Quantcast
Channel: Digital Advertising – Thumbsup
Viewing all articles
Browse latest Browse all 1965

กรณีศึกษาสำหรับแบรนด์: แนวทางสร้างประโยชน์จาก User-Generated Content

$
0
0

content-is-the-key

คงไม่ต้องบอกกันแล้วล่ะครับว่า Content ที่น่าสนใจ รูปภาพสวยๆ ที่ดูเตะตานั้นสำคัญกับการทำการตลาดดิจิทัลมากแค่ไหน ทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นมาจากผู้บริโภคสมัยนี้เริ่มคุ้นเคยกับโฆษณาแบบเดิมๆ ประมาณว่ามองปราดเดียวก็รู้เลยว่านี่มันโฆษณาชัดๆ แล้วก็สร้างขึ้นมาเพื่อทำการตลาด และกลายเป็นว่าโฆษณานั้นใช้ไม่ค่อยได้ผล นักการตลาดสมัยนี้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีสานสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้บริโภคในแบบตัวต่อตัวมากขึ้น และหนึ่งในวิธีนั้นก็คือการทำ user-generated content

และวันนี้เราจะนำกรณีศึกษาของ 5 แบรนด์ที่น่าสนใจมาให้คุณได้อ่านและศึกษาแนวทางกันครับ

ปล.เราเคยเขียนถึงความสำคัญของมันมาแล้วในบทความนี้ User-Generated Content คืออะไร? ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ

Starbucks

อ่านบล็อกการตลาดที่ไหนก็จะมีตัวอย่าง Starbucks แต่เราก็จำต้องยอมรับว่า Starbucks มีแคมเปญที่ประสบความสำเร็จมากมาย เพราะ Starbucks ไม่เพียงแต่สานสัมพันธ์กับแฟนๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ยังสามารถสร้าง user-generated content ขึ้นมาได้ดีด้วย อย่างครั้งเมื่อ Starbucks ทำกิจกรรมชื่อ White Cup Contest ซึ่งเป็นแคมเปญที่ขอให้แฟนๆ Starbucks ทุกคนระบายสีแก้วสีขาวของ Starbucks จากนั้นก็ถ่ายรูปโชว์ลายสีและ artwork ของตัวเองบน social media ผ่านทาง hashtag #WhiteCupContest ผลลัพธ์ออกมาน่าสนใจมาก เพราะมันทำให้แฟนๆ สร้างภาพสวยๆ ของ Starbucks ออกมาล้นทะลัก Facebook และ Pinterest เลยทีเดียว แถมทางแบรนด์ก็ยังได้ Reach เพิ่มโดยไม่ต้องซื้อด้วยนะ ง่ายๆ แต่เวิร์คสุดๆ

starbucks-white-cup

Belkin

ในปี 2013 แบรนด์เคสมือถือ Belkin ได้ทำเคสของ iPhone โดยทางบริษัทได้ร่วมมือกับ Lego โดยออกแบบเคสด้วยการใช้ Lego blocks Belkin เริ่มต้นด้วยการถามลูกค้าของตัวเองบน Instagram ว่าใครอยากจะโชว์ความสามารถในการสร้างสรรค์ออกแบบ Lego structures บนเคส iPhone บ้าง ว่าแล้วก็ใส่ tag #LEGOxBelkin ในมุมมองการตลาดแล้ว แคมเปญนี้เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าช่วย Belkin ขายของด้วยการแสดงให้เห็นว่าเคส Belkin จะเจ๋งจะ cool ได้มากแค่ไหน แถมยังออกมาแบบเนียนสุดๆ ไม่ดูยัดเยียดอีกด้วย

belkin

Momondo

เมืองไทยอาจไม่ค่อยรู้จัก Momondo กันเท่าไหร่ Momondo คือบริษัท travel metasearch engine จากกรุงโคเปนเฮเกนที่เปิดให้ผู้ใช้ค้นหาและเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบิน โรงแรม รถยนต์ ทางบริษัทได้จัดประกวดภาพถ่ายขึ้นมาโดยให้คนส่งภาพที่แสดงถึงชีวิตคนเมืองด้วยสีที่สดใสแล้วชิงรางวัล ฟังดูง่ายๆ แต่ท้ายที่สุดบริษัทก็สร้างกระแสบนโลกออนไลน์ได้ด้วยการดึงคนนับพันนับหมื่นมาร่วมสร้างภาพสวยๆ บน Instagram ของตัวเอง ในแง่การตลาด Momondo กำลังสร้างความน่าติดตามให้กับแบรนด์ตัวเองมากกว่าขายของอย่างเดียว ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรทำในยุคที่การตลาดไม่ควรแต่จะยัดเยียดขายของมิใช่หรือ?

momondo

Estee Lauder

ในปี 2013 Estee Lauder เปิดตัวแคมเปญสร้างการตระหนักรู้ของโรคมะเร็งเต้านมที่หลายๆ คนควรจะใส่ใจ เพราะมันเป็นโรคยอดฮิตของคนทั่วโลก โดยทาง Estee Lauder ได้จัดทำแคมเปญภายใต้ธีม Stronger Together ที่เปิดให้ผู้หญิงทุกคนเข้ามาสร้าง ‘Circle of Strength’ กับเพื่อนๆ ของตัวเอง โดยสาวๆ ผู้ร่วมแคมเปญจะได้รับการร้องขอให้สัญญาว่าตัวเองจะไปทำ mammograms หรือตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ เดินออกกำลังกายบ่อยๆ ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และสนับสนุนกันและกัน โดยเจ้า Circle of Strength จะถูกแสดงผ่านทางรูปบน Instagram และ Twitter งานนี้ Estee Lauder ได้อะไรในเชิงการตลาด? มันเป็นการ connect กับผู้บริโภคในระดับสูง ที่ไม่ใช่แค่การเล่น การประกวดอะไร แต่มันเป็นการประสานใจของผู้หญิงทั่วโลกที่จะมาร่วมกันให้กำลังใจกันและกันในแคมเปญนี้

estee-lauder

Air New Zealand

ในปี 2014 สายการบิน Air New Zealand ได้เปิดตัวแคมเปญสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นแนว user-generated โดยจัดประกวดภาพถ่ายบน hashtag #AirNZPacked โดยมีคอนเซ็ปต์ว่า จะต้องจับภาพที่เป็นอารมณ์ความตื่นเต้นและกระแสก่อนที่ตัวเองจะได้เริ่มต้นเดินทางท่องเที่ยวทริปในฝัน ผู้ร่วมแคมเปญจะถูกร้องขอให้ถ่ายรูปของกระเป๋าของตัวเองที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังจะเดินทางไปไหน และอัปโหลดภาพเหล่านี้ขึ้นมาบน Pinterest และ Twitter ใครที่ชนะก็จะได้รับบัตรสมนาคุณของ Air New Zealand มูลค่า 1,000 เหรียญนิวซีแลนด์

air-new-zealand

ที่มา: Syndacast.com

และสำหรับนักการตลาด หรือใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ info@syndacast.com หรือเว็บไซต์ Syndacast.com

บทความนี้เป็น advertorial


Viewing all articles
Browse latest Browse all 1965

Trending Articles