ความปลอดภัยของแบรนด์คือการลดความเสี่ยงในการโฆษณา ซึ่งหมายถึงมาตรการที่จะปกป้องแบรนด์จากเหตุการณ์ที่อาจคุกคามต่อชื่อเสียงของแบรนด์ได้ โดยส่วนใหญ่มาตรการเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้โฆษณามีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น บริษัทสามารถสร้างมาตรการด้านความปลอดภัยของแบรนด์เพื่อป้องกันไม่ให้โฆษณาที่เสียค่าใช้จ่ายปรากฏในเนื้อหาของแบรนด์ หากสิ่งนี้เกิดขึ้นผู้คนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับจุดยืนดังกล่าวว่าเป็นการรองรับเนื้อหาเหล่านี้ ซึ่งผลการศึกษาจาก Digital Turbine พบว่า 49% ของผู้บริโภคกล่าวว่าการรับรู้แบรนด์ของตนได้รับผลกระทบในทางลบเมื่อเนื้อหาของแบรนด์ปรากฏควบคู่ไปกับเนื้อหาที่ไม่เป็นที่ต้องการ
การปกป้องชื่อเสียงแบรนด์จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกัน การมองการณ์ไกล และการวางแผน แต่อีกหนึ่งวิธีในการปกป้องธุรกิจออนไลน์คือการสร้างแนวทางความปลอดภัยของแบรนด์ที่เข้าใจและจัดการกับโซเชียลมีเดียอย่างถูกต้อง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการตลาดต้องคำนึงถึงด้านความปลอดภัยของแบรนด์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึง:
- โฆษณาโซเชียลแที่ปรากฏควบคู่ไปกับเนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือสร้างความเสียหาย
- เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นซึ่งมีการกล่าวอ้างที่เป็นเท็จเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์
อีกทั้งสังคมบนโซเชียลมีเดียยังเป็นเครื่องมือตรวจจับและป้องกันความเสี่ยงที่ทรงพลังอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของการรับฟังนี้คือแบรนด์สามารถใช้เพื่อติดตามการสนทนาในวงกว้างได้และสามารถระบุแหล่งที่มาของความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะควบคุมไม่ได้ เพราะในปัจจุบันโซเชียลมีเดียกลายเป็นจุดศูนย์กลางในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เป็นที่แรกที่พวกเขาหันไปหาข้อมูล ความบันเทิง หรือช่องทางในการแสดงความคิดเห็น หากบริษัทต่างๆ ต้องการอยู่ในความโปรดปรานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีลำดับความสำคัญเหล่านี้ พวกเขาจะต้องคิดทบทวนหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยของแบรนด์จากมุมมองที่ให้ความสำคัญกับเสียงบนโซเชียลมีเดียเป็นอันดับแรก
ที่มา : bannerflow.com
The post Brand Safety สิ่งที่แบรนด์ต้องรู้เพื่อปกป้องชื่อเสียง appeared first on Thumbsup.