 31% พร้อมที่จะกลับไปเป็นปกติ
- 25% ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยขึ้น แต่ยังปลอดภัยไว้ก่อน
- 22% ประหยัด ป้องกันไว้ก่อน
- 13% รัดเข็มขัดเข้าไปอีก
- 9% ฟุ่มเฟือยให้สุด
“COVID คือการไดรฟ์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมากที่สุด”
การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของผู้บริโภคนั้นมีปัจจัยหลักอยู่ 2 อย่าง
- กลับเข้าสู่โลกดิจิทัล ทุกวันนี้คนเริ่มมีงานเสริม ขายของมากขึ้น คนเริ่มคุ้นชินกับการใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าเดิม ทำให้เรามีคอนเทนต์ครีเอเตอร์ผุดขึ้นมาใหม่ในทุกๆ วัน
- ผู้บริโภคจะใช้จ่ายกับสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากขึ้น ด้วย self tension ในตัวคนที่เพิ่มมากกว่าเดิม ผู้บริโภคคิดถึงความมั่นคงมากขึ้น สนใจในเรื่องพัฒนาตนเอง และความสมดุลระหว่างความฝันและเสถียรภาพทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม COVID-19 ไม่ได้กระทบทุกคน และไม่ได้มีแค่แง่ร้ายเพียงอย่างเดียว ยังมีโอกาสที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์สามารถคว้าไว้ในช่วงนี้ได้ และทำให้ดีที่สุดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในทางที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรมีแผนสำรองป้องกันไว้ด้วย
“คนที่ปรับตัวเร็วและพร้อมกว่าเท่านั้น ถึงจะชนะผู้บริโภค”
ทำคอนเทนต์อย่างไรให้เรามีความสุข ลูกค้าแฮปปี้
ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่แบรนด์กับคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะทำงานร่วมกัน แต่ในโลกที่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปไวมาก การทำให้คอนเทนต์ของลูกค้าและเอเจนซี่ทรงพลังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
คุณไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท Alchemist บริษัทใหม่ล่าสุดของ Rabbit Digital Group เปิดเผยเคล็ดลับวิธีการทำคอนเทนต์คุณภาพอย่างไรให้มีความสุขทั้งเราและลูกค้าในระหว่างเดียวกันก็เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไปในตัวด้วย
7 เคล็ดลับสำหรับการทำคอนเทนต์ให้แบรนด์และเอเจนซี่
- ทำงานอย่างมืออาชีพ ตามหาเป้าหมายของตัวเองที่ชัดเจน เก็บข้อมูลให้ครบครัน พร้อมเสนอลูกค้า
- ตลาด Niche ไม่ใช่เรื่องแย่ เข้าใจ STP (Segmentation, Target, และ Positioning) ตามหา Niche ที่แข็งแรง เจาะให้ลึกซึ้ง และยึดมั่นกับมัน
- ทำการบ้าน หาข้อมูลให้ลึกซึ้ง นำข้อมูลที่เป็น insight มาผสมกับความ creative ให้ลงตัว
- เลือกแบรนด์ที่เหมาะกับสไตล์การทำงานของเรา อย่าฝืนเลือกในสิ่งที่ไม่ใช่แล้วกัดกร่อนความเป็นตัวตนของเรา
- สูตรสำเร็จหายาก พฤติกรรมของคนเปลี่ยนเร็ว สูตรเดิมไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนเดิมเสมอไป
- Production ที่ดีอย่างเดียวไม่สามารถทำให้คอนเทนต์อยู่รอด คอนเทนต์ที่ดีคือ production ที่ดีและข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
- ยอมรับและเข้าใจในการโฆษณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องขายให้เนียนก็ได้
แต่ในเวลาเดียวกันความสม่ำเสมอก็คือใจความสำคัญของการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ดี การทำคอนเทนต์ก็คือการสร้างแบรนด์การสร้างแบรนด์ก็เหมือนสร้างบ้านเราค่อยต่อค่อยเติมเริ่มสร้างกำแพงสร้างหลังคาสร้างห้องตามลำดับ ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการทำคอนเทนต์ที่ดี แต่เราก็สามารถเริ่มก้าวแรกของการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ดีได้ในทุกๆ วัน
“วันที่เราเริ่มต้น จะเป็นคนละคนกับวันที่เข้าเส้นชัย”
รู้เขารู้เรา ทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า SEO (Search Engine Optimization) หรือการทำยังไงให้คอนเทนต์ติดหน้าแรกของเว็บเสิร์ช แต่ในยุคนี้ UX (User Experience) หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ คือสิ่งที่จะตอบโจทย์ธุรกิจได้มากกว่า คุณณัฐกรณ์ รัตนชัยสิทธิ์ ซีอีโอแห่ง Predictive ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล SEO และ UX จะมาสรุปให้ฟังค่ะ
ในปัจจุบันพฤติกรรมการเสิร์ชของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว 80% ของผู้บริโภคจะค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ SEO จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่เรื่องที่สำคัญกว่าคือ UX
การค้นหาของผู้บริโภคมีความคาดหวังที่จะเจอคำตอบ ณ เวลานั้นเช่น ร้านเปิดกี่โมง ร้านมีสาขาที่ไหนบ้าง ต้องรอคิวกี่นาที แต่ธุรกิจควรมองการเสิร์ชให้เป็นการเดินทางมากกว่าเพียงแค่คำตอบ จึงจะสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าได้ สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจ ว่าผู้บริโภคต้องการค้นหาอะไร เราต้องทำความเข้าใจในส่วนนี้ก่อน ยิ่งรู้ลึก รู้เยอะ เราก็จะยิ่งหาข้อมูลมา Support ในส่วนนี้ได้ดียิ่งขึ้น (จะเสิร์ชอะไรก็เจอเว็บเรา)
ดังนั้น ควรทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาข้อมูลของเราด้วยเพื่อให้อัลกอริทึมสามารถเข้าใจคอนเทนต์ของเราได้มากขึ้น
การวัดผล SEO และ UX ของ Google
- Findability ค้นหาเจอได้ง่ายหรือไม่
- Product pages การแสดงผลสินค้าและบริการดึงดูดแค่ไหน ปุ่ม Calls to Action เด่นหรือไม่?
- Registration & Conversion รูปแบบที่เสร็จสมบูรณ์และความปลอดภัยของเว็บไซต์
- Mobile design การออกแบบเหมาะสำหรับผู้ใช้งานในมือถือหรือไม่?
- Speed หน้าเว็บไซต์ใช้เวลาดาวน์โหลดนานแค่ไหน?
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ SEO & UX คือการวัดผล เราวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้มากน้อยแค่ไหน นำผลที่ได้มา Test and Learn เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ
The post “เข้าใจคอนเทนต์” การทำคอนเทนต์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและแบรนด์ก็รักเรา appeared first on Thumbsup.