Quantcast
Channel: Digital Advertising – Thumbsup
Viewing all articles
Browse latest Browse all 1965

คำถามสำหรับการวางแผนทำ Business Model Canvas อย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

$
0
0

ก่อนหน้านี้ thumbsup ได้มีการแนะนำธุรกิจมือใหม่ในการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วย Business Model Canvas ไปแล้ว (อ่านที่นี่) โดยเป็นเหมือนแผนที่ให้เริ่มต้นสำหรับคนที่มีสินค้าแต่ไม่รู้จะเดินหน้าธุรกิจไปในทางไหน วันนี้ผู้เขียนจะมาเจาะลึกเข้าไปอีกนิด เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายธุรกิจของคุณได้ดีขึ้น ทั้งแผนการสร้างรายได้ แคมเปญที่เราทำคุ้มค่าหรือไม่ กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ส่งมอบคุณค่าของธุรกิจต่อลูกค้าได้อย่างไร

Business Model Canvas สำหรับนักธุรกิจเสมือนเป็นคู่มือให้ทุกฝ่ายในองค์กรเดินหน้าตามแผนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งอาจจะช่วยให้ฝ่ายต่างๆ วางแผนกลยุทธ์ได้ไปถึงเป้าหมายเดียวกันได้ดีขึ้น

กำหนดหัวข้อก่อนใส่ตาราง

การวางแผนเริ่มแรกสำหรับคนที่จะทำ Business Model Canvas นั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนหัวข้อเรื่องก่อน เช่น

  • ลูกค้า (Customer Segments) : ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่เราจะนำเสนอสินค้าและบริการ โดยต้องแบ่งกลุ่มให้ชัดเจน เช่น พื้นที่อยู่อาศัย จังหวัด อายุ เพศ พฤติกรรม ความสนใจ เป็นต้น ยิ่งกำหนดรายละเอียดเหล่านี้ได้เยอะ ยิ่งทำให้เรารู้จักลูกค้าของเราดีขึ้น
  • คุณค่าที่ส่งมอบต่อลูกค้า (Value Propositions) : คิดให้ออกว่าสินค้าและบริการของคุณจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหา (Painpoint) อย่างไรได้บ้าง
  • ช่องทางการเข้าถึง (Channels) : จะนำสินค้าและบริการของคุณขายในช่องทางไหนบ้าง แม้ว่าตอนนี้ทุกธุรกิจต้องขายในออนไลน์เป็นหลัก แต่ก็ต้องวางแผนการขายในช่องทางออนไลน์ให้เหมาะกับพฤติกรรมของลูกค้าเช่นกัน เพราะยุคนี้การทำคอนเทนต์แบบเดียวกันใช้กับทุกช่องทางไม่ได้แล้ว รวมทั้งต้องมีพาร์ทเนอร์บนโลกออนไลน์ที่จะช่วยสื่อสารธุรกิจของเราได้อย่างเหมาะสมด้วย
  • ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer relationships) : นอกจากการสื่อสารที่โดนใจแล้ว การสร้างความสัมพันธ์ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำก็เป็นเหตุผลที่สำคัญเช่นกัน การทำในรูปแบบตอบแชท อีเมล์ โทรศัพท์ Chatbot หรือ Group ต่างก็เป็นการช่วยเหลือลูกค้าทั้งสิ้น
  • รายได้หลักของธุรกิจ (Revenue Streams) : รายได้มาจากไหน? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่เจ้าของธุรกิจต้องมองให้ชัด รายได้จะมาจากการขายสินค้าเพียงอย่างเดียวได้ไหม? หรือควรจะมีระบบสมาชิกเป็นรายได้ประจำ? การเช่าหรือยืมแล้วคิดค่าบริการ หรือการเก็บดอกเบี้ย จะช่วยสร้างรายได้ไหม? สิ่งเหล่านี้มองให้ชัดและตอบให้ได้ รวมทั้งต้องมองเรื่องของการป้องกันความเสียหายจากการเช่าใช้สินค้าด้วยนะคะ เพราะการนำสินค้ากลับมาซ่อมบำรุงก็เป็นต้นทุนเช่นกัน
  • ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources) : ต้นทุนที่เราต้องมีจากการใช้งานทรัพยากรหลักของธุรกิจมีอะไรบ้าง วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน ค่าจดสิทธิบัตร ค่าลิขสิทธิ์ สิ่งเหล่านี้ต้องคำนวณให้ชัดด้วย
  • กิจกรรมหลักที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ (Key Activities) : กิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจท่ีจะช่วยสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า รักษาสัมพันธ์ที่ดีและการสร้างรายได้ แบ่งเป็น การผลิต การแก้ปัญหา แพลตฟอร์ม
  • พันธมิตรทางธุรกิจ (Key Partners) : หุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์ที่ดีจะต้องประกอบด้วย พันธมิตรทางกลยุทธ์ พันธมิตรด้านความร่วมมือ พันธมิตรด้านการลงทุน และพันธมิตรด้านการซื้อและจัดจำหน่าย
  • ต้นทุนในการทำธุรกิจ (Cost Structure) : ทุกการเริ่มต้นทางธุรกิจมีต้นทุนเสมอ การคำนวณต้นทุนให้ชัดเจนจะช่วยให้เราวางแผนการตั้งราคาขายของสินค้าได้ดีขึ้น

ใครที่อยากทำ Business Model Canvas ใส่ในตารางสวยๆ ลองเลือกดูจากเว็บนี้ได้เลย creately เพราะจะมีแบบตารางให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละแผนกงานให้เลือกใช้เพียบ

คำถามที่ต้องตอบให้ชัดในแต่ละตาราง

หลังจากที่ทราบหลักเกณฑ์ของทั้ง 9 ข้อแล้ว สิ่งที่ทำต่อมาคือการตั้งคำถาม ยิ่งมีข้อสงสัยมากเท่าไหร่ ย่ิงช่วยให้ทุกฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ได้ดีขึ้นเท่านั้น ลองนึกคำถามที่น่าจะเชื่อมโยงกับหลักการ 9 ข้อและธุรกิจของเราดูค่ะ ว่าควรจะมีอะไรบ้าง และพยายามหาคำตอบให้ชัดมาตอบเพื่อนำไปใช้ต่อยอด เรามาลองจัดกรุ๊ปคำถามกันค่ะ

สมมุติว่าเป็นสินค้าประเภทร้านอาหารกันดูนะคะ ว่าควรมีข้อสงสัยอะไรบ้าง

  • Customer Segments
  1. ลูกค้าเป็นใครบ้าง
  2. ลูกค้าจะมาใช้งานในช่วงเวลาไหนบ้าง
  3. ลูกค้าจะมาใช้บริการครั้งละกี่คน
  4. ประเภทของลูกค้าที่มาใช้บริการ
  5. ความสัมพันธ์ของลูกค้าที่มาใช้บริการ
  • Value Propositions
  1. ประเภทของอาหารที่จะนำมาขาย
  2. เมนูเด็ดประจำร้าน เมนูขึ้นชื่อที่จะเป็นธีมของธุรกิจ
  3. ราคาอาหารที่ลูกค้ายอมจ่าย
  4. การรักษาคุณค่าของอาหาร มีช่องทางไหนบ้าง
  5. การคงคุณภาพของอาหารและสินค้าให้ได้มาตรฐาน
  6. การเก็บรักษาอาหาร (วิธีการเก็บรักษา / สถานที่เก็บรักษา / มาตรฐาน)
  7. แบรนด์ของวัตถุดิบ (แบรนด์สินค้า OEM / ขายส่ง / ขายปลีก)
  • Channels
  1. สาขาที่ให้บริการมีกี่แห่ง ที่ไหนบ้าง
  2. มีการบริการเดลิเวอรี่หรือไม่
  3. ช่องทางการติดต่อของร้านค้า
  4. การสื่อสารกับลูกค้าเมื่อเกิดปัญหาหรือคอมเม้นท์ต่างๆ
  5. คอลล์เซ็นเตอร์ที่คอยให้บริการ ตอบสนอง 24 ชั่วโมง หรือเวลาทำการ
  • Customer relationships
  1. การให้บริการกับลูกค้าเป็นอย่างไรบ้าง
  2. ภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นสินค้าแบบไหน
  3. มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง
  4. กิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดที่จะกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการ
  5. กิจกรรมทางสังคมที่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของบริษัท จะมีธีมในการทำกิจกรรมไหม หรือสนับสนุนกิจกรรมเดียวไปตลอด)
  • Revenue Streams
  1. ค่าบริการอาหารและเครื่องดื่ม จะอยู่ในระดับที่เท่าไหร่
  2. การขายแฟรนไชส์ จะทำในรูปแบบไหนได้บ้าง
  3. ค่าบริการในการจัดส่งสินค้า คิดตามระยะพื้นที่ หรือครอบคลุมทั่วประเทศ
  4. ค่าบริการในการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ คิดตามเมนูอาหาร หรือมีการทำโปรโมชั่นราคาพิเศษ
  5. ค่าสมัครสมาชิก
  • Key Resources
  1. ค่าวัตถุดิบ ครัวกลาง ซัพพลายเชน อยู่ในระดับเท่าไหร่
  2. ค่าฝึกอบรมบุคคลากรที่ให้บริการ
  3. ค่าเครื่องจักรในการผลิตสินค้า
  4. ค่าทำความสะอาด
  5. ค่าจ้างพนักงาน
  • Key Activities
  1. ต้นทุนการให้บริการนอกสถานที่
  2. ค่าแรงพนักงาน
  3. ค่าวัตถุดิบสำรองจ่ายก่อนงานเลี้ยง
  4. ค่าบริการในการดูแลลูกค้า
  5. การควบคุมมาตรฐานในการผลิตและให้บริการ
  • Key Partners
  1. ผู้ให้บริการเช่า/ซื้อพื้นที่ (มีกี่ราย ใครบ้าง / ช่องทางการติดต่อกรณีเร่งด่วน / ฝ่ายจัดการด้านเอกสาร / ฝ่ายจัดซื้อ / ฝ่ายทวงหนี้)
  2. ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบต่างๆ (มีกี่ราย ใครบ้าง / ช่องทางการติดต่อกรณีเร่งด่วน / ฝ่ายจัดการด้านเอกสาร / ฝ่ายจัดซื้อ / ฝ่ายทวงหนี้)
  3. ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และของพรีเมียม (การตกแต่งสถานที่ / การทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด)
  4. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (มีกี่ราย ใครบ้าง / ช่องทางการติดต่อกรณีเร่งด่วน / ฝ่ายจัดการด้านเอกสาร / ฝ่ายจัดซื้อ / ฝ่ายทวงหนี้)
  5. ประกันภัย (สถานที่ / พนักงาน / วัตถุดิบ)
  • Cost Structure
  1. ค่าเช่าพื้นที่
  2. ค่าวัตถุดิบในการให้บริการทั้งหมด
  3. ค่าจ้างพนักงาน (ทั้งหน้าร้าน / เดลิเวอรี่ / จัดส่ง / ขาย / บริหาร)
  4. ค่าวิจัยสินค้าและผลิตภัณฑ์
  5. ค่าสาธารณูปโภค
  6. ค่ากระจายสินค้า
  7. ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา

การระดมสมองของทุกฝ่ายในการสร้าง Business Model Canvas ย่อมเป็นเรื่องดี เพราะเราจะได้เห็นมุมมองและแง่มุมต่างๆ ที่คนเดียวอาจมองไม่เห็นทุกรูป ดังนั้น การรับฟังความคิดเห็นของหลายคนและช่วยวิเคราะห์ธุรกิจให้หลากหลายย่อมช่วยให้ธุรกิจของคุณมีโอกาสเดินหน้าได้อย่างแข็งแรงขึ้นในอนาคตนะคะ

The post คำถามสำหรับการวางแผนทำ Business Model Canvas อย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด appeared first on Thumbsup.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 1965

Trending Articles