Quantcast
Channel: Digital Advertising – Thumbsup
Viewing all 1958 articles
Browse latest View live

ยังดังไม่พอ Google ผนึก MLB โปรโมทตัวเองผ่านลีคกีฬาดังของชาวอเมริกัน

$
0
0

นักการตลาดรู้ดีว่าแคมเปญที่ทำกับลีคกีฬาดัง มักจะมีโอกาสสำเร็จช่วยให้แฟนกีฬาจดจำแบรนด์ได้ดี แต่กรณีของ Google ที่ร่วมมือกับลีคเบสบอล MLB นั้นถือว่าน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะ Google ใช้วิธีดึง Google Assistant ระบบผู้ช่วยส่วนตัวที่จะแพร่ภาพและเนื้อหา social content สำหรับรอบชิงแชมป์

MLB มีชื่อเต็มว่า Major League Baseball ซึ่งเป็นลีคการแข่งขันเบสบอลที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา ความร่วมมือผ่าน Google Assistant ถือเป็นความร่วมมือกับ Google ในฐานะพันธมิตรด้านเนื้อหาและแพลตฟอร์มหลากหลาย โดย Google Assistant จะได้ชื่อเป็นผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์การแข่งขันทั้งซีรีส์ 2018 American and National League Championship Series ที่เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม

มิติใหม่ของวงการเบสบอล

ความเคลื่อนไหวนี้สะท้อนว่า Google Assistant จะเป็นพันธมิตรมิติใหม่ของลีคการแข่งขัน ซึ่งมีพันธมิตรรายหลักเป็นสถานีข่าวสำหรับแพร่ภาพการแข่งขันอย่าง Fox, FS1 และ TBS โดย TBS เป็นแพลตฟอร์มสื่อของ MLB ที่ประกอบด้วย MLB Network, MLB.com และแอปพลิเคชัน MLB At Bat

การประชาสัมพันธ์ Google Assistant ในการแข่งขันครั้งนี้ จะใช้วิธีการที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือจะมีการถามคำถามกับ Google Assistant ระหว่างการถ่ายทอดสดเกมการแข่งขันด้วย จุดนี้สำนักข่าว Ad Age มองว่าจะเป็นอีกวิธีที่ทำให้ชาวอเมริกันรู้จัก Google Assistant มากขึ้น

MLB และ Google ยังร่วมมือกันสร้างเนื้อหาต้นฉบับหรือ original content programming ในรูปของรายการพิเศษที่จะแสดงให้เห็นว่าแฟนเบสบอลกำลังสนุกสนานในการแข่งขัน League Championship Series (LCS) ผ่าน Assistant จากทุกที่ทุกเวลาแม้ในขณะเดินทาง โดย MLB จะสร้าง Instagram Stories หรือชุดภาพเรื่องราวบน Instagram ในธีม LCS แบบที่ไม่เคยทำที่ไหนมาก่อน ซึ่งจะเน้นที่การใช้งาน Google Assistant ของเหล่าทีม LCS

ข่าวนี้สะท้อนว่า Google Assistant กำลังเริ่มทำตลาดอย่างจริงจังในสหรัฐฯ ไม่แน่ Google Assistant อาจขยายฐานการเป็นสปอนเซอร์สู่การแข่งขันอื่นในเอเชียในอนาคตก็ได้

ที่มา: MarketingDive

 
Source: thumbsup

The post ยังดังไม่พอ Google ผนึก MLB โปรโมทตัวเองผ่านลีคกีฬาดังของชาวอเมริกัน appeared first on thumbsup.


Snapchat แจ้งเกิด “original show” 12 เรื่องพร้อม “AR portal”

$
0
0


เครือข่ายสังคมสุดฮิตในวัยรุ่นอเมริกันอย่าง Snapchat กำลังทำสิ่งใหม่ที่น่าสนใจมาก นั่นคือการเปิดตัวรายการต้นฉบับที่บริษัทลงทุนสร้างเองหรือ original show จำนวน 12 รายการ โดยไม่เปิดตัวแต่เนื้อหา แต่หันมาเปิดตัว “AR portal” หรือคลังฉากเทคโนโลยี AR ที่แฟนคลับเลือกเปิดเพื่อรับชมฉากในรายการโปรดบนหน้าจอสมาร์ทโฟนบนวิวที่คุ้นตาอย่างในบ้านของตัวเองได้

ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้นสังกัด Snapchat ได้เปิดตัว original show 12 รายการโดยเรียกรวมวิดีโอเอ็กซ์คลูซีฟที่จะมีฉายบน Snapchat เท่านั้นว่า ”Snap Originals”

จุดเด่นของ Snap Originals คือการเปิดให้ผู้ชมหยิบสมาร์ทโฟนของตัวเองขึ้นมารูดหน้าจอ ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าสู่ “show portal” หรือพอร์ทัลที่รวมฉากสำคัญของแต่ละรายการ โดยฉากเหล่านี้จะแสดงบนเทคโนโลยีเสมือนจริงหรือ AR (augmented reality) ทำให้ผู้ชมรายการผี จะได้เห็นผีสุดสยองในห้องน้ำบ้านตัวเองได้บนหน้าจอสมาร์ทโฟน

ก้าวนี้ของ Snapchat ตอกย้ำว่า Snapchat พยายามสร้างประโยชน์บนระบบ augmented reality ซึ่งที่ผ่านมา Snapchat สร้างความนิยมให้เลนส์และฟิลเตอร์ AR ถูกใช้งานกว้างขวาง สำหรับ original show ดาวรุ่งอย่าง Snapchat ลงมือสร้างเลนส์อินเทอร์แอ็กทีฟแบบกำหนดเองได้ รวมถึง “reaction lense” ที่จะเปลี่ยนไปตามปฏิกิริยาหรือ reaction ของผู้ชม ให้ทุกคนได้สัมผัสฉากสำคัญในรายการได้แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

ความพิเศษนี้จะกระตุ้นให้ผู้ใช้ Snapchat แชร์ประสบการณ์กับเพื่อน เบื้องต้นพบว่า รายการของ Snap Originals แต่ละชุดจะมีประมาณ 8-12 ตอน และรายการจะเปิดให้ชมทุกวัน ตามรายงานจากสำนักข่าว Variety

ผู้ผลิตรายการ Snap Originals มีตั้งแต่ Bunim / Murray Productions ผู้สร้าง Keeping Up with the Kardashians, Duplass Brothers ผู้สร้าง Wild Wild Country และ Brad Weston อดีต CEO ของบริษัท New Regency ทั้งหมดสร้างรายการโชว์สไตล์โทรทัศน์แบบสั้นในรูปแบบแนวตั้งเพื่อดูสมาร์ทโฟนได้ง่าย ผู้ใช้ Snapchat สามารถค้นหารายการเหล่านี้ในเมนู Discover ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใช้จะได้ชมเนื้อหาจากสื่อที่ผลิตวิดีโออย่างมืออาชีพ

ความเคลื่อนไหวนี้ของ Snapchat สะท้อนว่า Snapchat มีจุดต่างที่เด่นกว่า IGTV คาดว่า Snap Originals จะมีโฆษณาไม่ขาดสาย แม้ว่า Snapchat จะยังไม่เปิดเผยรายชื่อแบรนด์ที่จะนำร่องโฆษณาก่อนเป็นกลุ่มแรกในขณะนี้ แต่ Reese’s, Target และ Sprint เริ่มส่งโฆษณา mid-roll ads มาแสดงในโชว์แล้วช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา: MM

 
Source: thumbsup

The post Snapchat แจ้งเกิด “original show” 12 เรื่องพร้อม “AR portal” appeared first on thumbsup.

อ่านเกมส์ “ดีแทค” หรือจะกลับมาใช้สูตรเดิม

$
0
0


ทันทีที่ Dtac เปิดตัววิดีโอถ่ายทอดคำพูดของซีอีโอคนใหม่ “อเล็กซานดรา ไรซ์” ชาวเน็ตหลายคนบอกว่า Dtac คนเดิมกำลังกลับมา ในฐานะแบรนด์ดูสนุกที่มอบรอยยิ้มอารมณ์ดีให้คนไทย แต่หากพูดกันตรงไปตรงมา ต้องบอกว่าก้าวนี้ของ Dtac ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะอดีตซีอีโอ Dtac ที่เขยิบไปใหญ่โตที่เทเลนอร์แล้วอย่าง “ซิกเว่ เบรกเก้” เคยใช้วิธีการลักษณะนี้มาก่อน และก็ทำสำเร็จจนสามารถเข้าไปนั่งในใจคนไทยที่ชมโฆษณาได้

สูตรเดิมยังใช้ได้

กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา Dtac โพสต์วิดีโอใหม่จนมียอดรับชมหลายหมื่นครั้งในชื่อ “เราสัญญา ว่าจะไม่หยุด” โดยบรรยายวิดีโอว่า “Dtac เข้าประมูลคลื่น 900 MHz เพื่อเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วไทย และสัญญาว่าจะไม่หยุดพัฒนา เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของลูกค้าทุกท่าน”

วิดีโอความยาว 29 วินาทีนี้ติดแท็คว่า #ดีแทคจะไม่หยุดพัฒนา #dtac ได้รับคลิกแสดงความรู้สึก 628 ครั้ง แสดงความเห็น 475 ครั้ง และแชร์ 259 ครั้งในเวลา 3 วัน

สิ่งที่จับต้องได้ในวิดีโอ คือการพยายามใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อถึงความพยายามเข้าถึงคนไทย ด้วยภาพซีอีโอที่เป็นต่างชาติ Dtac พยายามชี้ว่าแม้จะพูดภาษาไทยไม่คล่อง แต่ผู้บริการเทเลนอร์ก็พยายามที่จะเข้าถึงคนไทยตลอดเวลา

การใช้ภาษาเป็นเครื่องมือนี้เป็นสูตรเดียวกับที่ Dtac ยุครุ่งเรืองเคยทำภายใต้การนำของ “ซิกเว่” ภาพที่สื่อออกมาให้อารมณ์ไม่ผิดเพี้ยน ไม่เชื่อลองดูโฆษณาชุดนี้จากวิดีโอด้านล่าง

ไม่ว่าน้ำพริกถ้วยนี้จะมีอายุเก่าแก่กี่ปี แต่ชัดเจนว่า Dtac มั่นใจในอานุภาพของสูตรนี้ จึงเลือกที่จะกลับมาเดินตามรอยเท้าเดิม บนความหวังว่าจะกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

อเล็กซานดรา ไรช์ เป็นใคร

อเล็กซานดรารับหน้าที่ซีอีโอ Dtac เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561 แทน “ลาร์ส นอร์ลิ่ง” ที่แถลงลาออกจากดีแทคและกลุ่มเทเลนอร์ด้วยเหตุผลเพื่อแสวงหาโอกาสในการทำงานใหม่ อเล็กซานดราเป็นชาวออสเตรียที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ มีพี่น้อง 4 คน เธอแต่งงานแล้วและมีทายาท 2 คน

อเล็กซานดราระบุว่าชื่นชอบกีฬากอล์ฟ และไม่ใช่แค่ชื่นชอบธรรมดาแต่เธอเป็นนักกีฬาทีมชาติของออสเตรียชนิดจริงจัง เธอย้ำว่าการแข่งขันคือการทำให้ดีขึ้นในทุกวัน แนวคิดนี้ทำให้อเล็กซานดรามั่นใจกับ Dtac เพราะมั่นใจว่าอาจจะทำให้เธอสามารถทำได้ดีที่สุดในช่วงที่ยากที่สุดเช่นกัน

ปัจจุบัน Dtac มีลูกค้าราว 20 ล้านราย หล่นลงมาเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับ 3 ของประเทศไทย.

 
Source: thumbsup

The post อ่านเกมส์ “ดีแทค” หรือจะกลับมาใช้สูตรเดิม appeared first on thumbsup.

4 CEO กับ”แนวคิดสร้างสรรค์”ฝ่าฟัน “ความเปลี่ยนแปลง”

$
0
0

เพราะการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้โลกเราเดินไปอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งกระทบกับหลายๆ ธุรกิจที่ตั้งรับไม่ทันจนต้องปิดตัวลง ลองมาฟังกันว่าเหล่า CEO จะใช้ความคิดสร้างสรรค์แบบไหน ที่ทำให้องค์กรของพวกเขายืดหยัดและผ่านกระแสการ Disruption ไปได้

Speaker:

  • คุณภาวิต จิตรกร, Chief Executive Officer, GMM Grammy 
  • คุณสุรชัย พุฒิกุลางกูร, Founder & CEO, Illusion
  • คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์, Chief Executive Officer, Ookbee
  • คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ กรรมการผู้จัดการ สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์)

Moderator:

  • คุณสโรจ เลาหศิริ, Chief Marketing Officer, Rabbit Digital Group

เจอการ Disruption แบบไหนบ้าง และใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านฝ่าฝันไปได้อย่างไร?

คุณณัฐวุฒิ: ตอนแรกเปิดมาทำ e-book 2 ปีแรกยังไปได้ดี  เพราะตอนนั้นคนยังอ่านสื่อออฟไลน์อยู่  ซึ่งสิ่งที่เราทำคือการเอาสื่อออฟไลน์มาขายบน e-book แต่พอวลาผ่านไปคนหันไปอ่านสื่อออนไลน์  จนทำให้ต้องมานั่งคิดว่าทำอย่างไรดี  ก็เลยสร้างระบบเป็นการทำคอนเทนต์แบบ UGC (User Generated Content)  คือการให้ผู้ใช้มาสร้างคอนเทนต์ได้  แทนที่จะเอาคอนเทนต์คนอื่น (e-book) มาขายแบบเดิม  ผลคือมีการเติบโตเยอะกว่าตัว e-book

แล้วท้ายที่สุดมันก็มีเวลามากพอให้ทุกคนที่เปิดใจดูสิ่งต่างๆ ดูว่าจุดไหนที่เรานั้นทำแบบเดิมๆ ไม่ได้  เพราะเมื่อดูจากข้อมูลประชากรศาสตร์แล้วเจอว่ากลุ่มผู้ใช้งานมีอายุ 30 ปีขึ้นไป  มีประสบการณ์เคยอ่านนิตยสารเป็นเล่มมา  ซึ่งคนที่ e-book มองว่าเป็นตัวแทนของเล่มกระดาษ ที่ดีกว่า ถูกกว่า และไม่รกบ้าน แต่ถ้าผ่านไป 5-10ปี เราจะไม่มีคนรุ่นใหม่ใช้งานเลย  เพราะพวกเขาไม่เคยอ่านเล่มกระดาษมาก่อน  ดังนั้นสิ่งที่ทำคือต้องปรับกระบวนการให้ไม่ผ่านเล่มกระดาษ  และต้องไปหาน่านน้ำใหม่

คุณภาวิต: Grammy มองว่า Disruption นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่  เพราะโลกนี้มีการ Disruption อยู่ตลอดเวลา  เช่น เราเคยขายเทปอยู่ดีๆ เครื่องเล่นเทปก็ถูกแทนด้วยซีดี แล้วสักพักก็ถูกแทนด้วย Ringtone จากนั้นก็ไปที่การ Streaming ทำให้มองว่า Device ที่เป็นตัวเล่นนั้นเปลี่ยนไป  แต่ “เพลง” จะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลา

และคิดว่าถ้า Disruption ก็จะมีความเจริญตามมามาทันที  เพราะเป็นจุดที่บีบให้เราต้องคิดในแง่มุมใหม่เสมอ  ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง  เพราะใช้ชุดความคิดแบบเดิมมันใช้ไม่ได้แล้ว เราจีงต้องบีบตัวเองและโฟกัส เอาจริงๆ มันไม่มีสูตรความสำเร็จ  ต้องหันกลับมาดูว่า Branding และวัตถุประสงค์ของเราคืออะไร  เพราะการ Disruption ก็เจอมาเหมือนกันทั้งโลกอย่าง Tencent, Spotify ที่เข้ามาแทรกในธุรกิจเพลง

เราวางตัวเองเป็น“ผู้สร้างคอนเทนต์” มากกว่า “บริษัทเพลง” และบริษัทอื่นก็มีโอกาสที่จะเอาคอนเทนต์เราไปใช้ได้ ผมเชื่อว่าเราอยู่ในโลกที่มี data มหาศาล อยู่ที่ว่าจะใช้มันสร้างโอกาสอย่างไร อย่างธุรกิจเพลงมีโอกาสทางด้าน โชว์, คอนเสิร์ต ซึ่งคนที่จ่าย คือ แฟนคลับ ส่วนคนที่ฟังเฉยๆ คือ แฟนเพลง เเฟนคลับยอมจ่ายเพื่อคนที่รัก  หากคิดเชิง data เราจะเอาแฟนๆ มาเชื่อมกันได้อีก  อย่างเเฟนพี่ตูนอาจเป็นแฟนเป๊ก-ผลิตโชค และเป็นแฟนต่าย-อรทัยด้วย

คุณชลากรณ์: ผมใช้ความคิดน้อยมาก เพราะถ้าคิดเยอะไปก็จะไม่ได้เปลี่ยนสักที  ตอนที่เกิดการ  Disruption  มีคนบอกตลอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่ดูทีวีแล้วนะ เราเพิ่งประมูลทีวีดิจิตอลมาด้วยทำให้เเทบจะไม่มีทางเลือกเลย  ทำให้คิดว่าถ้าก็ลองไปทำ เพราะอย่างมากเราก็แค่เหนื่อย  เรียกว่าถ้ามีอะไรกวนใจก็ลองไปทำเลย แล้วพอผู้ใหญ่ในบริษัททำก่อนก็จะง่าย เพราะคนที่เหลือก็ทำตามหมด แต่มันยังมีความยากอยู่บ้าง

ช่วงนี้เดินสายบ่อยมาก เพราะคนชอบดูคอนเทนต์แต่ชอบจ่ายเงินน้อยๆ  และเราก็เก่งมาเรื่องการหาเงินจากคอนเทนต์ที่ให้ดูฟรี(หัวเราะ) ทำให้ผมพบว่าเวลามีการเปลี่ยนแปลงแล้วทุกอย่างมันจะง่ายขึ้น เพราะทุกคนต่างก็คิดว่าเราทำเองก็ได้  เช่น หลายคนเริ่มเปิดเพจกันเอง เพื่อขายของ ทำคอนเทนต์ และทำให้รู้ว่า  “ตอนเปลี่ยนคิดไม่เยอะ แต่ตอนทำนั้นต้องคิดเยอะๆ” เพื่อให้ทุกอย่างที่ง่ายไปหมดนั้นมันทำอย่างไรแล้วดีกว่าคนอื่น

คุณสุรชัย: สิ่งที่ถาโถมให้ผมเกิดการเปลี่ยนแปลงคือตอนปี 40 ที่มีวิกฤติต้มยำกุ้ง  ตอนนั้นดูทีวีแล้วพบว่าบริษัทโฆษณาที่งานน้อย  นั้นมีการให้พนักงานไปเสิร์ฟอาหาร เรารู้สึกว่ามันเปนการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ดีนะ แต่ในระยะยามไม่น่าจะดี  เพราะใช้เวลากับงานที่สองมากไป แล้วถ้าเศรษฐกิจกลับมาดีก็อาจวิ่งไม่ทันคู่แข่งแล้ว

สมมติตัวเองหาปลาในเเม่น้ำเจ้าพระยา  ถ้าจับปลาไม่ได้ก็ต้องหาว่าสาเหตุคือ ปลาน้อย หรือ แม่น้ำเปลี่ยนทิศ  เราจึงต้องไปดูที่ต้นน้ำว่ามันเกิดอะไรขึ้น  ดังนั้นวิธีของผมง่ายๆ คือการไปดูต้นน้ำสิ่งพิมพ์ที่อยู่ที่ประเทศเยอรมัน เมื่อไปดูงานที่นั่นบอกว่าต่อไปจะมีดิจิตอลเข้ามานะ  และเรื่องการตกเเต่งสี แต่งภาพ ทำให้รู้ว่ามันมีเรื่องที่ใหญ่กว่าคือการถ่ายภาพ  และได้ไปดูงานที่อเมริกาทุกๆ ปี  เพื่อดูว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างไร

จุดเปลี่ยนคือการไปงานของ Adobe ที่ตอนนั้นเขาบอกว่าต่อไปจะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้คนทั่วไปใช้ง่ายที่สุด  เหมือนการบอกว่าใครๆ ก็ใช้มันได้  จึงรู้ทันทีว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง  เหมือนจากเดิมหาปลาในแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ต้องออกทะเลเเล้ว

ผมใช้เวลาปรับตัว 20 ปี หลายคนบอกกว่าบริษัทได้รางวัลคานส์แล้วดังชั่วข้ามคืน แต่มันมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านตลอดเวลา  โดยตัดสิ่งพิมพ์ออกไป แล้วยืนอยู่จุดสร้างสรรค์ภาพนิ่งโฆษณาที่ป็นเรื่องของอนาคตแทน  ด้วยการใช้เทคโนโลยีพร้อมสนใจความงามของงาน เพื่อขับเน้นไอเดียให้ออกมาดีที่สุด และโฟกัสที่รางวัล  เพราะตัวรางวัลมันผลักดันอุตสาหกรรม  และสร้างให้เกิดทิศทางบางอย่างได้

ทำอย่างไรให้ทีมงานลองเปิดใจรับสิ่งใหม่ และดูแลคนอย่างไร

คุณสุรชัย: ความสำเร็จชั่วข้ามคืนมันยากมาก เพราะเวลาต้มน้ำเราจะเห็นตอนเดือด  แต่เราไม่เห็นตอนค่อยๆ ร้อน  สิ่งที่ผมทำคือลงมือทำก่อน ผมจะทดลองสิ่งนั้นเเละหาทีมเล็กๆ เริ่มทำแบบกองโจรในออฟฟิศ พอทำได้ระดับหนึ่งก็มาแบบเต็มระบบ เพราะบางครั้งมันต้องลากกันไป แต่ต้องมีหัวและทีมที่ลากกันไปต้องใหญ่พอ เลยเอารางวัลมาทดลอง  โดยพอมีโจทย์ประกวดอะไรเอามาทำ  จนคนอื่นทีมเห็นแล้วว่ามันคืออนาคตและปรับตัวตาม

คุณภาวิต: ผมไม่เคยทำธุรกิจเพลงมาเลย เลยไม่ได้ลุกขึ้นมาบอกได้ว่าเปลี่ยนอันนั้นสิ สิ่งที่เรียนรู้คือคนเราทุกคนมีต้นทุนไม่เท่ากัน สิ่งที่คิดเป็นสิ่งแรกคือเราไม่ได้พยายามให้คนเชื่อเรา เพราะการเป็นผู้นำคือสิ่งที่เราต้องให้ออกไปก่อน  ไม่ใช่เป็นแล้วคนจะเคารพกันทันที สิ่งแรกในการเปลี่ยนแปลงสำคัญสุดคือ “โครงสร้างองค์กร” แต่เรามักมองไปที่ผลลัพธ์ทันที  แต่คำถามคือองค์กรนั้นมมีโครงสร้างในการเปลี่บนผ่านที่แข็งแรงแค่ไหน

ผมต้องการคนแค่ 1% ที่เชื่อแบบเดียวกับผม เพื่อให้คน 1% มาทำให้คนอีก 99% รู้ว่ามีโอกาสที่จะก้าว  แต่ปัญหาการเปลี่บนคือมีทั้งคนเชื่อ และคนไม่เชื่อ  โดยเรามักจะเชื่อในสิ่งที่เราทำ  ทำให้ทุกคนมีความเชื่ออยู่แล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่สร้างมันดี  แต่จุดศูนย์รวมที่ทำให้เดินร่วมกันได้คือพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบัน หลังจากนั้นก็วางโครงสร้างเพื่อให้คนที่จะเดินไปในอนาคตมีโอกาสจะเดินไปได้ เพื่อสร้างองค์ประกอบเหล่านั้นให้คนทำงานมีคงามคิดสร้างสรรค์ที่สุด

คุณณัฐวุฒิ: ด้วยความที่เป็น Startup และออนไลน์ ผมเลยดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งถ้าพูดเรื่องคนบริษัทผมจะเเข็งแรงมาก เพราะเกิดได้จากโปรแกรมเมอร์  ถ้ามีคนมาซื้อโปรแกรมเมอร์สัก 10 คนไป  บริษัทก็คงเจ๊ง  ดังนั้นคนจึงเป็นทั้งปัญหาและสินทรัพย์  และคนสมัยนี้อาจต้องเติมเต็มเรื่องอื่นในสิ่งที่เขาอยากจะทำด้วย  ช่วงหลังๆ เวลาจัดทีมผมมักจะเอาคนแตกต่างกันไปอยู่ทีมเดียวกัน เพราะเมื่อเราเอาคนคาร์แรคเตอร์ต่างกันมารวมกันมันจะอึดอัด แต่มันจะเกิดการพัฒนา เพราะแต่ละคนจะขยับออกจาก Comfort Zone หน่อยๆ  เป็นการเอาเทคโนโลยีและศิลปะมารวมกัน

คุณชลากรณ์: ถ้าเป็นบริษัทที่อายุ 15 ปีขึ้นไปอาจจะไม่สนุกกับของเล่นใหม่ และมีช่องว่างระหว่างอายุของผู้ใหญ่ที่ทำงานมานาน  กับเด็กรุ่นใหม่เก่งๆ ผมเลยใช้หลายๆ วิธี เช่น ยกเคสตัวอย่างเทคโนโลยีใหม่ๆ มาขู่ๆ ว่าอีกหน่อยถ้าไม่ขยับตัวอาจจะตกงานนะ  ทำให้เขาก็ไปเรียนรู้เพิ่มเติมมา  และสิ่งที่ผมมองคือต้องยอมรับว่าโลกวันนี้เด็กนำแต่ผู้ใหญ่ตาม  เด็กๆ จะใช้เครื่องมือเก่ง ซึ่งเราต้องให้พิ้นที่ให้เขาได้เล่น กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน  และมีการให้รางวัล

สุดท้ายแล้วคุณภาวิตเสริมต่อว่า ผมเชื่อว่าคนเราเกิดมาเพื่อจากกัน ไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอด” แต่ทำยังไงให้บริษัทนั้นเดินต่อไปได้ด้วยระบบนั่นคือสิ่งสำคัญ  ส่วนตัวเราคิดว่า Disruption นั้นเป็นเรื่องปกติเช่นกัน  เพียงแต่ต้องตั้งสติคิดให้ดี  ไม่ตีโพยตีพายให้กับความเปลี่ยนแปลง  แล้วเชื่อว่าจะต้องพบทางออกอยู่ที่ปลายอุโมงค์เหมือนที่เหล่า CEO ด้านบนที่พาองค์กรของพวกเขาผ่านการเปลี่ยนแปลงด้วยความคิดสร้างสรรค์ไปได้แน่ๆ

 
Source: thumbsup

The post 4 CEO กับ”แนวคิดสร้างสรรค์” ฝ่าฟัน “ความเปลี่ยนแปลง” appeared first on thumbsup.

เงินน้อยใช้สอยประหยัด SCB easy อัด 22 โฆษณาจับกลุ่มออนไลน์โดยเฉพาะ

$
0
0

ท่ามกลางการประกาศเปลี่ยนแอปใหม่หรือพัฒนาแอปขึ้นมาใหม่ SCB ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ประกาศปรับฟีเจอร์ในแอปให้ตรงจุดมากขึ้น หลังฟังเสียงลูกค้าและดูพฤติกรรมการใช้งานลูกค้ามาครบปีก็ได้ฤกษ์ Lean แอปใหม่ และเผยเหตุผลในการทุ่มงบหลักสิบล้านในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องของการพัฒนาแอป แต่เป็นการทุ่มงบไปกับกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่จะบอกให้ลูกค้าทราบว่ามีฟีเจอร์อะไรให้ใช้งานบ้าง ผ่าน 22 ชิ้นงานโฆษณา

งานนี้ยังคงเป็น 2 ธนา อย่าง ธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสาย Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ออกมาคล้องแขนกันออกมาประกาศความมั่นใจว่า SCB easy โฉมใหม่ครั้งนี้ยังคง #เป็นทุกอย่างเพื่อคุณ เช่นเดิม เพิ่มเติมคือเปลี่ยนแฮชแท็กใหม่ คือ #เป็นทุกโมเมนต์เพื่อคุณ รวมทั้งดึงพี่ตูน สุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกมาเผยกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งแบบหมดเปลือก

ธนา โพธิกำจร – ธนา เธียรอัจฉริยะ – สุธีรพันธุ์ สักรวัตร

แนวคิด 20 งานโฆษณา

เพื่อมอบบริการทางการเงินให้ตรงกับทุกช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง หลังเรียนรู้ข้อมูล Transactional Lifestyle ที่จับอินไซต์ในทุกไมโครโมเมนต์ (Micro Moment) ของลูกค้า จึงปล่อยหมัดเด็ดในการทำตลาดรูปแบบใหม่ผ่านกลยุทธ์ที่เรียกว่าเป็น “Targeted Marketing” พร้อมการเปิดตัวหนังโฆษณาแนวตั้งที่ออกแบบมาเพื่อดิจิทัลมีเดียแพลตฟอร์มโดยเฉพาะพร้อมกัน 20 เรื่อง นับเป็นครั้งแรกของเอเชีย ในการถ่ายทอด 20 โมเมนต์และประสบการณ์ดิจิทัลจากการใช้งาน 20 ฟีเจอร์ของ SCB EASY

นอกจากนี้ ยังเป็นการโชว์ 20 ฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยดันยอดการทำธุรกรรมแบบไม่ใช่เงินสด (Non-cash transaction) ขึ้นสู่ 99% บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อปูรากฐานสู่ “สินเชื่อดิจิทัล” (Digital Lending) ที่ครอบคลุมความต้องการในทุกรูปแบบและให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ทุกที่ทุกเวลาในปี 2562

พร้อมทั้งประกาศความมั่นใจว่า สิ้นปี 2561 จะมีฐานผู้ใช้งาน SCB EASY แตะ 10 ล้านราย และมียอดสมัครสินเชื่อดิจิทัลผ่านแอปกว่า 8 แสนราย พร้อมตั้งเป้ายอดผู้ใช้งาน SCB EASY สู่ 12.5 ล้านราย ภายในสิ้นปี 2562

   

โดย นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และเร็วขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 1 ปีกว่าที่ผ่านมา SCB EASY ได้มีการทำ Digital Transformation โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ

  1. ดิจิทัล โปรดักส์ (Digital Product) คือการปรับโฉม ยกแพลตฟอร์มใหม่ครั้งใหญ่ ให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เสถียรขึ้น และในครั้งนั้นเราได้สร้างเทรนด์กดเงินไม่ใช้บัตร จนกลายเป็นฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากลูกค้า
  2. ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) ไทยพาณิชย์ได้ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียม ในการทำธุรกรรมผ่านช่องทาง SCB EASYเป็นการทำการตลาดเพื่อดึงให้ลูกค้ามาใช้งานโมบายแบงก์กิ้งให้มากที่สุดซึ่งได้กลายเป็นปรากฏการณ์ในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรม  และกำลังเข้าสู่
  3. ดิจิทัล ฟูลฟิลเมนต์ (Digital Fulfillment) การเติมเต็มความต้องการของลูกค้ายุคดิจิทัล ซึ่งจะเป็นก้าวต่อไปของธนาคารที่ไม่ใช่เพียงแค่การนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ สู่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ธนาคารจะต้องรู้ใจ และเข้าใจความต้องการด้านธุรกรรมการเงินในแต่ละช่วงเวลาของพวกเขาได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย”

ตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้ SCBeasy

นายธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสาย Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารได้ยกเครื่องโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน SCB EASY เมื่อปีที่ผ่านมา และต่อมาได้ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียม  “โอน-จ่าย-เติม-กด” ในช่วงต้นปีนี้ อีกทั้งมีการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน SCB EASY มียอดผู้ใช้งานกว่า 8 ล้านราย เป็นลูกค้าใหม่ตั้งแต่ยกเครื่องปีที่แล้วกว่า 4.3 ล้านราย มีลูกค้าเข้าใช้ SCB EASY กว่า 2,000 ล้านครั้ง ทำธุรกรรมโอนเติมจ่ายไปกว่า 590 ล้านครั้ง กดเงินไม่ใช้บัตรกว่า 38 ล้านครั้ง จองบัตรชมภาพยนตร์กว่า 300,000 ใบ รวมถึงขอสินเชื่อกว่า 486,000 ครั้ง

ฉายคอนเทนต์เฉพาะโซเชียลมีเดีย

นายสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า เพื่อเป็นการรองรับแนวคิด “โมเมนต์ แบงกิ้ง” ธนาคารนำเสนอ 20 โมเมนต์การใช้งาน 20 ฟีเจอร์ ผ่านภาพยนต์โฆษณาแนวตั้งจำนวน 20 เรื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับกลุ่มผู้ใช้งาน SCB EASY นับเป็นครั้งแรกของวงการธนาคารในประเทศไทยที่มีการผลิตภาพยนต์โฆษณาในรูปแบบดังกล่าว

กลยุทธ์การทำการตลาดแบบ “Targeted Marketing” จะทำงานผ่านเครื่องมือสำคัญ “3 R” ได้แก่

  • Reach เลือกสื่อสารกับลูกค้าแบบรายบุคคลที่ตรงกลุ่มโดยใช้ข้อมูลจาก Big Data ของธนาคาร มาประมวลผลกับข้อมูลพฤติกรรมและความสนใจจากมีเดียแพลตฟอร์ม เพื่อหากลุ่มลูกค้าที่ใช่
  • Relevance นำข้อมูลที่เจาะลึกลงไป เช่น สถานที่ วันเวลาของเดือน ความต้องการใช้เงินของลูกค้า เพื่อประมวลผลความต้องการของลูกค้าแต่ละรายในแต่ละช่วงเวลาว่าลูกค้ากำลังต้องการใช้บริการฟีเจอร์ใด หลังจากนั้นเราจะยิงโฆษณาฟีเจอร์ดังกล่าวไปยังช่องทางเฟสบุ๊ค ยูทูป และอินสตาแกรมของลูกค้าเพื่อให้เกิดการรับรู้
  • เพื่อให้ได้ Result ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

WHY VERTICAL?

ส่วนเหตุผลว่าทำไมหนังโฆษณาทั้งหมดเป็นแนวตั้ง นั่นก็เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมรับชมเนื้อหาทางโทรศัพท์ในแนวตั้งถึง 70% ของเวลาการรับชม รวมทั้งเป็นการทดลองยิงโฆษณาแนวตั้งในช่องทาง Youtube หลังจากเปิดให้บริการรองรับโฆษณาแนวตั้งเมื่อไม่นานมานี้ และมั่นใจว่าเป็นรายแรกที่ยิงโฆษณารูปแบบนี้

นอกจากนี้ ยังได้ใช้เทคโนโลยีการวัดผลล่าสุดของเฟซบุ๊ค คือ Facebook Codeless SDK เพื่อช่วยในการประเมินผล และ Track พฤติกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตลาด รวมไปถึงการเน้น ad inventory ที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือในแนวตั้ง เพื่อการเข้าถึงที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น YouTube Vertical Video Ads ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน และ Instagram Stories ที่นับวันยิ่งมีคนไทยใช้งานมากขึ้น

การนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้แบบเต็มรูปแบบทั้งเจาะกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาให้เห็นเฉพาะ Target ที่ต้องการ ทุ่มงบทำโฆษณาสั้น 15 วินาทีทั้ง 22 เรื่องและวัดผลผ่านเครื่องมือดิจิทัลนั้น ถือว่าเป็นความกล้าเสี่ยงและท้าทายสำหรับองค์กรใหญ่ แต่ถือว่าเป็นแนวคิดการ Disrupt วงการโฆษณาอย่างน่าสนใจทีเดียว

สำหรับคนที่จะเห็นโฆษณาของ SCB ครบ 22 ชิ้นนั้น อาจจะเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกคนคงไม่ได้มีพฤติกรรมตรงกับ 22 เรื่องที่ปล่อยให้ได้เห็นในบางช่วงเวลาและเฉพาะกลุ่มคนเท่านั้น ซึ่งใครอยากเห็นโฆษณาทั้งหมดก็ต้องเข้าไปดูในแชนแนลของ SCB Thailand บน Youtube เพราะทาง Thumbsup ดึงมาให้ชมเพียงเรื่องเดียว ที่ตรงกับชีวิตกระเป๋าสตางค์ของผู้เขียนในเวลานี้ที่สุดค่ะ T__T

สิ่งที่อยากฝากทีม SCB คือ เร่งลงทุนงานผ่านโซเชียลมีเดียแล้ว ต้องอดใจรอเวลาในการวัดผลสัก 1-3 เดือนเป็นอย่างน้อยนะคะ เพื่อผลสรุปที่น่าสนใจมากขึ้น เพราะมีหลายแบรนด์ลงทุนช่องทางออนไลน์กันแล้ว อยากรู้ผลเร็วๆ ว่าตรงกลุ่ม Target แค่ไหน ทำให้การวัดผลที่เร็วเกินไปไม่ได้ข้อสรุปที่ดีนักค่ะ

 
Source: thumbsup

The post เงินน้อยใช้สอยประหยัด SCB easy อัด 22 โฆษณาจับกลุ่มออนไลน์โดยเฉพาะ appeared first on thumbsup.

รวมรางวัล “AD THAT WORKS” (EFFECTIVE COMMUNICATION) จากเวที Adman Awards & Symposium 2018

$
0
0

ในงาน Adman Awards & Symposium 2018 เวทีประกาศรางวัลของเหล่าคนโฆษณาที่ผ่านมา  ซึ่งจัดภายใต้แนวคิด “Creativity For Sharing” โดยหนึ่งรางวัลที่น่าสนใจนั่นคือรางวัล  “AD THAT WORKS” หรือรางวัลแคมเปญโฆษณาที่เกิดผลกระทบจริงต่อธุรกิจ  และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ของ “การโฆษณา”  ลองมาดูกันว่ารางวัลในหมวดนี้จะตกเป็นของผลงานโฆษณาชิ้นไหนบ้าง

SCB Easy Pay แม่มณี Money Solution

Brand / Service: Siam Commercial Bank
Company Entering: Rabbit’s Tale Co., Ltd.
AWARD: SILVER
Clip: SCB Easy Pay แม่มณี Money Solution

Girl from Nowhere

Brand / Service: GMM Grammy
Company Entering:The Sour Bangkok Co., Ltd.
AWARD: SILVER
Clip: Girl from Nowhere

Bennetty

Brand / Service: Health Promotion for Vulnerable Populations Section
Company Entering: Choojai and Friends
AWARD: BRONZE
Clip: Bennetty

Free-nomenon

Brand / Service: SCB Easy
Company Entering: J. WALTER THOMPSON
AWARD: BANGKOK BRONZE
Clip: Free-nomenon

The Taste of Friendship

Brand / Service: MAMA OK
Company Entering: Far East Fame Line DDB Plc.
AWARD: FINALIST
Clip: The Taste of Friendship

Understanding Parkinson’s

Brand / Service: Parkinson Chula
Company Entering: OMD Thailand
AWARD: FINALIST
Clip: Understanding Parkinson’s

#SeeBeautyNotGender

Brand / Service: Pantene
Company Entering: GREYNJ UNITED
AWARD: FINALIST
Clip: #SeeBeautyNotGender

My Beloved Monster

Brand / Service: Babi Mild
Company Entering: Osotspa Public Company Limited
AWARD: FINALIST
Clip: My Beloved Monster

Pay by Play

Brand / Service: Bang Lamung Home for Boys
Company Entering: The Leo Burnett Group Thailand
AWARD: FINALIST
Clip: Pay by Play

เรียกได้ว่าเป็นแคมเปญที่น่าสนใจ  เพราะการทำโฆษณาให้เกิดผลจริงนั้นต้องใช้ความคิดอย่างรอบด้าน  และเมื่อได้ผลตอบรับดีๆ ก็ถือว่าโฆษณาตัวนั้นประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่ง

 
Source: thumbsup

The post รวมรางวัล “AD THAT WORKS” (EFFECTIVE COMMUNICATION) จากเวที Adman Awards & Symposium 2018 appeared first on thumbsup.

Infographic: “ภาพ”สำคัญไฉนในโลกของคอนเทนต์

$
0
0


เพียงแค่ใส่ภาพลงไป ผู้ชมก็จะจดจำเนื้อหาในโพสต์ออนไลน์นั้นได้ดีขึ้นมากกว่าครึ่ง แถมบทความที่มีภาพยังทำให้ชาวออนไลน์สนใจเปิดอ่านหรือชมเกือบเท่าตัว ทั้งหมดนี้ตอกย้ำว่าภาพ และองค์ประกอบอื่นที่เข้าข่าย “visual” ซึ่งจะทำให้ผู้ชมนึกภาพได้ชัดเจนขึ้น ล้วนมีความสำคัญมากจริงๆบนโลกดิจิทัล

 

ความสำคัญของภาพในโลกคอนเทนต์ดิจิทัลถูกสะท้อนผ่าน Infographic นี้ของบริษัท MDG Advertising ซึ่งรวมข้อมูลสำคัญที่ทำให้ผู้สร้างเนื้อหาทุกคนต้องยอมรับความจริงว่าจะไม่ควรมองข้ามการใช้ภาพในโพสต์ดิจิทัลเด็ดขาด

หนึ่งในข้อมูลน่าสนใจจาก MDG Advertising คือการเพิ่มภาพที่เหมาะสมหลายภาพลงไปในบทความ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการอ่านและการมีส่วนร่วมกับเนื้อหา เนื่องจากการใช้ภาพสามารถเพิ่มการจดจำบทความได้ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติ กลุ่มตัวอย่างทั่วไปจดจำเนื้อหาได้เพียง 10% ของข้อมูลในช่วง 3 วันหลังจากที่ได้รับรู้มา

โอกาสสำคัญในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมด้วยภาพ ยังเห็นได้ชัดจากผลการศึกษาที่ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว บทความที่มีภาพจริงจะถูกเปิดอ่านมากกว่า 94 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับบทความที่ไม่มีภาพ ที่สำคัญ เมื่อรูปภาพถูกรวมไว้ในโพสต์ Facebook จะได้รับการมีส่วนร่วมมากขึ้น 352 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับโพสต์ที่แนบลิงก์เพียงอย่างเดียว

ในเชิงของพีอาร์หรือนักประชาสัมพันธ์ การสำรวจพบว่าผู้สื่อข่าวยกให้ภาพเป็นข้อมูลมัลติมีเดียที่ถูกใช้งานมากที่สุด เมื่อเทียบกับข้อมูลอื่นในจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ โดยผู้สื่อข่าวหลายคนยอมรับว่า การจัดหารูปภาพที่ดี ถือเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่จะได้รับจากพีอาร์มืออาชีพ

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

The post Infographic: “ภาพ” สำคัญไฉนในโลกของคอนเทนต์ appeared first on thumbsup.

Infographic: เปิดแนวทางวางงบทางการตลาดในปี 2019

$
0
0


ในช่วงเวลาที่การตลาดดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายคนยอมรับว่าการจัดสรรงบประมาณการตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะต้องเกาะเทรนด์ใหม่ให้ทัน แต่ก็ต้องไม่ลืมเทรนด์ดั้งเดิมที่ยังมีฐานกลุ่มเป้าหมายอยู่คับคั่ง

เพื่อให้เห็นภาพแนวโน้มการลงทุนการตลาดในปี 2019 บริษัท NCC Home Learning จึงรวบรวมข้อมูลว่านักการตลาดส่วนใหญ่ใช้จ่ายเท่าใด เพื่อทำการตลาดดิจิทัลในปี 2014-2017 ปรากฏว่าแนวโน้มที่ชัดเจนคืองบการโฆษณาออนไลน์มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณด้านการตลาดดั้งเดิม

แนวโน้มนี้ตอกย้ำว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดกำลังประเมินการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายกันใหม่ โดย Infographic นี้สรุปว่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือ 48 เปอร์เซ็นต์ ของนักการตลาดวางแผนที่จะเพิ่มงบและบุกหนักบน YouTube ในปีหน้า

การสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ (53 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าจะใช้งบดิจิทัลส่วนใหญ่กับการสร้างเนื้อหาบนบล็อก โดยบอกว่าการสร้างเนื้อหาบล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ขณะเดียวกัน เกือบทั้งหมด (92 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่า social media เป็นสิ่งสำคัญต่อแผนการตลาดในปีหน้า

หลายคนไม่ลืม SEO โดย infographic ระบุว่าการปรับความสามารถของ SEO และการยกระดับให้กลุ่มตัวอย่างเข้าถึงเว็บไซต์บริษัท คือภารกิจสำคัญอันดับต้นเช่นกัน ทั้งหมดนี้ถือเป็นอีกข้อมูลเพื่อการนำไปพิจารณาว่าต้องลงทุนในตลาดใดจึงจะมีค่าคุ้มทุนที่สุด

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

The post Infographic: เปิดแนวทางวางงบทางการตลาดในปี 2019 appeared first on thumbsup.


เปิดความจริง “วิดีโอแนวตั้ง”ดีจริงไหม?

$
0
0

ใครที่ยังสงสัยว่าวิดีโอแนวตั้งหรือ Vertical Video จะเป็นอนาคตของวงการการตลาดจริงหรือไม่ ขอเชิญไปชม Infographic นี้ที่อาจจะตอบได้ว่า เราควรทำให้วิดีโอของตัวเองเป็นแบบแนวตั้ง หรือควรจะยืดมั่นแต่วิดีโอแนวนอนต่อไป

การเกิดขึ้นของวิดีโอแนวตั้ง ถือเป็นผลจากอิทธิพลของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน ซึ่งเปลี่ยนลักษณะของเนื้อหาวิดีโอที่ทุกคนรับชม โดยตามข้อมูลล่าสุด พบว่า 57 เปอร์เซ็นต์ของการชมวิดีโอทั่วโลก นั้นเป็นการเปิดชมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

สถิตินี้ย้ำอีกทางว่าวิดีโอย่อมทำงานได้ดีกว่า ถ้ามีการถ่ายภาพด้วยอัตราส่วนภาพเป็นแนวตั้ง แตกต่างจากหน้าจอทีวีและจอภาพคอมพิวเตอร์ ที่ตั้งค่าอัตราส่วนที่ดีที่สุดไว้ที่ 16:9 (แนวนอน)

ข้อมูลจาก Breadnbeyond ระบุว่าวันนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนถือโทรศัพท์ในแนวตั้งราว 94% ของเวลาใช้งานทั้งหมด นอกจากนี้ วิดีโอในแนวตั้ง มีอัตราการชมจบหรือเสร็จสิ้นสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

ที่สำคัญ ผู้ใช้น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์จะหันโทรศัพท์ไปทางด้านข้างหรือแนวนอนเพื่อดูโฆษณา แสดงว่าส่วนใหญ่รอให้โฆษณาเล่นไปแบบแนวนอน (ขนาดเล็ก) จนจบก่อนจะเอียงเครื่องเพื่อชมวิดีโอแนวนอนที่ต้องการชมจริงๆ

Infographic นี้ย้ำว่าการสร้างวิดีโอแนวตั้งเป็นวิธีที่ดีสำหรับองค์กรที่ต้องการเผยแพร่วิดีโอบน YouTube, Instagram, Snapchat รวมถึง Facebok โดยเฉพาะ Instagram ที่ข้อมูลระบุว่าวิดีโอส่วนใหญ่ที่ influencer ผู้มีอิทธิพลโพสต์บนโซเชียลนั้นปักหลักอยู่บน Instagram มากกว่า Snapchat

ที่มา: : PRDaily

 
Source: thumbsup

The post เปิดความจริง “วิดีโอแนวตั้ง” ดีจริงไหม? appeared first on thumbsup.

แบรนด์ฟ้อง influencer !!! จับตา Influencer marketing ถึงจุดเปลี่ยน

$
0
0

กลายเป็นข่าวใหญ่เมื่อบริษัทประชาสัมพันธ์ในเครือ Snapchat ตัดสินใจฟ้องเน็ตไอดอลผู้มีอิทธิพลหรือ influencer ชาวอเมริกันฐานผิดสัญญาจ้างงานโปรโมทแว่น Spectacles ซึ่งเป็นแว่นกันแดดติดกล้องที่จะช่วยให้ผู้สวมสามารถอัปโหลดวิดีโอขึ้นโซเชียลได้เร็วขึ้น การฟ้องครั้งนี้ถูกมองว่ามีนัยมากมาย และหาก Snapchat ชนะคดีนี้ โลกของ Influencer marketing จะเปลี่ยนแปลงแน่นอน

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของ Influencer marketing ที่จะเกิดขึ้นคือความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและตัว influencer ที่ทุกฝ่ายต้องระแวดระวังตัวกันมากขึ้น จุดนี้อาจจะสะท้อนถึงรูปแบบขั้นตอนการว่าจ้างและจ่ายเงิน influencer ซึ่งจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ที่ผ่านมา หลายบริษัทจ่ายเงินจำนวนมากสำหรับการดึงคนดังมาร่วมประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ เช่นเดียวกับบริษัทในเครือ Snapchat รายนี้ ซึ่งรายงานระบุว่า Snapchat ได้ดำเนินการผ่านบริษัทลูกชื่อ PR Consulting ว่าจ้างนักแสดงดาวรุ่งอเมริกันวัย 20 ปี Luka Sabbat เพื่อโปรโมตแว่น Spectacles ขณะร่วมงานปาร์ตี้และงานแสดงแฟชั่นโชว์ ซึ่งหลังจากลงนามข้อตกลงร่วมกันในวันที่ 15 กันยายน หนุ่ม Luka Sabbat ทำตามสัญญาไม่ครบ แม้ว่าข้อตกลงในสัญญาจะเป็นเรื่องง่ายในการปฏิบัติ เช่น การโพสต์ Instagram stories จำนวน 3 ชุดและโพสต์ฟีดภาพเขาสวมใส่แว่นตาเพื่อให้ผู้ติดตาม 1.4 ล้านคนของเขาได้ชม

Luka Sabbat – นักแสดงที่ถูก Snapchat ฟ้องร้อง

Billboard

จากมูลค่าสัญญาทั้งหมด 60,000 เหรียญ Snap สั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วเป็นเงิน 45,000 เหรียญ แต่ก็ไม่ได้โพสต์ตามที่สัญญา

ข่าวนี้ทำให้จริยธรรมของ influencer ถูกจับตามอง โดยเฉพาะในมุมที่ว่า influencer เป็นคำคลุมเครือซึ่งโดยทั่วไปมักเหมารวมถึงทุกคนที่มีตัวตนบนโลกออนไลน์และพร้อมที่จะรับเงินเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ หรือเพียงแค่นำเสนอให้ทุกคนได้เห็นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จริยธรรมนี้กำลังจะถูกนำมาชั่งตวงวัด เพื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของ Influencer marketing เพราะแบรนด์ยังคงมองว่า คนดังเหล่านี้สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับแฟนของทุกคนได้โดยตรง และมักมีประสิทธิภาพมากกว่าแคมเปญโฆษณาแบบเดิม

ในสำนวนฟ้อง TechCrunch ระบุว่า Sabbat ถูกกล่าวหาว่าทำให้ PRC ได้รับความเสียหาย โดยสิ่งที่น่าสนใจ คือ Snap ไม่ปกปิดตัวเอง ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจฟ้องร้อง Sabbat ทั้งหมดนี้ตรงข้ามกับแบรนด์ที่มักพยายามหลีกเลี่ยง ไม่แสดงตัวว่าแบรนด์ได้ว่าจ้างผู้มีอิทธิพลด้านการตลาด ซึ่งแปลว่า Snap ต้องการขอให้ศาลช่วยจัดระเบียบวงการ influencer เสียที

กรณีนี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนวิธีการหลายข้อเสนอที่มีอิทธิพลมีโครงสร้างด้วยการชำระเงินจะถูกส่งมอบหลังจากการให้บริการแทนล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก  และกรณีนี้เองที่อาจทำให้กระบวนการทำสัญญาการตลาดของผู้มีอิทธิพลกับเงื่อนไขการจ่ายเงินตามสัดส่วน จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล เรื่องราวของ Snap จะเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาสำคัญที่ทำให้ influencer และแบรนด์ตื่นตัว เพื่อติดตามให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามรายละเอียดของสัญญาอย่างใกล้ชิด เป็นไปได้ว่านับจากนี้ influencer จะได้รับเงินทั้งหมดหลังการโพสต์เสร็จสิ้นอีกด้วย

แม้ว่านี่คือหนึ่งในคดีความชุดแรกที่แบรนด์ยื่นฟ้อง influencer ไม่แน่ คดีนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้น เปิดทางให้อีกหลายคดีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการ Influencer marketing ต่อเนื่องในอนาคต

 
Source: thumbsup

The post แบรนด์ฟ้อง influencer !!! จับตา Influencer marketing ถึงจุดเปลี่ยน appeared first on thumbsup.

7-Eleven แปลงโฉมข้าวกล่องเป็นเมนูหรู เกมนี้ย้ำวิดีโอบน Facebook ฮอตกว่า YouTube

$
0
0

หลังจากที่ชาว Facebook แห่แชร์วิดีโอสไตล์รายการญี่ปุ่นของ 7-Eleven ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏว่าเมื่อ 7-Eleven นำวิดีโอร้อนแรงนี้ขึ้นมาเผยแพร่บน YouTube ยอดการชมกลับไม่กระเตื้อง เช่นเดียวกับหลายวิดีโอที่แจ้งเกิดบน Facebook ได้ดีกว่า YouTube

วิดีโอชื่อ “เชฟกระทะเหล็กชวนชิม” ซึ่ง 7ElevenThailand โพสต์เมื่อ 31 ตุลาคม 2018 นั้นมียอดการชมเพียง 721 ครั้งเท่านั้นในช่วงเวลา 4 วันบน YouTube เทียบไม่ได้เลยกับวิดีโอเดียวกันที่ถูกโพสต์บน Facebook แต่มียอดชม 7.5 ล้านครั้งในช่วง 2 สัปดาห์ เฉลี่ยวันละ 536,000 ครั้ง

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้คือแบรนด์ใหญ่อย่าง 7-Eleven Thailand เลือกเปิดตัววิดีโอนี้บน Facebook ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่บน YouTube ซึ่งเป็นสไตล์เดียวกันกับหลายวิดีโอที่ 7-Eleven เผยแพร่เพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเอง จุดนี้จะเห็นได้ชัดจากช่องของ 7-Eleven บน YouTube ที่มียอดชมหลักพันหรือหมื่นครั้งเท่านั้นแม้ว่าจะโพสต์มานานหลายเดือน และหลายวิดีโอต้องใช้เวลานานปีกว่าจะทำยอดชมหลักล้าน

สำหรับวิดีโอที่ร้อนแรงที่สุดของ 7-Eleven บน Facebook คือวิดีโอที่แอดมินเพจระบุว่าเมนูข้าวกล่องที่เลือกมาทดลองแปลงโฉมเป็นเมนูหรู ล้วนเป็นเมนูที่ “IRON CHEF” ยกมือการันตีท้าให้ลอง แน่นอนว่าวิดีโอนี้ได้ผล เห็นได้ชัดว่าออกฤทธิ์ให้ผู้ชมหลายคนเข้ามาชื่นชมเมนูใน 7-Eleven ทั่วไทย

การสร้างสรรค์วิดีโอนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะที่ผ่านมา 7-Eleven Thailand ใช้เพจเป็นพื้นที่ถ่ายภาพสินค้าใหม่น่าลอง แม้โพสต์เหล่านี้จะเรียกยอดแชร์และการมีส่วนร่วมได้ แต่หลายความเห็นระบุว่าไม่สามารถหาซื้อสินค้าที่ถูกโปรโมทบนโพสต์ได้ หลายกรณีเกิดขึ้นเพราะสินค้าหมด หรือมีจำหน่ายเฉพาะบางร้านเท่านั้น ทำให้ความเห็นที่ถูกแสดงด้านบนของหลายโพสต์ไม่ได้ทำหน้าที่ “รีวิวคุณภาพ” ให้ 7-Eleven Thailand เท่าที่ควร

นอกจากนี้ เพจของ 7-Eleven Thailand ยังถูกใช้เป็นช่องทางร้องเรียนบริการ เห็นได้ชัดจากหลายความเห็นที่แอดมินต้องคอยขออภัย ซึ่งแม้ในโพสต์วิดีโอร้อนแรงนี้จะมีข้อความร้องเรียนเรื่องสินค้ากลุ่มอาหารอยู่บ้าง แต่ก็ต้องถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับคำชม ซึ่งถือเป็นรีวิวคุณภาพที่ปรากฏข้างวิดีโอได้ชนิดที่หลายแบรนด์ยังอิจฉา.

 
Source: thumbsup

The post 7-Eleven แปลงโฉมข้าวกล่องเป็นเมนูหรู เกมนี้ย้ำวิดีโอบน Facebook ฮอตกว่า YouTube appeared first on thumbsup.

ไม่ปังเหมือนเดิม! ผลสำรวจชี้ “โฆษณา 6 วินาที” ยอดชมสูงแต่คนไม่อิน

$
0
0

“โฆษณา 6 วินาที” หรือ 6-second ads เป็นรูปแบบที่การศึกษามากมายชี้ว่ามีอัตราการชมจบสูงที่สุดโดยเฉพาะบนอุปกรณ์พกพา แต่การสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าโฆษณากลุ่มนี้ทิ้งอารมณ์ให้ผู้ชมได้น้อย เรียกว่ายอดชมสูงแต่คนไม่ค่อยอิน

ทำไมไม่ได้ผล

วันนี้ 6-second ads เป็นโฆษณาแบบสั้นที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งไม่เพียงในเว็บไซต์หรือบริการวิดีโอ แม้แต่รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศผ่านระบบบรอดคาสต์ก็ยังเลือกโฆษณาประเภทนี้เพื่อเอาใจผู้ชมผ่านอุปกรณ์มือถือ อย่างไรก็ตาม การศึกษาของแพลตฟอร์มสื่อ Teads พบว่าโฆษณาสั้นมีผลกระตุ้นอารมณ์เพียงเล็กน้อย ต่างจากโฆษณายาวที่ทิ้งอารมณ์ให้คงไว้หลังชมได้มากกว่า

การศึกษาของ Teads พบว่าโฆษณา 6 วินาทีมีอัตราการดูวิดีโอ (view-through rate หรือ VTR) เฉลี่ย 55% สำหรับการชมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่มีคะแนน EmotionAll เพียง 3.6 คะแนน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ 5.1 คะแนนสำหรับโฆษณาแบบยาว 30 วินาที

การศึกษายังยกกรณีของ Mars ผู้ผลิตขนมหวานที่จัดทำโฆษณา 6 วินาทีซึ่งถือว่าเป็น 2 ใน 3 โฆษณาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการสำรวจ พบว่าโฆษณา 6 วินาทีที่สามารถเล่าเรื่องอย่างรวดเร็วและเรียบง่าย จะให้ผลที่ดีกว่าวิดีโอที่มีเรื่องราวซับซ้อน หรือเรื่องที่ไม่มีเรื่องราวใดๆเลย

ผลการสำรวจนี้เชื่อว่าอาจจะส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อวงการโฆษณา 6 วินาที เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าคะแนนความอินที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย

การสำรวจนี้สรุปจากโฆษณา 166 ชิ้นจาก 75 แบรนด์โดยใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ใบหน้าเพื่อวัดปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้ชม จุดนี้บริษัทวิจัย Realeyes ได้ร่วมจัดทำดัชนีคะแนน EmotionAll Score โดยวัดผลทั้งเรื่องการดึงดูด การรักษาความสนใจนั้น การมีอารมณ์ร่วมหรือ engagement และผลกระทบของวิดีโอต่อผู้ชม ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องยอมรับว่าโฆษณาแบบยาวนั้นชนะขาดลอย.

ที่มา: : MM

 
Source: thumbsup

The post ไม่ปังเหมือนเดิม! ผลสำรวจชี้ “โฆษณา 6 วินาที” ยอดชมสูงแต่คนไม่อิน appeared first on thumbsup.

โปรโมทแคมเปญบน “Twitter”ยังไงให้ได้ผล เมื่อภาพสวยไม่ใช่คำตอบ

$
0
0

จากสถิติผู้เล่น Twitter ที่เติบโต 33% จากปีที่ผ่านมาเเละคาดว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ต่างจาก Facebook ที่นอกจากยอดผู้เล่นจะลดลงฮวบฮาบเเล้ว ระบบก็ไม่เสถียร ค่าบูสต์ Ads ก็เเพงลิบโลก

ส่งผลให้นักการตลาดหลายเเบรนด์หนีมาซบ Twitter เเทน เเต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เมื่อทั้งสองเเพลตฟอร์มไม่เหมือนกันสักนิด

Facebook ไม่เหมือนเดิม

ในปีที่ผ่านมา นักการตลาดส่วนใหญ่เลือกใช้ Facebook เป็นเเพลตฟอร์มหลักในการโปรโมทเเคมเปญออนไลน์เพราะมีผู้เล่นที่เยอะ เเละเครื่องมือที่หลากหลาย

ทำให้เเคมเปญหลายเเบรนด์ประสบความสำเร็จในการโปรโมท ยิ่งถ้ามีเม็ดเงินอัดฉีดสูงๆ ก็ยิ่งผลักดันให้ทุกอย่างปังขึ้น

จึงเกิดศึกเเบรนด์ฟาดฟันกันอย่างหนักหน่วง ภาพเเต่ละเเคมเปญสวยปังจนต้องกดซื้อ เเต่เมื่อเวลาผ่านไปอะไรก็เปลี่ยน ปี 2561 เห็นได้ชัดสุดว่า Facebook ไม่ใช่เเพลตฟอร์มที่เเบรนด์จะฝากไว้ทั้งหมด

เพราะระบบไม่เสถียรเเละค่าใช้จ่ายในการบู้ท Ads ที่สูงขึ้น เเต่ถึงมีเงินอัดฉีดเเค่ไหน เเคมเปญก็ไม่ปังอยู่ดี นักการตลาดหลายคนจึงเลือก Twitter

เป็นเเพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งคงไม่ได้ยากอะไร เเค่เปิดเเอคเคาท์ Twitter เเละเอาคอนเทนต์จาก Facebook มาอัพลงก็พอ

เเต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายอย่างงั้นน่ะสิ!

เเพลตฟอร์มใหม่อะไรก็เปลี่ยน

ถ้านักการตลาดคิดเเค่ เอาภาพคอนเทนต์จาก Facebook เเล้วมาอัพลง Twitter บอกเลยว่าคุณกำลังทำให้ทุกอย่างเเย่ลง เพราะทั้งเสียเวลาเเละยิ่งเพิ่มความล้มเหลวของเเคมเปญ

นักการตลาดต้องย้ำตัวเองเสมอว่า ทุกเเพลตฟอร์ม พฤติกรรมการเล่นไม่เหมือนกันสักนิด! 

  • Twitter คือความเรียล ข้อความที่โพสต์เเทบจะเป็นด้านมืดที่ลงใน Facebook ไม่ได้เเละที่นี่คือเเหล่ง Insight ชั้นดี
  • เพราะความเรียลทำให้รูปภาพไม่จำเป็นต้องสวยเพราะมันดูปลอม เเต่ภาพต้องมีความรู้สึก มีสตอรี่เเค่เห็นก็เข้าใจเลยว่าจะสื่ออะไร
  • Twitter โดดเด่นเรื่องเเฮชเเท็ก #เลือดข้นคนจาง จะติดเทรนด์เสมอเมื่อละครฉาย

ประเด็นหลักของ Twitter มีเเทบไม่กี่อย่างคือคอนเทนต์ต้องดูเรียลไม่ปลอมเเละมีเเฮชเเท็ก เป็นสองประเด็นหลักที่จับกันได้ง่ายๆ เเต่ทำมันไม่ง่ายเลย

เเค่เเอบเนียนในเเฮชเเทคมันไม่พอ

ถ้า Facebook มีเพจดัง ใน Twitter ก็มีเซเลปเช่นกัน ซึ่งก็คือเเอคเคาท์ที่มียอดติดตามสูงๆ หรือถ้ามากหน่อยก็เรียกว่าเป็น Micro Influencer  ซึ่งเป็นกลุ่มที่นักการตลาดหลายเเบรนด์เลือกใช้

โดยขั้นเเรกคือให้ Micro Influencer ปั่นเเฮชเเท็กให้ติดเทรนด์ให้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทำคือโพสต์เรื่องที่เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเเบรนด์เเต่ติดเเฮชเเท็กไว้ เเละปั่นให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เเต่มันจะเกิดประโยชน์อะไรถ้าข้อมูลของสินค้าไม่ออก

ไม่ใช่เเค่ติดเทรนด์ Twitter เเปลว่าเเคมเปญนี้ประสบความสำเร็จ ต่อให้ติดเทรนด์อันดับ 1 ก็ยังไม่สำเร็จ ถ้าเปิดเข้าไปดูเเฮชเเท็ก เเล้วมีเเต่โพสต์ที่ไม่เกี่ยวกับเเบรนด์เลยสักนิด

นี่คือความสำเร็จเเบบปลอมๆ ที่นักการตลาดออนไลน์ต้องดูให้ออก เเละการจะมีเเฮชเเท็ก เเค่ชื่อเเบรนด์ตรงๆ ก็จะดูฮาร์ดเซลเกินไป เอาหละสิ นั่นไม่ดี นี่ไม่ได้ เเล้วที่ดีคืออะไร

เราจึงขอหยิบกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ไม่ต้องปั่นเเฮชเเท็กอะไร อย่างเคสของ Meiji Yoghurt

 

Meiji Yoghurt ออกโยเกิร์ตเนื้อใหม่ที่นุ่มเเละเต็มไปด้วยเนื้อผลไม้ โดยให้เหล่า Micro Influencer ในทวิตรีวิวโยเกิร์ตเเบบง่ายๆ ดูไม่ได้ตั้งใจพูดถึงเเบรนด์

เเต่ภาพสื่อถึงเนื้อผลไม้อัดเเน่นในถ้วย เเละภาพไม่ต้องสวยอะไรมาก เน้นเเค่เนื้อสตอเบอร์รี่ที่อยู่ในถ้วยเยอะๆ พอ ซึ่งตรงกับ Key message คือ เนื้อเเน่น ฟินด้วยเนื้อผลไม้  

ผลปรากฏว่า Meiji Yoghurt ขาดตลาดหาซื้อไม่ได้เพราะว่าขายหมดเกลี้ยง เเละคนที่ซื้อไปก็เอาไปรีวิวต่อเรื่อยๆ ว่าซื้อเเล้วนะเนื้อเยอะจริง

กลายเป็นว่าสินค้าขายได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งเป็นความสำเร็จในการโปรโมทเเคมเปญบน Twitter อย่างมาก

หรือถ้าหลายเเบรนด์ยังไม่มีงบในการตลาดมากนักให้เนียนใช้เเฮชเเท็กที่ดังอย่าง #Howtoperfect #รีวิวเซเว่น อย่างใดอย่างหนึ่ง

เพราะการที่เเฮชเเท็กเยอะๆ จะดูตั้งใจจะมารีวิวมากเกินไป สำหรับคอนเทนต์บน Twitter ยังคงต้องอาศัยความเนียนในการรีวิวอยู่

ไม่เหมือน Facebook ที่ต้องบอกเลย ว่าเป็นโพสต์ของสปอนเซอร์ เพราะถ้าเนียนเเบบไม่มีศิลป์ คนจะลดความเชื่อถือลง

ข้อดีของเเฮชเเท็ก

เเฮชเเท็กเป็นหัวใจหลักของ Twitter  เพียงเเค่ใช้ให้ถูกที่ถูกทาง อย่าง #ความลับมีในโลก เพื่อโปรโมทเพลงใหม่ของ INK WARAUNTORN

ที่ช่วงเเรกให้ Micro Influencer สายดราม่าดันเเฮชเเท็ก #ความลับไม่มีในโลก ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่เราเเอบปิดเป็นความลับ เพราะรู้ว่าต่อให้บอกไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้นมา

งั้นขอปิดเป็นความลับจะดีกว่า จี้ใจสายเเอบรักที่เป็นกลุ่ม Target เพลงความลับมีในโลก ทำให้การโปรโมทในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากซึ่งจุดที่เหมือนกับ Meiji Yoghurt คือการที่ทำให้กลุ่ม Taget ของเรา

โพสต์เเละติดเเฮชเเท็กของเราขึ้นมาเอง (User generate content : UGC) หรือเรียกว่ากลุ่มเป้าหมายผลิตคอนเทนต์ด้วยตัวเอง เป็นการเพิ่มกระเเสได้ดีมากเพราะเกิดการกระจายจากกลุ่ม Taget เอง

บทสรุปของการโปรโมทเเคมเปญบท Twitter

วิธีสร้างกระเสบนโลก Twitter อาจมีหลายวิธีตามเเผนเเต่ละเเบรนด์ เเต่สิ่งสำคัญคือต้องเรียลต้องจริง ถามว่าภาพสวยทำไมถึงไม่ส่งผล

เพราะภาพสวยเเสดงถึงความตั้งใจที่มากเกินไป ไม่ธรรมชาติ ทำให้ภาพสวยไม่ใช่คำตอบ เเละการสร้างเเคมเปญบนโลก Twitter

ควรสร้างให้เป็นคอนเทนต์เเบบ UGC  คือกลุ่ม Target ชื่นชอบเเละสร้างคอนเทนต์ด้วยตัวเอง เพื่อให้กระเเสกระจายไปได้ไกลกว่าเดิม เเละเมื่อกดเเฮชเเท็กเข้าไป ก็เต็มไปด้วย Message ที่เราอยากจะสื่อออกมา เเสดงว่าเเคมเปญโปรโมทในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

 

 
Source: thumbsup

The post โปรโมทแคมเปญบน “Twitter” ยังไงให้ได้ผล เมื่อภาพสวยไม่ใช่คำตอบ appeared first on thumbsup.

ศึกชิงเบอร์ 1 “ลิซ่า Blackpink” แซง “อั้ม” เหมือนหัวเว่ยแซงแอปเปิล?

$
0
0

อั้ม พัชราภานั้นเป็นเบอร์ 1 บนโลก Instagram มานาน พอแชมป์เปลี่ยนมือมาเป็นลิซ่า จึงเกิดเสียงฮือฮาเหมือนตอนที่ Huawei ขึ้นมาแทน Apple

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลไทยหลายคนตื่นเต้นกับข่าว “ลิซ่า Blackpink” แซง “อั้ม พัชราภา” ขึ้นแชมป์ 10 อันดับชาวไทยที่มีคนติดตามมากที่สุดบน Instagram ข่าวนี้ทำให้เกิดดราม่าที่สะท้อนความจริงหลายอย่างในสังคมโซเชียลสัญชาติไทย ซึ่งไม่แน่ ความจริงนี้อาจมีอิมแพคไม่แพ้กรณี “Huawei แซง Apple” ขึ้นอันดับ 2 แบรนด์มือถือขายดีสุดในโลกช่วงสิงหาคมที่ผ่านมา

15 พฤศจิกายน 2561 คือวันที่ทำเนียบ 10 อันดับชาวไทย ที่มีคนติดตามมากที่สุดบน Instagram มีการเปลี่ยนแปลงแชมป์ โดย ”ลิซ่า ลลิษา” ขึ้นที่หนึ่งแทน “อั้ม พัชราภา” หลังจากยอดติดตามใน IG ของลิซ่าทะยานเพิ่มขึ้นวันละ 3-4 หมื่นฟอลโลว์ต่อวันต่อเนื่องในเวลาไม่กี่เดือนที่ลิซ่าเพิ่งเปิด IG ทำให้สามารถแซงหน้าอั้มที่มีฐานฟอลโลว์เพิ่มขึ้น 3-4 พันคนต่อวัน น้อยกว่าลิซ่าหลายเท่าตัว

การขึ้นแชมป์ของลิซ่าเป็นไปตามที่หลายคนคาด ว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นภายในปีนี้ 2561 ทั้งที่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ลิซ่าเพิ่งจะยืนอยู่ที่อันดับ 14 ด้วยยอดติดตาม 6.1 ล้านคน แต่สามารถเพิ่มเป็น 7.3 ล้านคนในช่วงต้นเดือนกันยายน

ดราม่าแรกที่สามารถสัมผัสได้ คือเสียงที่บอกว่าลิซ่านั้นโด่งดังระดับโลก แต่อั้มโด่งดังระดับประเทศ แฟนคลับยืนยันว่าความนิยมของทั้ง 2 สาวนั้นไม่สามารถเทียบกันได้ บางคนใช้คำว่า “ชื่อเสียงคนละ scale เทียบแบบนี้ก็ไม่แฟร์กับอั้ม” เพราะอั้มมีชื่อเสียงภายในไทย แต่ลิซ่าเป็นศิลปินไทยที่โด่งดังผ่านเกาหลี ชื่อเสียงจึงกระจายไปทั่วเอเชีย ไม่แปลกที่ยอดติดตามของลิซ่าจะพุ่งกระฉูด

อย่างไรก็ตาม ชาวโซเชียลไทยเชื่อว่าการเทียบอันดับลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติ ไม่ต่างจากที่ Selena Gomez ทำยอดติดตาม IG แซง Taylor Swift ขึ้นที่ 1 ของโลกจนเป็นข่าวใหญ่เมื่อ 2 ปีก่อน ครั้งนั้น Selena ลงคลิป Queen of Instagram ด้วยความดีใจตั้งแต่ยอดแซง Taylor หลักพันเท่านั้น แต่ก็ไม่มีแฟนคลับหรือใครต่อต้าน Selena เพราะเรื่องการแบ่งสเกลเพื่อเทียบฐานผู้ติดตามให้เป็นธรรม

ไม่ว่าอย่างไร สิ่งที่สรุปได้คือสถิติยอดติดตามของลิซ่าแซงอั้มแบบไม่ต้องสงสัยใน IG แถมลิซ่ายังเพิ่งได้รับไฟเขียวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน โดยทางค่ายเริ่มอนุญาตให้ลิซ่าเปิด YouTube Channel ของตัวเอง สถิติน่าสนใจคือ การตัดต่อคลิปวีดิโอเดินเที่ยวในญี่ปุ่นกับเพื่อนสมาชิกในวง Blackpink แล้วมาเผยแพร่เพียงคลิปเดียวนั้น ทำให้มีผู้ติดตาม Channel ทะลุ 502,000 รายแล้วในเวลา 1 สัปดาห์

สถิตินี้ยืนยันชัดเจนว่าลิซ่านั้นเติบโตได้น่าประทับใจ เหมือนกับที่ “ไรอัน รีธ” นักวิเคราะห์การตลาดจากไอดีซี เคยกล่าวว่าการเติบโตของหัวเว่ยนั้นน่าประทับใจตรงที่หัวเว่ยเป็นแบรนด์ที่สามารถรุกตลาดใหม่และจำหน่ายสินค้าของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว แม้เป็นจะเป็นยี่ห้อที่คนเพิ่งจะรู้จัก

แต่เมื่อเครื่องติดแล้ว วันนี้ Huawei ลุยเต็มสูบจนสามารถทำยอดขายได้โดดเด่น Huawei เป็นที่รู้จักและเริ่มปูพรมขยายอาณาจักรไม่ต่างจากที่ลิซ่าทำในช่วงเวลานี้ ผลคือแม้จะมีการโพสต์ภาพและวิดีโอไม่ถึง 120 โพสต์ ผู้ติดตามของลิซ่าก็มีมากกว่าอั้มที่โพสต์วิดีโอและภาพเกินหลัก 5 พันโพสต์ในช่วงปี 2018

กรณีนี้ตอกย้ำชัดเจนว่าจำนวนโพสต์ไม่มีผลต่อยอดฟอลโลว์ ซึ่งการสำรวจสถิติชี้ว่าบัญชีที่มีการโพสต์มากกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะมีแรงดึงยอดฟอลโลว์ได้มากกว่าเสมอไป

สิ่งที่เราต้องรอลุ้นกรณีของลิซ่าและอั้ม คือลิซ่าจะเป็นแชมป์ที่มาไวไปไวหรือไม่ เนื่องจากอั้มนั้นครองแชมป์มานานหลายปี เหมือนกับที่ Apple ครองอันดับ 2 สมาร์ทโฟนโลกมานานหลายปีเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าอย่างไร แฟนคลับสุดโต่งของทั้ง 2 ขั้วมีโอกาสที่จะไม่สามารถจูนกันได้ เหมือนกับที่สาวก Apple ก็จะชื่นชม Apple มากกว่า Huawei

ด้านลิซ่าเอง โอกาสทองที่รอลิซ่าอยู่นั้นไม่ต่างจากโอกาสของ Huawei ที่สามารถโกยเงินเข้ากระเป๋าและมีช่องทางเติบโตอีกมากในตลาดไทยและตลาดโลก วันนี้ Huawei มีอิมแพคต่อตลาดสมาร์ทโฟนทุกระดับในไทย ซึ่งกรณีของลิซ่า อิมแพคอาจจะยิ่งใหญ่ขึ้นอย่างน่าจับตาในปีหน้าก็ได้

 

 
Source: thumbsup

The post ศึกชิงเบอร์ 1 “ลิซ่า Blackpink” แซง “อั้ม” เหมือนหัวเว่ยแซงแอปเปิล? appeared first on thumbsup.

จาก “สมคิด” ถึง “แจ็ก หม่า” วันนี้ผู้บริหารขอเป็นพรีเซนเตอร์

$
0
0

เรียกเสียงฮือฮาไม่น้อยสำหรับมหาเศรษฐีอย่างแจ็ก หม่า (Jack Ma) ที่ลงทุนสวมบทพนักงานขายลิปสติก พนักงานบรรจุกล่องสินค้า นายแบบ รวมถึงอีกหลายบทบาทเพื่อเชิดชูพนักงานตัวจริงที่ร่วมงานกับ Alibaba และบริษัทในเครือ วิดีโอที่ถูกเปิดตัวช่วงเทศกาล 11.11 ปีนี้ตอกย้ำว่า Jack Ma ยึดมั่นแนวทางเดิมที่ทำมานานหลายปี นั่นคือการดึงตัวเองขึ้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ โดยไม่ต้องใช้ดารานักแสดงให้สิ้นเปลืองเงินทอง

สมคิดขอเอี่ยว

ไม่ใช่ Jack Ma คนเดียวที่ยึดแนวทางนี้ เพราะล่าสุดคือ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรีที่รับบทพรีเซ็นเตอร์กล่าวเชิญชวนชาวจีนให้มาเที่ยวเมืองไทย ซึ่งรายงานระบุว่าสมคิดขอใช้ช่องทางออนไลน์ของ Alibaba ในการโปรโมทการท่องเที่ยวไทยช่วงเทศกาล 11.11 ด้วย

ในส่วนของ Jack Ma มหาเศรษฐีจีนผู้ก่อตั้ง Alibaba นั้นไม่ได้ดึงตัวเองมาเป็นพรีเซนเตอร์ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ Jack Ma เคยออกมาโชว์บนเวทีในชุดสีดำทองและเต้นเพลง “Billie Jean” ของ Michael Jackson ต่อหน้าพนักงานจำนวน 4 หมื่นราย ในงานฉลองวันครบรอบก่อตั้งบริษัทปีที่ 18 ที่นครหังโจว มณฑลเจ้อเจียง จนเป็นข่าวดังก่อนช่วงเทศกาล 11.11 ปี 2017

นอกจากนี้ Jack Ma ยังได้รับบทภาพยนตร์สั้นในฐานะนักสู้และนักร้อง ซึ่งทำให้ Jack Ma ได้เดบิวต์เปิดตัวพร้อมกับดีว่าชื่อดังของฮ่องกง Faye Wong มาแล้ว

สำหรับครั้งนี้ Jack Ma พาตัวเองมาเป็นข้อเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นความสามารถและประสิทธิภาพโดดเด่นของพนักงาน Alibaba ด้วยการแข่งขันกับพนักงานมืออาชีพที่มีความถนัดในงานเฉพาะทางเป็นพิเศษ แน่นอนว่า Jack Ma พ่ายแพ้หมดรูปทั้งการแข่งขันบรรจุกล่องสินค้า การแข่งถ่ายแบบ การแข่งจับปู การแข่งขันจำหน่ายลิปสติก และการจัดส่งสินค้า

บทสรุปที่น่าสนใจ

บทสรุปที่ Jack Ma พยายามมอบไว้ให้ในวิดีโอปีนี้ คือการบอกผู้ชมว่าเราทุกคนไม่ต้องเก่งกาจในทุกด้าน แต่ควรจะได้ร่วมงานกับคนที่มีความสามารถหลากหลายด้านเหล่านี้ ซึ่งหากทำได้ ความสำเร็จก็จะรออยู่แค่เอื้อม

วิดีโอนี้ได้รับคำชมล้นหลาม และมีสัดส่วนการเปิดชมสูงจนตอกย้ำให้คนจดจำแม่นว่า “Jack Ma คือ Alibaba” ตามคำพูดที่ Jack Ma เคยระบุในแถลงการณ์เตรียมลาตำแหน่งซีอีโอ Alibaba ปี 2019

ไม่ว่าการแสดงเหล่านี้เป็นความชื่นชอบส่วนตัวของ Jack Ma เองหรือไม่ แต่ผลพลอยได้ของการเป็นผู้นำเสนอหรือพรีเซนเตอร์เหล่านี้คือ Jack Ma จะเป็นที่จดจำมากขึ้นไปอีก ทั้งในสังคมออนไลน์และออฟไลน์ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ Alibaba ที่เขาก่อตั้งขึ้นมา

การที่ Jack Ma พาใบหน้าตัวเองขึ้นเวทีหรือออกสื่อ สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ชมที่เป็นลูกค้า Alibaba ได้มากกว่าการใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นดารานักแสดงมืออาชีพเสียอีก แนวคิดนี้เองที่ทำให้ผู้บริหารประเทศไทยอย่าง “สมคิด” ลงทุนออกมาพูดภาษาจีนเชิญชวนหน้ากล้องบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยได้เห็นไม่บ่อยนัก

หากการลงทุนครั้งนี้ได้ผล เราอาจเห็นหลายแบรนด์เดินตามแนวทางนี้มากขึ้น ไม่แน่ ผู้บริหารระดับสูงของแบรนด์นั้นอาจแจ้งเกิดในฐานะพรีเซนเตอร์ที่โดดเด่นได้เป็นรายต่อไป.

 
Source: thumbsup

The post จาก “สมคิด” ถึง “แจ็ก หม่า” วันนี้ผู้บริหารขอเป็นพรีเซนเตอร์ appeared first on thumbsup.


เช็คได้! Facebook เพิ่มความแม่น Ad targeting พัฒนาระบบบอกให้รู้ว่าคุณอยู่กับใคร

$
0
0

ไม่ต้องรอให้ผู้ใช้กรอกสถานะหรือติด tag ชื่อว่าใครอยู่กับใคร แต่ระบบของ Facebook กำลังจะวิเคราะห์ได้จากภาพและคำอธิบายภาพที่สอดคล้องกัน เพื่อสรุปว่าผู้ใช้รายใดกำลังพักอาศัยอยู่ด้วยกัน เชื่ออานิสงส์ชัดเจนจากระบบนี้คือประสิทธิภาพการกำหนดกลุ่มเป้าหมายโฆษณาหรือ Ad targeting บน Facebook กำลังจะแม่นยำขึ้นอีกแบบก้าวกระโดดแน่นอน

เทคโนโลยีที่ช่วยทำนายข้อมูลจากภาพ

ระบบใหม่ของ Facebook ที่จะวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพและคำอธิบายภาพเพื่อสรุปว่าใครพักอาศัยอยู่กับใครนั้นเป็นข่าวขึ้นมาเพราะสื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีนี้ โดยสำนักข่าว BuzzFeed News ระบุว่า Facebook ตั้งชื่อเทคโนโลยีว่า “Predicting household demographics based on image data” หรือเทคโนโลยีเพื่อการทำนายข้อมูลประชากรในครัวเรือนโดยอิงจากข้อมูลภาพ

ผลของเทคโนโลยีนี้จะทำให้ระบบของ Facebook สามารถบอกได้ว่าผู้ใช้อาศัยอยู่กับใครในครัวเรือนเดียวกัน โดยคำอธิบายสิทธิบัตรระบุว่า Facebook จะใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าบนภาพถ่ายของผู้ใช้ เพื่อระบุตัวตนคนในภาพ จากนั้นจึงเชื่อมโยงผู้คนเหล่านั้นด้วยคำอธิบายภาพที่ผู้ใช้รายนั้นเขียนเมื่อโพสต์ภาพ รวมทั้งการอ้างอิงข้อมูลจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ เช่น ที่อยู่ IP ที่ชาว Facebook ใช้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การสรุปว่าใครอยู่ในครัวเรือนเดียวกันทำได้ถูกต้องมากขึ้น

รายงานของ BuzzFeed อธิบายเพิ่มว่าระบบของ Facebook จะจับสังเกตคนที่ถูกระบุตัวตนในรูปภาพ และจำนวนความถี่ที่ผู้ใช้รายนั้นปรากฏอยู่ในภาพถ่ายบ่อยแค่ไหน นอกจากนี้ ระบบจะประเมินข้อมูลจากความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปภาพ คำอธิบายภาพ หรือแท็กที่เกี่ยวข้องเช่น #family, #mom, #kids ข้อมูลเหล่านี้จะระบุได้ว่า ผู้ใช้รายนี้เป็นสามี, เป็นลูกสาว หรือเป็นลูกพี่ลูกน้อง ทั้งหมดนี้จะทำให้ระบบคาดการณ์ว่าใครเป็นครอบครัวของใครบ้าง

วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังด้วย

ตามเอกสารจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีของ Facebook ระบุว่าแบบจำลองการทำนายของเทคโนโลยีนี้จะวิเคราะห์ประวัติการส่งข้อความย้อนหลัง และการติด tag ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังจะวิเคราะห์ประวัติการเรียกดูเว็บ จุดประสงค์คือเพื่อตรวจสอบว่า IP address มีการแบ่งปันกันใช้หรือไม่

หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดคือ หากมีใครโพสต์ภาพผู้หญิง 2 คนพร้อมข้อความว่า “#my_boss_at_home” และผู้ใช้รายเดียวกันยังโพสต์ภาพเด็กหญิงคนหนึ่งพร้อมบรรยายว่า “my angel” กรณีนี้ Facebook จะทำนายว่าครอบครัวนี้มี 3 คน คือผู้ใช้ที่เป็นชายและหญิง 2 คน “ซึ่งน่าจะเป็นภรรยาและลูกสาวของผู้ใช้ชาย”

เอกสารชี้ว่า Facebook จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากรูปภาพทั้งบนเว็บไซต์หลักอย่าง Facebook และบน Instagram โดยเป้าหมายสำคัญที่ Facebook จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ คือการกำหนดเป้าหมายโฆษณาหรือ Ad targeting อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ Facebook ต้องตอบให้ชัดจากสิทธิบัตรนี้ คือบุคคลภายนอกหรือ third parties ทั้งเอเจนซี่โฆษณาหรือแบรนด์จะสามารถใช้ข้อมูลใดได้บ้าง เพื่อไม่ให้รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของชาว Facebook มากเกินไป

ที่มา: : FastCompany

 
Source: thumbsup

The post เช็คได้! Facebook เพิ่มความแม่น Ad targeting พัฒนาระบบบอกให้รู้ว่าคุณอยู่กับใคร appeared first on thumbsup.

4 วิธีเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับเเบรนด์

$
0
0

การเลือก Influencer ไม่ใช่เรื่องยากเพียงเเค่ลิสต์ว่ามี Influencer คนไหนบ้างที่เกี่ยวข้องกับเเบรนด์ เเต่การจะเลือก Influencer ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะส่ง Key message เเล้วสร้างยอดขายได้จริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงจะมี Budget ที่สูงก็ใช่ว่าเเคมเปญจะได้ประสิทธิภาพดี  เราจึงจะมาเเนะนำการเลือก Influencer ให้ส่งผลดีกับเเบรนด์

1. Target ที่ตาม Influencer

การเลือก Influencer ไม่ใช่เพราะคนนั้นหน้าตาสวยงามหรือเกี่ยวข้องกับเเบรนด์เสมอไป เพราะ  เราให้ Influencer โปรโมทสินค้าเพื่อให้ Target ซื้อสินค้าของเรา สิ่งที่เราต้องโฟกัสจึงเป็น Target

เเต่การตั้ง Target สินค้าไม่ใช่เเค่ความสนใจหรือช่วงอายุ เเต่เป็นกลุ่มคนที่มีเเนวโน้มซื้อสินค้าของเราเเละมีกำลังจ่ายพอที่จะซื้อโดยติดตาม Influencer คนนี้ต่างหาก

ซึ่ง Influencer ที่เราจะเลือกก็ต้องมีพลังพอที่จะโน้วน้าวคนกลุ่มนี้ให้มีความอยากที่จะซื้อเเละตัดสินใจซื้อในที่สุด

2. Views, Reach, Engage

จะโปรโมทเเคมเปญทั้งที่ก็ต้องเลือก Influencer ที่มียอดติดตามที่มีคุณภาพ ใช่ค่ะ คุณภาพไม่ใช่จำนวน Followers อย่างเดียว

เพราะยอด Followers ไม่ได้บอกถึง Reach เเละ Engagement ที่มากตาม เเต่ให้ดูจากยอดเฉลี่ยของคอนเทนต์ปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้เหล่า Media Planner ก็ต้องวิเคราะห์จากโพสต์ที่ Influencer เคยลงด้วย

หากดูเเค่เรทการ์ดที่ทาง Influencer ให้มาอาจไม่ใช่ยอดปัจจุบัน เพราะถึงเเม้ตอนเเรกเราจะตกลงยอดต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย ถ้าไม่ถึงจะมีการรีโพสต์

เเต่ข้อเสียใหญ่ของการรีโพสต์รอบสองคือคนจะเอนเกจน้อยมากๆ เพราะหลายคนเคยเห็นโพต์มาก่อนจึงเหมือนเป็นการเห็นโพสต์ซ้ำเเนะนำเป็นสร้างโพสต์เพิ่มจะดีกว่า

3. ทักษะการโปรโมท

ปัจจุบันคนตัดสินใจซื้อจากการใช้งานมากกว่าเสพ Lifestyle อย่างเดียว การโปรโมทจึงไม่ควรเน้นเเค่ภาพสวยเเต่ต้องบอกถึงคุณลักษณะการใช้งานโดยใช้คาเเรคเตอร์ Influencer ให้เป็นประโยชน์ที่จะดึงกลุ่ม Target มาให้ความสนใจ

ซึ่งการจะโปรโมทสินค้าโต้งๆ คงไม่ใช่วิธีที่ดี เเต่ต้องผูกเรื่องราวให้น่าสนใจอย่างกรณีที่ Uniqlo เลือกพิมฐาเเละ Mayyr เพื่อโปรโมทเสื้อผ้าคอลเลคชั่นกันหนาวที่จะถึงนี้

โดยการให้พิมฐาพา Mayyr  เที่ยวเชียงใหม่โดยใส่เสื้อของ Uniqlo หลายเเบบตลอดทั้งทริป ทำให้พรีเซ็นต์ดีไซน์ของคอลเลคชั่นเสื้อผ้า ได้เป็นอย่างดี

4. ความรับผิดชอบ

ต่อให้ยอดติดตามสูงเเค่ไหนเเต่ถ้าส่งงานช้า งานเลท งานเผา ก็คงไม่ส่งผลดีต่อเเบรนด์เพราะว่าการโปรโมทสินค้าเพื่อให้ขายสินค้าได้เเละพรีเซ็นต์ความเป็นเเบรนด์ออกมา

ต้องเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เเต่ละคอนเทนต์โฟลวอิมเเพ็คกลับมาที่เเบรนด์ให้ได้มากที่สุด ถ้ามีช่วงใดที่เกิดการติดขัดก็ส่งผลไม่ดีต่อเเบรนด์ได้

การเลือก Influencer ที่มีความรับผิดชอบต่อเเบรนด์เเละตั้งใจทำงานถือเป็นมาตรฐานของคุณภาพงานเช่นกัน

การเลือก Influencer ในการโปรโมทสินค้าไม่ใช่เเค่เห็นกระเเสดีเเล้วเลือกเลย เพราะกระเเสอยู่กับเราไม่นาน กว่าจะดิลงานกันเสร็จก็ใช้เวลาระดับหนึ่ง

เราจึงควรเลือก Influencer ที่เข้ามาตอบโจทย์ของเเบรนด์ทั้งหมด ดัง 4 ข้อด้านบน เเละการเลือก Influencer ไม่ใช่เเค่มาโปรโมทสินค้าอย่างเดียว เเต่โปรโมทเเบรนด์ให้ถึงกลุ่ม Target ด้วยเพื่อส่งต่อคุณค่าทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน

 

 

 
Source: thumbsup

The post 4 วิธีเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับเเบรนด์ appeared first on thumbsup.

Netflix เงินถึง เปิดศักราชโปรโมท Facebook สไตล์ใหม่ผ่าน “เมาคลี”

$
0
0

Mowgli หรือเมาคลี ตำนานแห่งเจ้าป่าเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ Netflix ตั้งใจทำตลาดเอเชียช่วงปลายปี ความน่าสนใจคือ Netflix ไม่ได้ “สนับสนุนโพสต์” หรือซื้อโฆษณาทั่วไปเท่านั้น เพราะ Netflix ใช้วิธีทำให้เพจภาพยนตร์บน Facebook หลายแห่งพร้อมใจกันเปลี่ยนภาพโปรไฟล์และภาพปกเพื่อโปรโมท Mowgli ถือเป็นกลยุทธ์การโฆษณาบนโซเชียลไทยที่ควรค่าแก่การเปิดประเด็นในช่วงเวลานี้

เมาคลีเวอร์ชั่นคนแสดง

Mowgli เป็นภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษแนวแอ็คชั่นผจญภัยฟอร์มยักษ์ที่พูดถึงเด็กชายกำพร้าซึ่งได้รับการเลี้ยงดูโดยสัตว์ป่า Mowgli ต้องไขว่คว้ากำหนดโชคชะตาของตัวเองและต้องเผชิญหน้ากับศัตรูตัวฉกาจ รวมถึงชาติพันธุ์ต้นกำเนิดแห่งความเป็นมนุษย์ของตัวเอง นักแสดงนำคือคริสเตียน เบล, เคต แบลนเช็ตต์ และเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ กำกับโดยแอนดี เซอร์คิส

สิ่งที่ Netflix เลือกทำเพื่อโปรโมท Mowgli ในโซเชียลไทย คือการร่วมมือกับเพจภาพยนตร์ที่มีแฟนหนังคนไทยติดตามหลักหมื่น เช่น JUST ดู IT, คนวิจารณ์หนังไม่เป็น, ตั๋วร้อน ป็อปคอร์นชีส, ฉากนี้แม่งได้ว่ะ รวมถึงเพจ Netflix รีวิว ทั้งหมดนี้เปลี่ยนภาพโปร์ไฟล์เป็นตัวละครใน Mowgli ขณะที่บางรายเปลี่ยนภาพ Cover บนสุดของเพจด้วย

ความน่าสนใจของการโปรโมทด้วยภาพโปรไฟล์และภาพปกของเพจ คือ Netflix ไม่ต้องเสียเงินให้ระบบของ Facebook เม็ดเงินโฆษณารวมถึงความร่วมมือทุกส่วนเกิดขึ้นกับเจ้าของเพจโดยตรงแบบ 100%

โปรโมทอย่างไรให้ปัง

นอกจากนี้ บางโพสต์ที่มีข้อความว่า “ได้รับการสนับสนุน” อาจจะถูกคนที่ไม่ปลื้มโฆษณามองข้ามไป แต่การเปลี่ยนภาพโปรไฟล์และภาพปก ระบบของ Facebook จะแสดงภาพใหญ่ให้ผู้ติดตามเกือบทุกคนได้เห็น จุดนี้ถือเป็นอิมแพคที่ทำให้ Mowgli ได้รับความสนใจมากขึ้นทันที

อีกจุดสำคัญคือ Netflix คัดเลือกแค่บางเพจเท่านั้นมาทำกลยุทธ์นี้ เพราะเพจที่ยอมเปลี่ยนโปรไฟล์เพื่อโปรโมท Mowgli ส่วนใหญ่เป็นบล็อกเกอร์ที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Netflix บางรายเคยได้รับเชิญจาก Netflix ให้เดินทางไปสหรัฐอเมริกากับ Netflix โดยเพจที่เป็นสื่อหลักอย่าง Bioscope หรือ MThai นั้นไม่ได้ถูกรวมในโครงการนี้

แม้จะมีข้อดี แต่ประเด็นที่น่าสังเกตของกลยุทธ์นี้มีหลายส่วน หนึ่งในนั้นคือความเป็นตัวตนของเพจที่แอดมินเพจต้องยอมทิ้งไปทั้งภาพโปรไฟล์และภาพปก ที่ผ่านมา แฟนเพจหลายคนรับรู้ถึงเอกลักษณ์ของเพจผ่านภาพทั้ง 2 ส่วน ซึ่งเมื่อเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันจนเหมือนกับเพจอื่น แฟนเพจอาจไม่แน่ใจว่าเพจที่กำลังอ่านอยู่นั้นคือเพจอะไร

ยกตัวอย่างเช่นเพจ JUST ดู IT แม้ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นตัวเอกในภาพยนตร์หลายเรื่อง แต่ทุกภาพต้องมีสัญลักษณ์โลโก้เพจ JUST ดู IT ติดไว้ให้เด่นเป็นสง่า ขณะที่ภาพโปร์ไฟล์ล่าสุดนั้นไม่มี และแสดงเป็นภาพงูยักษ์ในเรื่อง Mowgli แบบเน้นๆ

อีกประเด็นหนึ่งคือการวัดผล การใช้กลยุทธ์นี้ไม่สามารถวัดผลได้ชัดเจนว่าผู้ชมได้เห็นหรือสนใจกับ Mowgli มากเท่ากับการสนับสนุนโพสต์ ที่จะแสดงตัวเลขชัดเจนถึงจำนวนคลิกและ engagement แน่นอนว่ายักษ์ใหญ่อย่าง Netflix รู้ดีอยู่แล้ว และยอมเทเงินให้เกิดการโฆษณาแนวใหม่บนโลกโซเชียลไทย

เบื้องต้น กลยุทธ์เปลี่ยนภาพโปรไฟล์และภาพปกบนเพจให้เป็นสื่อโฆษณา Mowgli นี้ไม่มีข้อมูลว่าจะจบลงเมื่อไร แต่ตัวแคมเปญเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมซึ่งเป็นวันเริ่มฉายที่หลายเพจพร้อมใจเปลี่ยนภาพในเวลาไล่เลี่ยกัน.

 
Source: thumbsup

The post Netflix เงินถึง เปิดศักราชโปรโมท Facebook สไตล์ใหม่ผ่าน “เมาคลี” appeared first on thumbsup.

Instagram ทดสอบ creator account บัญชีพิเศษเพื่อ influencer

$
0
0

51902893 – ฟีเจอร์ใหม่บน Instagram จะช่วยให้ Instagram ครองบัลลังก์ influencer marketing ได้เหนียวแน่นขึ้น

ไม่ใช่บัญชีธรรมดา แต่เป็น creator account ที่จะทำให้โปรไฟล์ของเหล่าเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพล influencer สามารถเพิ่มเติมและดัดแปลงเข้ากับตัวตนได้ดีกว่าโปร์ไฟล์ของบัญชีทั่วไป โดยจะแสดงข้อมูลการ follow และ unfollow ไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน คาดการทดสอบนี้มีโอกาสขยายผลในปีหน้า

Instagram เครือข่ายสังคมแชร์ภาพยอดฮิตประเดิมทดสอบบัญชีพิเศษสำหรับ influencer เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสำนักข่าว The Hollywood Reporter เรียกบัญชีนี้ว่า creator account ซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันชื่ออย่างเป็นทางการ

หวังช่วย Creator ทำงานดีกว่าเดิม

เบื้องต้น creator account ถูกรายงานว่าจะเน้นที่กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางสังคม ซึ่งภายในจะมีเครื่องมือพิเศษช่วยให้ influencer สามารถจัดการข้อมูลใน Instagram ได้ดีกว่าเดิม เช่น ระบบแสดงข้อมูลการกดติดตามและเลิกติดตาม follow และ unfollow รวมถึงตัวกรองการส่งข้อความตรง (direct-messaging filter) ซึ่งจะทำให้ระบบสามารถเน้นข้อความสำคัญได้ชัด ทั้งข้อความที่ส่งจากพันธมิตรแบรนด์ และเพื่อน

นอกจากนี้ creator account ยังเปิดให้ influencer เลือกช่องทางติดต่อที่สะดวก แล้วติดป้ายหรือ tag กำกับไว้ ทั้งหมดนี้รายงานย้ำว่า Instagram กำลังทดสอบฟีเจอร์และเครื่องมือต่างๆกับ influencer กลุ่มย่อยก่อนที่ขยายให้รองรับกว้างขึ้นในปี 2019

Ashley Yuki ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Instagram ซึ่งดูแลโซลูชันด้านสื่อกล่าวว่าการทดสอบเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ Instagram ต้องการสร้างแพลตฟอร์มที่ดีและง่ายที่สุด ในการสร้างชุมชนที่หลากหลาย ซึ่งจะตอบโจทย์ในส่วนการสร้าง personal brand ได้ดี ความเห็นนี้แสดงว่า Instagram ต้องการดึงดูด influencer ให้อยู่หมัดหลังจากการสำรวจพบว่า Instagram คือแอปพลิเคชันอันดับ 1 ที่เหล่า influencer เลือกใช้เพื่อทำแคมเปญ

การสำรวจของ CreatorIQ พบว่า influencer ส่วนใหญ่ (93%) ใช้งาน Instagram เป็นประจำ คิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับ YouTube และ Facebook โดย influencer กว่า 80% ใช้ Instagram เป็นเครือข่ายหลักหรือ primary network เชื่อว่าฟีเจอร์ใหม่บน Instagram จะช่วยให้ Instagram ครองบัลลังก์ influencer marketing ได้เหนียวแน่นขึ้น

ที่มา: : MM

 
Source: thumbsup

The post Instagram ทดสอบ creator account บัญชีพิเศษเพื่อ influencer appeared first on thumbsup.

บิลบอร์ด #ไม่ไปไหนไปNETFLIX โซเชียลไม่ปลื้ม?

$
0
0

เมื่อเพจ JS100 รับลูกประชาสัมพันธ์ให้ Netflix ซึ่งเปิดมิติใหม่ด้วยบิลบอร์ดไอเดียกระฉูด ปรากฏว่าแม้บิลบอร์ดนี้จะได้รับคำชมไม่น้อย แต่ก็มีอีกหลายเสียงที่ไม่เห็นด้วย กลายเป็นพลังสะท้อนความไม่ปลื้มที่น่าศึกษาสำหรับแบรนด์ที่ต้องการแง่มุมที่หลากหลายในสายตาคนไทย (บางกลุ่ม)

บิลบอร์ดที่ Netflix สร้างสรรค์มามีจุดต่างจากบิลบอร์ดค่ายอื่น หนึ่งในนั้นคือตำแหน่งการติดที่ยึดช่วงแยกกลับรถบนถนนที่มุ่งหน้าไปยังสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตช่วงเทศกาล จุดต่างสำคัญยังอยู่ที่เนื้อหา ที่ระบุว่าใครที่หวั่นใจกับรถติด ก็สามารถเปลี่ยนใจกลับรถข้างหน้า และท่องเที่ยวไปกับหนังและซีรี่ส์ใน Netflix แทน

คนไม่อินแคมเปญออฟไลน์

บิลบอร์ดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #ไม่ไปไหนไปNETFLIX ซึ่ง Netflix จุดพลุมาตั้งแต่ช่วงก่อนคริสต์มาส น่าเสียดายที่หลายโพสต์ไม่มี engagement ที่คึกคัก ซึ่งอาจจะผิดช่วงเวลาเพราะเวลานั้นการจราจรยังคล่องตัวทำให้คนไทยยังไม่อินกับไอเดียที่ Netflix ตั้งใจเสนอให้

กระทั่งเมื่อ Netflix จับมือกับ JS100 โพสต์ภาพบิลบอร์ดพร้อมติดแฮชแทค #ไม่ไปไหนไปNETFLIX โพสต์นี้มี engagement เหนือกว่าโพสต์นำเสนอข่าวสารการจราจร หรือข่าวประสานงานความช่วยเหลือเหตุด่วนเหตุฉุกเฉิกทั่วไป เรียกยอดแชร์ได้เกิน 7 พันครั้งใน 3 วัน ความเห็นอีก 1,400 รายการ และการแสดงความรู้สึกอีกเกิน 3 หมื่นครั้ง

ความเห็นส่วนใหญ่มองว่า Netflix ทุ่มโฆษณาหนักและจริงจัง ขณะที่หลายคนไม่เห็นด้วยกับบิลบอร์ด เพราะไม่เห็นจำเป็นต้องกลับรถ ใครจะดู Netflix ที่ไหนก็ได้ขอแค่มีสัญญานอินเตอร์เน็ตและแอคเคาท์

ติดป้ายประกาศเพิ่มความฮา

บิลบอร์ดของ Netflix รอบนี้ยังถูกโยงกับกรณีโฆษณาเมาไม่ขับ ซึ่งทางหลวงมีมติให้ปลดป้าย “แจ้งมรณะ,ยมโลก,เมาคะนอง” เมื่อปี 2548 ด้วย กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะบิลบอร์ดนั้นมีลักษณะคล้ายป้ายบอกทางของจริง เปลี่ยนชื่อ “ยมราช” เป็น “ยมโลก” เปลี่ยน “ดาวคะนอง” เป็น “เมาคะนอง” และเปลี่ยน “แจ้งวัฒนะ” เป็น “แจ้งมรณะ” ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนกับผู้ขับขี่ แม้จะพยายามสื่อความหมายในทำนองว่า สำหรับคนเมาแล้วคะนองขับรถ นอกจากจะไปไม่ถึง “ยมราช” แล้วอาจจะไป “ยมโลก” หรือไป “แจ้งมรณะ” แทน

จุดนี้มีบางความเห็นมองว่าบิลบอร์ดของ Netflix ก็อาจจะมีลักษณะคล้ายป้ายบอกทางไม่ต่างกัน แถมหน่วยงานที่คนเชื่อถืออย่าง จส100 ยังหยิบมา “เล่นเอง” ด้วย

แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน หลายคนชื่นชอบบิลบอร์ดนี้โดยแสดงความเห็นติดตลกว่า “Netflix เอาเวลานอนไปหมดแล้ว ยังจะเอาเวลาเที่ยวไปอีก” ขณะที่หลายคนเห็นด้วย พร้อมบอกว่าช่วงเทศกาลหยุดยาวนั้น การอยู่บ้านถือเป็นความสุข

อีกสิ่งที่น่าสนใจในแคมเปญล่าสุดของ Netflix คือคนไทยบางกลุ่มรู้สึกแง่ลบกับแบรนด์ที่โฆษณาต่อเนื่อง ชาวไทยบางรายบอกว่า “แค่โฆษณา (Netflix) ใน youtube ก็เอียนแล้ว” บางรายตอกว่า “อัดโฆษณาจนน่ารำคาญ ทั้ง YouTube, Facebook เอาพอดีๆ จะน่าสนใจขึ้นเยอะ” ขณะที่ผู้ซื้อแพคเกจ Netflix แบบรายเดือน บ่นยกใหญ่ว่าพบโฆษณา Netflix ตามหลอกหลอนตลอดเวลาที่ออนไลน์

Netflix จ๋า ทราบแล้วเปลี่ยน!

 
Source: thumbsup

The post บิลบอร์ด #ไม่ไปไหนไปNETFLIX โซเชียลไม่ปลื้ม? appeared first on thumbsup.

Viewing all 1958 articles
Browse latest View live