นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การใช้ชีวิต และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า-บริการ
สำหรับภาคธุรกิจเองก็จำเป็นต้องปรับตัวไปพร้อมๆ กับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาฐานลูกค้า สภาพคล่อง และโอกาสเติบโตของธุรกิจในอนาคต
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทยผู้เชี่
อันดับ 1 คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับรูปแบบการช้อปปิ้งออนไลน์
คิดเป็น 90.91% ซึ่งเห็นได้ชัดในสถานการณ์ครั้งนี้ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซ เติบโตพุ่งขึ้นไปอีก ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด (Priceza) มีคาดการณ์ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ หรือช้อปออนไลน์ในกลุ่ม C2C หรือ Customer to Customer ไม่รวมบริการจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการอื่น ๆ ระบุว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 4-5% ของค้าปลีกทั้งประเทศ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าช้อปปิ้งออนไลน์ในปี 2563 มีการเติบโต 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท สัดส่วน 3% ของค้าปลีกทั้งประเทศ นับว่าโควิดเป็นแรงกระตุ้นให้อัตราการช้อปออนไลน์เติบโตสูงขึ้นมากทีเดียว
อันดับ 2 คือ วิถีการทำงานในรูปแบบ Work From Home
คิดเป็น 81.82% ซึ่งเเข้ามาปรับพฤติกรรมแรงงานให้เข้าสู่โหมดออนไลน์โดยมีแพลตฟอร์มการประชุมมากมาย อาทิ Zoom และ Microsoft Team เป็นต้น
อันดับ 3 คือ ความบันเทิงผ่านระบบออนไลน์
คิดเป็น 72.73% ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การเดินทางออกมาท่องเที่ยว หรือชมภาพยนตร์ในแบบปกติมีข้อจำกัด ดังนั้น รูปแบบความบันเทิงของผู้คนทั่วไปจึงอยู่ในระบบออนไลน์มากขึ้น มีแอปพลิเคชันบันเทิงในการดูภาพยนตร์ ฟังเพลงให้เลือกใช้บริการมากมายทั้งในแบบฟรีและคิดค่าบริการ ซึ่งเสริมให้ธุรกิจนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้น และกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ กับอินเทอร์เน็ตมีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นนับเป็นอานิสงค์ให้กับผู้ให้บริการ
อันดับ 4 การชำระเงินผ่านระบบออนไลน์
กลุ่มบริการ E-Payment หรือการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์คิดเป็น 63.64% ที่มีการใช้บริการเพิ่มขึ้น ปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจเพิ่มช่องทางการชำระเงิน รวมถึงภาครัฐและภาคธนาคารผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสด ซึ่งโควิดนับว่าเป็นแรงกระตุ้นให้เราก้าวสู่สังคมไร้เงินได้เร็วยิ่งขึ้นครอบคลุมในการจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการ โดยจะเห็นได้จากทุกวันนี้เราใช้บริการเรียกแท็กซี่ผ่านสมาร์ทโฟน และจ่ายเงินโดยไม่ต้องมีเงินสดแล้ว
อันดับ 5 E-learning การเรียนทางไกล
พ่อแม่ผู้ปกครองคงปฏิเสธไม่ได้ เมื่อลูกหลานไม่สามารถไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนแบบปกติไม่ได้ โรงเรียนและครูอาจารย์นำเครื่องมือที่เรียกว่า อี-เลิร์นนิ่ง (E-learning) มาใช้ในการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 54.55% ดังนั้น เด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ปกครองมีการปรับตัวเพื่อใช้อี-เลิร์นนิ่ง นอกจากนี้คนในวัยทำงานก็ใช้เครื่องมือนี้ในฝึกอบรมและสัมมนาอีกด้วย
อันดับ 6 การติดต่อสื่อสาร
ด้านระบบเครือข่ายการสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต ต้องมีความเร็วสูง แรง และเสถียรเพื่อรองรับการใช้งานในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าวในอันดับต้นๆ นับว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ 45.45%
อันดับ 7 การดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยี
ปัจจุบันมีสมาร์ทดีไวซ์ที่เข้ามารองรับการใช้งานด้านนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Smart Watch และการรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพออนไลน์ คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 36.36%
อันดับ 8 การบริหารการจัดส่งสินค้าด้วยเทคโนโลยี
ในยุคดิจิทัลที่มีแอปพลิเคชันรองรับการให้บริการมากมาย ทำให้อุตสาหกรรมด้านการให้บริการโลจิสติกส์มีการแข่งขันอย่างมาก ซึ่งหัวใจการให้บริการคือ ความเร็ว ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเข้ามาช่วยให้การให้บริการนี้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น นับว่ามีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนไม่น้อยอยู่ที่ 27.27%
อันดับ 9 ระบบการผลิต 3D Printing
เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างการผลิตหน้ากากอนามัยให้เข้ากับรูปหน้าของผู้สวมใส่นั้นๆ คิดเป็นสัดส่วน 18.18%
อันดับ 10 โดรนและหุ่นยนต์
การนำโดรนและหุ่นยนต์ เข้ามามีบทบาทในการช่วยทำงาน ซึ่งในงานบางอย่างอาจจะไม่ต้องใช้แรงงานคนมีสัดส่วนอยู่ที่ 9.09%
The post 10 อันดับพฤติกรรมบนวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่แบรนด์ต้องปรับตัว appeared first on Thumbsup.