เรารู้ว่ามันอาจจะฟังดูวิชาการไปสักนิดถ้าจะพูดว่า เราทุกคนกำลังอยู่ใน “ยุคข้อมูลข่าวสารล้นหลาม” แบบที่ตำราว่าไว้นั้น แต่ก็ต้องยืนยันว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นความจริง จริงซะยิ่งกว่าสมัยก่อนเสียอีก [วันนี้เราจะเกริ่นยาวสักหน่อย ถ้าต้องการทราบรายละเอียดงาน กดลงไปดูช่วงกลางได้เลย]
ลองจินตนาการในแต่ละวันดูนะครับว่า วันหนึ่งๆ เราต้องเสพย์ข้อมูลข่าวสาร หรือ Content มากขนาดไหน
- ตื่นเช้ามาเปิดโทรศัพท์มือถือเช็คอีเมล
- เช็คสเตตัสบน Facebook, Twitter
- ตอบคำถามเพื่อนใน Message (LINE, WeChat, WhatsApp, Facebook Messenger, Beetalk, Kakao ฯลฯ)
- ระหว่างทางเข้าออฟฟิศ ขับรถฟังเพลงทางวิทยุ
- ขับไปก็แล่นผ่านป้าย OOH ต่างๆ เห็นโฆษณาอีกบานตะไท
- เมื่อถึงสำนักงาน เราแวะทานข้าวเช้า เรายังเจอคนยืนแจกหนังสือพิมพ์และนิตยสารแจกฟรีให้เรา
ท้ายที่สุด…เราก็พบว่ามือเราถือหนังสือพิมพ์ แต่ตาก็ดูรายการโทรทัศน์ฆ่าเวลาก่อนจะเริ่มงาน นี่ยังไม่รวมถึง Notification จากข้อความที่เพื่อนแชร์มาบน Social Network ชี้ชวนให้เราอ่านเว็บไซต์อีกล้านแปดเว็บ
สังเกตนะครับ Content ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ฟรี หาง่าย และมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกคนสามารถเป็น Media ได้ ทุกคนเป็นเจ้าของสื่อเองได้ ด้วยต้นทุนไม่กี่ร้อยกี่พันบาท ไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่ใครจะเป็นเจ้าของสื่อ ต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีแท่นพิมพ์นับล้านบาท
ท่ามกลางมหาสมุทรข้อมูลที่ทุกคนสามารถนำเสนอสิ่งที่ตัวเองคิด เราในฐานะผู้บริโภคเองก็ต้องเริ่มตั้งคำถามแล้วว่า Content อะไรที่น่าเชื่อถือ และอะไรที่ไม่น่าเชื่อถือ
thumbsup ในฐานะของเว็บข่าวและบทความด้านธุรกิจดิจิทัล จึงมองว่า ข้อมูลข่าวสารที่มาจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ นั้นเป็นข้อมูลที่น่าจับตามอง ควรให้เวลาศึกษามัน เหมือนกับที่เวลาเราไม่เก่งอะไรสักอย่าง ต้องตามหาที่ปรึกษามาช่วยแนะแนวทาง เพราะคนเหล่านี้กว่าจะกลายเป็นที่ปรึกษาได้ ย่อมผ่านกระบวนการคิดและฝึกฝนมามากมาย
- อ่านบล็อกและเว็บบอร์ดข้อมูลทางด้านการเงินที่เจ๋งๆ โดยยอมจ่ายให้กับสมาคม ThaiVI เพราะในนั้นมี ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ จำนวนมาก
- จ่ายค่าเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโบรคเกอร์ เพื่อเช็คข้อมูลข่าวสารของหุ้นในแอปของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มความรู้ ‘ความเชี่ยวชาญ’ ให้กับตัวเอง ก่อนที่จะลงทุน
- จองตั๋วหนัง ซื้อหนังสือ และเลือกซื้อสินค้าจากเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ เพราะอ่านรีวิวที่น่าเชื่อถือจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ในเว็บต่างๆ
เราเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ถ้าคุณอยากจะเก่งอะไรสักอย่างในระดับผู้เชี่ยวชาญแล้วล่ะก็ ลองฝึกมันเข้าสัก 10,000 ชั่วโมงคุณก็จะสามารถกลายเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ นั้นได้ แต่เราจะเสียเวลาไปฝึกทุกๆ ทักษะที่เราอยากเก่งทำไม สู้ตามหา ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ กลุ่มนี้มาตอบสนองความกระหายใคร่รู้ของเราดีกว่า ได้ผลเร็วกว่ากันเยอะ ยิ่งในยุคออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ในการแสดงความเชี่ยวชาญ และพรสวรรค์ส่วนตัว เราตามหาคนกลุ่มนี้ได้ไม่ยากเลยล่ะครับ
นี่จึงเป็นสาเหตุของการที่ thumbsup อยากจะเชิญชวน thumbsupers มาทำความรู้จักกับยุคสมัยใหม่ ยุคสมัยที่เราขอเรียกมันว่า ‘Age of Expertise’ หรือยุคของ Content ที่มีความหมายนั้นจะมาจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือ
เราจึงอยากขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมทำความรู้จัก ‘Age of Expertise’ ในแง่มุมของการทำ Content Marketing ด้วยกันในงานสัมมนา “Spark Conference 2: Age of Expertise” การกลับมาของ Spark Conference งานสัมมนาของวงการธุรกิจดิจิทัล จากที่เราได้รับการตอบรับจาก thumbsupers และผู้สนใจธุรกิจดิจิทัลกว่า 1,000 คนเมื่อเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมา
คราวนี้กลับมาภาค 2 เชิญอ่านรายละเอียดครับ
Spark Conference 2: Age of Expertise
วัน: ศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 18.00 น.
เวลา: 9.00 น. – 18.00 น. (วาระและหัวข้อต่างๆ ของแขกรับเชิญทุกท่านอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยนครั้งสุดท้าย เราจะนำมาเสนอในไม่กี่วันนี้)
สถานที่: หอประชุมมหิศร SCB Park
สำหรับงาน Spark Conference 2 เราได้รวบรวมวิทยากรที่เราเชื่อมั่นว่าคนในแวดวงธุรกิจดิจิทัลจะชื่นชอบพวกเขา ณ ตอนนี้แขกรับเชิญที่จะมาร่วมงานกับเรามีหลายต่อหลายท่าน วันนี้เราขอแนะนำ 7 ท่านแรกก่อนนะครับ
คุณ Dave Kerpen ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท Likeable Local บริษัทซอฟต์แวร์ทางด้าน social media ระดับรางวัลของสมาคม Word of Mouth และผู้แต่งหนังสือขายดีระดับโลก “Likeable Social Media” บินตรงจากกรุงนิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกาถึงกรุงเทพมหานครเพื่อแชร์ความรู้ด้าน Social Media และ Content Marketing ในงาน Spark Conference 2 โดยเฉพาะ
ทางด้านผลงาน หนังสือ Likeable Social Media: How to Delight Your Customers, Create an Irresistible Brand, and Be Generally Amazing on Facebook and other social networks ของคุณ Dave เป็นหนังสือที่ประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการติดอันดับขายดีของหนังสือพิมพ์ New York Times และ USA Today จากนั้นเขายังแต่งหนังสือที่ต่อยอดความสำเร็จของเล่มแรกออกมาอย่าง Likeable Business และ Likeable Leadership ที่มีการพิมพ์ซ้ำออกจำหน่ายและแปลอีกหลายภาษาทั่วโลกอีกด้วย
คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ - นักการตลาดดิจิทัลชั้นนำผู้เคี่ยวกรำงานมากว่า 15 ปี ปัจจุบันคุณศิวัตรเป็น CEO ของบริษัท mInteraction ซึ่งให้บริการด้าน Interactive/Digital advertising และ communication solutions สำหรับแบรนด์และองค์กรชั้นนำ นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งนายกสมาคม Digital Advertising Association (Thailand) หรือ DAAT อีกด้วย
คุณกฤตธี มโนลีหกุล - คุณกฤตธี มโนลีหกุล ร่วมงานกับสนุก! ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร รับผิดชอบการบริหารงานทั้งหมด ได้แก่ บริการเว็บพอร์ทัล (www.sanook.com) เนื้อหาบนมือถือ (Sanook! Mobile) เกมส์ และโฆษณาออนไลน์ (Topspace) ทั้งยังปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเทนเซ็นต์ (Tencent) ทั้งในด้านการทำตลาด การพัฒนาธุรกิจและการบริหารจัดการกิจกรรมด้านการตลาดต่างๆ ทั้งหมดให้ WeChat ในประเทศไทย
ก่อนร่วมงานสนุก! คุณกฤตธีทำงานที่ Expedia Inc. ซึ่งเป็นบริษัทผู้บุกเบิกธุรกิจ E-Commerce การจองตั๋วและโรงแรมออนไลน์ (Online Travel Agent) โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นเวลา 4 ปีที่สำนักงานในฮ่องกง มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาความก้าวหน้าให้กับพันธมิตรทางการค้าทั้งหมดของ Expedia Inc. กำหนดกลยุทธ์ และการปฎิบัติการในเอเชียและแปซิฟิก และก่อนที่จะร่วมงานกับ Expedia Inc. เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาในหน่วยงานที่ดูแลด้านการวางกลยุทธ์ของ Samsung ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งยังร่วมงานในสายธุรกิจต่างๆ กับ Samsung เช่น Samsung Electronics และ Cheil Communications ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการร่วมงานกับบริษัท CGI ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี ในสหรัฐอเมริกา
คุณกฤตธีจบการศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ด้านการตลาด การเงิน และกลยุทธ์จาก Kellogg School of Management และปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จาก Brown University ที่สหรัฐอเมริกา
คุณพรทิพย์ กองชุน - หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย
คุณพรทิพย์ร่วมงานกับ Google มา 9 ปี โดยเป็นผู้บุกเบิกตลาดให้กับ Google ในการพัฒนาและสร้างสรรค์
คุณสุหฤท สยามวาลา - ผู้บริหาร บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องเขียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ แต่วัยรุ่นหลายคนคงรู้จักเขาในฐานะศิลปิน พ่อมดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ชายที่บอกว่าเป็นวัยรุ่นที่แก่ที่สุดในโลก ที่ออกมาประกาศอาสาขอรับใช้ประชาชนลงท้าชิงในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยหน้าพร้อมนโยบายที่จะทำให้คนกรุงเทพฯต้องเซอร์ไพส์ ซึ่งครั้งนี้คุณสุหฤท จะนำเบื้องหลังการสร้างแคมเปญหาเสียง ที่ชาวกทม. หลายหมื่นเสียงทุ่มเทคะแนนเสียงให้ในโลกดิจิทัลมาแชร์ คิดว่าหลายคนยังคงจำ MV นี้กันได้
คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ (CEO) ของ สพธอ. หรือ ETDA (Electronic Transactions Development Agency) (Public Organization)) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2554 เนื่องจากประสบการณ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาเกือบ 15 ปี และยังเป็นคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในหลายสมาคม โดย สพธอ. มีภารกิจในการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงปลอดภัยทัดเทียมผู้นำในภูมิภาค โดยเฉพาะการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดโลกให้แก่ผู้ประกอบการ E-Commerce ของไทย
คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง
นักการตลาดดิจิทัลที่เคยอยู่
นอกจากนี้แล้ว คุณณัฐพัชญ์ยังเป็นคอลัมน์นิสต์
และนี่คือโฉมหน้าของวิทยากร 7 ท่านแรกในงาน Spark Conference 2
ใครที่สนใจก็กด ลงทะเบียนร่วมงาน ได้เลยครับ
บัตรเข้างาน ราคา 1,200 บาท แต่ตอนนี้เรามี “อัตรานกตื่นเช้า” ที่ 1,000 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 20 กุมภาพันธ์ 2558 พร้อมรับฟรี! Report ของ Econsultancy 1 ชุดมูลค่า 23,000 บาท*
ขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ Spark Conference 2: dtac, Econsultancy, ETDA, Samsung Galaxy, Sanook!, SCB, Syndacast, WeChat
เกี่ยวกับ Spark Conference: Spark Conference เป็นงานสัมมนาด้านธุรกิจดิจิทัลชั้นนำของประเทศ นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดดิจิทัล โดยจะมีการแบ่งปันความรู้ตลอดจนอัปเดตเทรนด์การตลาดดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลจากทั้งในและนอกประเทศ
หมายเหตุ:
- บริษัทองค์กรใดต้องการร่วมสนับสนุนงานนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่ contact@thumbsup.in.th
- สนใจซื้อบัตรร่วมงานสำหรับองค์กรในราคาพิเศษ กรุณาติดต่อ ticket@thumbsup.in.th
- Report จาก Econsultancy จะแจ้งรายละเอียดการดาวน์โหลดอีกครั้ง
บรรยากาศของงานในปีที่ผ่านมา: