Quantcast
Channel: Digital Advertising – Thumbsup
Viewing all articles
Browse latest Browse all 1958

เมื่อเสียงร้องและน้ำตาไม่มีผลให้หยุดทารุณ แต่ ‘emoji’ ช่วยได้

$
0
0

‘BRIS’ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศสวีเดน จัดทำ ‘emoji’ เพื่อช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นที่ถูกทารุณ ทั้งนี้ก็เพื่อสื่อสารความเจ็บปวดแทนคำพูดเพราะหลายครั้งที่เสียงขอร้องให้หยุดและน้ำตาไม่ได้ผล

‘Abused Emojis’  เป็น application ที่รวมเอารูปภาพต่างๆ ที่แตกต่างจาก ‘emoji’ ที่เรารู้จักทั่วไป ไม่มีรูปยิ้ม ต้นไม้ รถไฟ หรืออาหารจานโปรด แต่เป็นรูปที่แสดงถึงความรู้สึกเจ็บปวด หดหู่และทรมาน มีทั้งภาพเด็กถูกชกจนตาบวม พ่อแม่ขี้เมา การถูกดุด่า นอกจากนี้ application สามารถช่วยให้เด็กๆ โทรติดต่อองค์กรได้ทันที

abused-emojis-2

abused-emojis-3

Silvia Ernhagen ตัวแทนขององค์กรกล่าวว่า “ เมื่อเด็กๆ ถูกทำร้ายร่างกาย emojis จะเป็นสิ่งแรกๆ ที่พวกเขานึกถึง เพราะตอนนั้นในหัวจะเต็มไปด้วยคำพูดที่ไม่อยากพูดออกมา”

นอกจากนี้องค์กร BRIS ยังเชื่อว่า ‘emoji’ จะถูกใช้เป็นสัญญาณหรือรหัสลับเพื่อแจ้งเตือนให้คนอื่นรู้ ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกอับอาย หวาดกลัวที่ต้องใช้คำพูดหรือการพิมพ์ ‘emoji’ จะทำให้การสื่อสารกับเด็กๆ เป็นเรื่องง่ายขึ้น อย่างเวลาที่พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือ เด็กๆ เพียงส่งรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึก หรือส่งภาพไปให้เพื่อนๆ ที่เข้าใจกัน

full-set-medium-1024x625

ท้ายที่สุดองค์กรก็หวังว่า ‘emoji’ จะช่วยเด็กๆ ที่ถูกทำร้ายโดยใช้รูปสื่อสารแทนถ้อยคำ เพราะบางครั้งเด็กก็คือเด็ก พวกเขายังเล็กเกินไปที่จะรู้จักคำศัพท์หรือคำที่พวกเขาอยากบอก ยกตัวอย่างเช่น ‘รูปเด็กที่มีอึบนหัว’ สามารถแทน ‘ความรู้สีกแย่สุดๆ’ เพื่อสื่อสารออกมากได้

นับได้ว่าการนำ ‘emoji’ เข้ามา ช่วยให้เด็กๆ ใช้งานได้ทันทีแบบ ‘ready to use’ เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวและคุ้นเคยของพวกเขา อีกทั้งผู้เขียนเห็นว่า ‘emoji’ ยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแบบสากล ช่วยในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ข้ามภาษา และข้ามอายุ ลดช่องวางระหว่างการสื่อสารลงได้

ที่มา : fastcocreate


Viewing all articles
Browse latest Browse all 1958

Trending Articles