Quantcast
Channel: Digital Advertising – Thumbsup
Viewing all 1958 articles
Browse latest View live

Yumi Ishikawa จุดไฟแฮชแทคร้อน #KuToo ชวนสาวปลาดิบสู้เพื่อสิทธิ “งดส้นสูง”

$
0
0

 

เปิดเส้นทาง Yumi Ishikawa ผู้จุดประเด็นแฮชแทค #KuToo ซึ่งทำให้ผู้หญิงทั่วญี่ปุ่นลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิในการสวม “รองเท้าส้นเตื้ย” ในที่ทำงาน ล่าสุด Yumi Ishikawa สามารถรวบรวมรายชื่อสาวซากุระได้มากกว่า 26,000 ชื่อเพื่อเสนอให้รัฐบาลญี่ปุ่นออกคำสั่งห้ามองค์กรตั้งข้อกำหนดให้พนักงานหญิงสวมรองเท้าส้นสูง ซึ่งจะเป็นเรื่องผิดกฏหมายทันทีหากองค์กรใดบังคับจิตใจใครที่ไม่อยากสวม

Yumi Ishikawa เป็นนักเขียน ศิลปิน และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีที่อาศัยในกรุงโตเกียว จุดเริ่มต้นของการรณรงค์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเธอเขียน Twitter ถึงเหตุการณ์ถูกบังคับให้สวมรองเท้าส้นสูงในที่ทำงาน เรื่องราวนี้กลายเป็นไวรัลดังในแดนปลาดิบ จนมีผู้กด like มากกว่า 67,000 ครั้ง และถูก retweet หรือทวีตซ้ำ 30,000 ครั้ง

ไม่นาน Yumi Ishikawa ตัดสินใจใช้ Change.org เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งห้ามองค์กรบังคับพนักงานสวมส้นสูง พร้อมกับคิดแฮชแทคสั้นจำง่าย #KuToo คลัายกับ #MeToo ในสหรัฐฯ โดย #KuToo มาจากการผสมคำ 2 คำระหว่างรองเท้า (kutsu) และความปวด (kutsuu) ล่าสุด Ishikawa จัดงานแถลงข่าวเพื่อยืนยันว่าเธอจะเดินหน้าดันโครงการรณรงค์นี้อย่างเต็มที่

เลือกได้ดีกว่าบังคับ

รายงานวิชาการจำนวนมากฟันธงว่าการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นที่มาของอาการปวดคอ เท้า หลัง และขา แน่นอนว่าสาวส่วนใหญ่สามารถดูดีและรู้สึกมีพลังเมื่อสวมส้นสูง แต่ Yumi Ishikawa มองว่าการสวมใส่รองเท้าส้นสูงควรเป็นทางเลือก ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องบังดับกัน

ที่ผ่านมา สำนักงานหลายแห่งทั่วโลกกดดันให้ผู้หญิงสวมรองเท้าส้นสูงด้วยการกำหนดเป็นเครื่องแบบของสำนักงาน สิ่งที่ Ishikawa ต้องการคือล้มล้างการบังคับนี้ หลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้ตัดสินใจลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อตัวเธอเองและเพื่อนหญิงด้วยกัน

Yumi Ishikawa เล่าว่าเธอถูกกำหนดให้สวมรองเท้าส้นสูงในขณะทำงานที่ห้องรับรองแขกงานทางการ เธอใช้ Twitter เพื่อระบายความไม่พอใจจากการถูกบังคับให้ใส่ส้นเท้า ทวีตของเธอทำให้เกิดไวรัล ซึ่งหลังจากที่แคมเปญ #KuToo เริ่มติดตลาด คำร้องก็ถูกส่งไปยังกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นแล้ว

ความหวังของแคมเปญนี้ คือการตีความให้ข้อกำหนดที่บังคับให้พนักงานหญิงสวมรองเท้าส้นสูงนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ หรือการล่วงละเมิด Ishikawa กล่าวกับสื่อว่าแคมเปญนี้จะเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการมารยาทที่ไม่ดี เมื่อผู้หญิงสวมรองเท้าส้นเตี้ยอย่างผู้ชาย

ยังไม่ยอมรับ

รายงานระบุว่าจนถึงขณะนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ยอมรับคำร้องดังกล่าว และหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น (Ministry of Health, Labor and Welfare) ให่สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN ว่ายังไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนกฎว่านายจ้างสามารถกำหนดให้พนักงานสวมใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้าได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทสามารถควบคุมพนักงานได้ตามที่เห็นสมควร และคนส่วนใหญ่ในสังคมญี่ปุ่นก็ยังให้ความสำคัญกับรองเท้าส้นสูง (อย่างน้อยก็ในตอนนี้)

ไม่เพียงแค่ญี่ปุ่นเท่านั้นที่ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นเครื่องมือระดมเสียงประท้วงส้นสูง เพราะในอังกฤษก็มีการระดมเสียงของประชาชนกว่า 150,000 คน เพื่อลงนามในคำร้องต่อรัฐบาลอังกฤษในปี 2017 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้อังกฤษก็ยังคงปฏิเสธคำร้อง โดยให้เหตุผลว่าการเลือกปฏิบัติทางเพศนั้นผิดกฎหมายอยู่แล้วในอังกฤษ และรองเท้าส้นสูงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเสิรมรูปลักษณ์ที่ดูสมาร์ทขึ้นในที่ทำงานเท่านั้น

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีใครเห็นด้วย เพราะในปี 2017 รัฐบาล British Columbia ก็ลดความเข้มข้นในธรรมเนียมที่กำหนดให้พนักงานหญิงต้องสวมรองเท้าส้นสูง โดยอ้างถึงความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากการลื่นหรือล้ม รวมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า ขา และหลัง

ที่มา: : Fastcompany

The post Yumi Ishikawa จุดไฟแฮชแทคร้อน #KuToo ชวนสาวปลาดิบสู้เพื่อสิทธิ “งดส้นสูง” appeared first on Thumbsup.


Facebook เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน Tool สร้างโฆษณา ทำวิดีโอ “แนวตั้ง-แนวนอน-จัตุรัส”ได้หมด!

$
0
0

สะดวกขึ้นได้อีก!! เมื่อ Facebook อัพเดท Video Creation Kit เครื่องมือสร้างวิดีโอสำหรับ Facebook Ads ให้มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง

หนึ่งในนั้นคือการทำให้วีดีโอหนึ่งตัวมีหลายขนาด เช่น 16:9 (แนวนอน), 9:16 (แนวตั้ง) และ 1:1 (สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ได้ เพื่อให้เหมาะกับโฆษณาที่จะไปขึ้นในมือถือหรือเว็บไซต์ได้

“คุณจะประหยัดเวลาและสร้าง Video Ads ให้เหมาะกับสถานที่ที่โฆษณาของเราจะไปปรากฏ (Placement) ได้ โดยไม่ต้องถ่ายทำวิดีโอมาเพิ่มหรือตัดด้วยตัวเองอีก” Facebook ระบุใน Blog ของ Facebook Business

Mobile Video Demo 1

โพสต์โดย Facebook Business เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2019

 

รวมถึงจะเลือก Template ที่เหมาะกับวิดีโอของเราได้ เช่น หากเราเพิ่มภาพนิ่งลงไป ระบบก็จะเอฟเฟ็คที่เหมาะสมให้เหมาะกับ

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์จะมี Template และ Sticker ตามเทศกาลต่างๆ รวมถึงฟอนต์ใหม่ๆ อีก 20 แบบขึ้นมาให้เลือกใช้ในวิดีโอได้ และจะสามารถ Save Draft สำหรับวิดีโอที่ยังตัดต่อไม่เสร็จได้อีกด้วย

Video Creation Kit เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนลง Facebook Ads ที่อาจไม่มีความรู้ในเชิงเทคนิคด้านการทำวิดีโอ สามารถสร้างวิดีโอโฆษณาได้ง่ายมากขึ้น สอดคล้องกับการแถลงข่าวของ Facebook ก่อนหน้านี้ที่ประกาศว่าจะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถทำธุรกิจบน Facebook ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ที่มา: 1, 2, 3

The post Facebook เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน Tool สร้างโฆษณา ทำวิดีโอ “แนวตั้ง-แนวนอน-จัตุรัส” ได้หมด! appeared first on Thumbsup.

Google เปลี่ยนอัลกอริทึมครั้งล่าสุด กระทบทราฟฟิกหลายเว็บดัง

$
0
0

เรียกว่าเจ็บระนาวสำหรับการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมการค้นหาครั้งล่าสุดของ Google ที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการเปิดเว็บไซต์ของสื่อดังอย่าง Daily Mail และอีกหลายแห่งจนลดฮวบ ขณะที่ the Mirror, the Sun และ HuffPost ยิ้มแฉ่งเพราะได้อานิสงส์จากการปรับครั้งนี้แบบไม่ทันตั้งตัว

Google ชี้แจงเรื่องการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมการค้นหาหรือ search algorithm ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยเตือนบริษัท publisher ว่าได้เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงแล้วในวงกว้าง และการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมครั้งนี้อาจทำให้ publishers สังเกตเห็นปริมาณทราฟฟิกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งที่ Google มั่นใจว่าการปรับเปลี่ยนนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โต

อัปเดทหลักประจำ มิ.ย. 2019

การอัปเดทครั้งนี้ถูกเรียกว่า June 2019 core update สะท้อนชัดเจนถึงฐานะการอัปเดทระบบหลักประจำเดือนมิถุนายน 2019 การเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมใหม่ส่งให้ปริมาณการใช้งานเว็บไซต์ผ่านระบบเสิร์ชเอนจิ้นเกิดความผันผวน หนึ่งในสื่อที่น่าสังเกตว่าจะเป็นผู้รับผลกระทบมากที่สุดคือ Daily Mail ซึ่งรายงานว่าสูญเสียทราฟฟิกจากเสิร์ชเอนจิ้นต่อวันหรือ daily search traffic มากกว่า 50% แถมยังยืนยันว่าการสูญเสียเป็นผลมาจากการอัปเดทนี้แน่นอน

ข่าว Daily Mail สูญทราฟฟิกไปกว่า 50% นี้แดงขึ้นเมื่อมีการสำรวจพบว่าผู้อำนวยการด้าน SEO ของ Daily Mail ได้โพสต์ขอความช่วยเหลือจาก Google เพื่อแจ้งรายละเอียดภาวะทราฟฟิกลดลงครั้งใหญ่ โดยบล็อก Search Engine Roundtable พบว่าการลดลงของ daily search traffic ทำให้ Daily Mail สูญ discover traffic หรือทราฟฟิกที่ทำให้ผู้อ่านค้นพบ Daily Mail ลงไปอีก 90%

มือ SEO ของ Daily Mail ยังเสริมว่าสถานการณ์ล่าสุดนั้นยังไม่ดีขึ้น พร้อมกับที่รายงานจากเว็บไซต์ Search Engine Land ได้อ้างถึงข้อมูลจากผู้ให้บริการเครื่องมือ SEO Sistrix ซึ่งระบุว่าเว็บไซต์จำนวนมากกำลังถูกเห็นบนเสิร์ชเอนจิ้นลดลง (search visibility) ทั้งสื่ออย่าง Systrix, NFL.com และ Vimeo ซึ่งมี search visibility ลดลงเหมือนกับ Daily Mail

หลายเว็บยิ้มได้

ในเมื่อมีผู้แพ้ก็ต้องมีผู้ชนะ คนที่ยิ้มได้มีตั้งแต่ the Mirror, the Sun และ HuffPost ทั้งหมดรายงานว่ามีตัวเลข search visibility สูงขึ้นชัดเจนในสัปดาห์นี้

การขยายพื้นที่อัปเดท June 2019 core update บนระบบเสิร์ชเอนจิ้นคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปจนอาจมีผลเปลี่ยนแปลงทราฟฟิกบนเว็บไซต์อื่นทั่วโลก ดังนั้น publisher และนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่จะจับตาเพื่อดูผลกระทบในแง่มุมอื่นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดของ Google อย่างใกล้ชิดต่อไป.

ที่มา: : Fastcompany

The post Google เปลี่ยนอัลกอริทึมครั้งล่าสุด กระทบทราฟฟิกหลายเว็บดัง appeared first on Thumbsup.

10 วิธีปรับเนื้อหาเว็บให้เอื้อ voice search เสิร์ชด้วยเสียงแล้วเจอเลย

$
0
0

วันนี้ชาวโลกจำนวนมากใช้การค้นหาด้วยเสียงทั้งบนโทรศัพท์มือถือ และบนอุปกรณ์เสริมสำหรับบ้านอย่าง Amazon Alexa, Google Home รวมถึงระบบผู้ช่วยอัจฉริยะอื่น ความนิยมของ voice search ที่กำลังขยายตัวทำให้เจ้าของเว็บไซต์ต้องหาทางปรับเนื้อหาให้ระบบค้นหาด้วยเสียงเข้าถึงได้ง่าย แนวทางการปรับเว็บไซต์ให้เอื้อต่อ voice search สามารถแบ่งได้ไม่ต่ำกว่า 10 วิธี

ก่อนจะรู้ว่า 10 วิธีนั้นได้แก่อะไร มืออาชีพทุกคนควรรู้ว่า voice search กำลังทวีความนิยมเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยสถิติจากองค์กร PwC ระบุว่า 65% ของผู้ใช้อายุ 25-49 ปีมีการพูดคุยกับอุปกรณ์ที่เปิดใช้ฟีเจอร์ voice search อย่างน้อยวันละครั้ง โดยบริษัทวิจัย ComScore คาดการณ์ว่าครึ่งหนึ่งของการค้นหาออนไลน์ทั้งหมดจะเป็น voice search ภายในปี 2020 จุดนี้บริษัทวิจัย Narvar พบว่ามากกว่าครึ่ง (51%) ของผู้ที่ซื้อสินค้าด้วยการเอ่ยปากสั่งด้วยเสียง จะใช้เสียงสั่งค้นหาข้อมูลเพื่อวิจัยผลิตภัณฑ์ก่อน

 

10 เรื่องที่ต้องเตรียมพร้อม

สิ่งที่เกิดขึ้นคือปี 2019 ถูกประเมินว่าจะเป็นปีแห่ง voice search เพราะชัดเจนว่าผู้บริโภคจำนวนมากกำลังใช้เสียงเพื่อค้นหาข้อความ ข้อมูลธุรกิจในท้องถิ่น และข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อ และข้อมูลอื่นอีกมากมาย

1. เขียนเหมือนคำพูด

การค้นหาด้วยเสียงนั้นแตกต่างจากการค้นหาข้อความ เพราะจะมีความคุ้นเคยมากกว่า จำนวนคำที่ใช้เสิร์ชก็จะมากกว่าการค้นหาด้วยข้อความ ดังนั้นหากใครเขียนเนื้อหาบนเว็บในแบบที่ผู้คนมักพูดเมื่อถามคำถาม ก็จะมีโอกาสดีกว่า จุดนี้เว็บไซต์ควรใช้คำหลักหลายคำที่ยาวขึ้น และเป็นประโยคที่สมบูรณ์ซึ่งตอบคำถามเฉพาะทางได้ ที่เห็นได้ชัดคือ “หน้าคำถามที่พบบ่อย” (FAQ) มักจะปรากฏในหน้า 1 ของผลลัพธ์ voice search บน Google ที่เกิดจากการค้นหาด้วยเสียง

2. ตอบคำถามผู้ใช้

ลองค้นหาดูว่ากลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มจะถามอะไร แล้วจงสร้างเนื้อหาที่ตอบคำถามเหล่านั้น ทางที่ดีควรรวบรวมคำถามที่เกี่ยวกับธุรกิจให้ได้มากที่สุด จากนั้นพยายามสุดฝีมือในการตอบทุกคำถามในทุกช่องทางการตลาด

3. เรียนรู้หลักเกณฑ์ voice search ของ Google

เช่นเคย Google จะจัดอันดับหรือให้คะแนนผลการค้นหาด้วยเสียงตามระดับการตอบสนองต่อการค้นหาของผู้ใช้ รวมถึงคุณภาพตามหลักเกณฑ์ด้วย การทำความคุ้นเคยกับหลักเกณฑ์เหล่านี้จะทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นและได้มุมมองถึงวิธีที่สามารถทำได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรองรับ voice search ของเว็บไซต์ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสที่เว็บไซต์ของคุณจะได้รับเลือกไปตอบได้มากขึ้น

4. ตรวจคีย์เวิร์ด

Google keyword planner เป็นเครื่องมือวางแผนคีย์เวิร์ดของ Google ที่นักโฆษณาทั่วโลกเลือกใช้มากที่สุด เครื่องมือนี้จะช่วยแสดงแนวทางหาคีย์เวิร์ด และแนะนำคีย์เวิร์ดโดยอิงจากประวัติการค้นหาด้วยเสียง จุดนี้ควรหมั่นตรวจคีย์เวิร์ดให้บ่อย เพราะข้อเสนอแนะและฟังก์ชั่นเฉพาะอาจจะเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป

5. วิเคราะห์เว็บ

การเปิดใช้เครื่องมือวิเคราะห์เว็บจะช่วยระบุได้ว่าข้อความค้นหา voice search ใดบ้างที่ผู้ใช้จะได้พบกับเว็บไซต์ของเรา ในระบบจะมีเครื่องมือแนะนำแบบอัตโนมัติซึ่งมีให้บริการทั้งที่ Google และ Bing ทำให้ได้เห็นข้อความค้นหาของผู้ใช้ที่หลากหลาย

6. ทำเนื้อหาให้สมบูรณ์

ทั้งใน Google Places, Yelp และบริการไดเรกทอรีอื่น เจ้าของเว็บไซต์ควรแน่ใจว่าได้รวมคีย์เวิร์ดไว้สมบูรณ์แล้วโดยที่ทุกจุดอัปเดทให้ทันสมัย สำหรับในหลายประเทศ หลายครั้งที่ข้อมูลจาก Google Places และ Yelp มักปรากฏขึ้นเป็นลำดับแรกในผลการค้นหาของ Alexa และ Siri

7. ตรวจทาน onsite SEO

หากไม่ตรวจ SEO ให้ดีเพื่อให้แน่ใจว่า SEO ยังใช้การได้ไม่ล้าสมัย ก็อาจไม่ได้รู้ว่าหน้า FAQ หรือคำถามที่พบบ่อยนั้นเกิดหลุดออกจนไม่ได้เชื่อมโยงกับโครงสร้างเว็บไซต์ ปัญหานี้มีโอกาสเกิดขึ้นในเว็บไซต์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นมานานโดยไม่มีการอัปเดท

8. สร้างหน้า FAQ หลายหน้า

แทนที่จะเป็นหน้าคำถามที่พบบ่อยหน้าเดียวแบบมาตรฐาน และหมวดหมู่ประเภท FAQ แบบเป็นกลุ่ม การสร้างเพจหลากหลายเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการบริการลูกค้า การกำหนดราคา และการจัดส่ง รวมถึงคำถามทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจก็ได้ เป็นการเพิ่มโอกาสได้อีกในวงการ voice search

9. เข้าใจเจตนาของผู้ค้นหา

การทำความเข้าใจผู้ใช้ voice search เป็นอีกทางออกที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม เพราะการค้นหาด้วยเสียงเป็นเรื่องของตัวผู้ใช้ล้วนๆ ทั้งในแง่ความตั้งใจ และความท้าทายของผู้ใช้รายนั้น การสร้างเพจและจัดเต็มเนื้อหาที่สะท้อนถึงความต้องการของผู้ใช้ voice search คือวิธีที่สำคัญมากเช่นกัน

10. เรียนรู้แอปเสียง

หลายองค์กรวันนี้เริ่มเน้นการติดตามพัฒนาการทักษะของ Alexa หรือ Google Actions รวมถึงอีกหลายค่ายที่พัฒนาแอปพลิเคชันผู้ช่วยอัจฉริยะ แน่นอนว่าแอปที่ดีที่สุดจะมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและน่าจดจำ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจนเป็นกรณีศึกษาที่สามารถบอกใบ้แนวทางการเขียนเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ดีทีเดียว.

ที่มา: : PRDaily

The post 10 วิธีปรับเนื้อหาเว็บให้เอื้อ voice search เสิร์ชด้วยเสียงแล้วเจอเลย appeared first on Thumbsup.

6 วิธีเล่าเรื่องด้วยภาพ แจ่มจี๊ดเผ็ดแซ่บบน Instagram

$
0
0

 

การเล่าเรื่องด้วยภาพให้ดีขึ้นนั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีสามารถต่อยอดบน Instagram ได้เสมอ ทั้งการจัดแสง การเชื่อมโยงคลังภาพ และกฎ 3 ส่วนหรือ rule of thirds ล้วนเป็นหนึ่งในหลายกลวิธีที่จะสามารถดึงดูดผู้คนบน Instagram ได้แบบมืออาชีพ

Instagram เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก Facebook สถิติล่าสุดคือฐานผู้ใช้งานทะลุ 1,000 ล้านคนต่อเดือน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด สำนักพีอาร์ Ragan จึงร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ Instagram จัดอบรมในวิดีโอชื่อ Ragan Training แบบหมดเปลือก ถึง 6 วิธีการเล่าเรื่องด้วยภาพแบบที่มือใหม่ก็หัดทำตามได้บน Instagram

อย่างไรก็ตาม ฐานผู้ใช้ 1,000 ล้านคนบน Instagram ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าแบรนด์จะได้รับทราฟฟิกมหาศาลจาก Instagram แต่ประเด็นอยู่ที่ทราฟฟิกคุณภาพ ซึ่งเป็นจุดทรงพลังที่จะมีผลกับแบรนด์ของจริง

1. ภาพถ่ายดี มีชัยกว่าครึ่ง

อย่ามัวแต่โพสต์ภาพเลอะเทอะบน Instagram เพราะผู้ใช้ Instagram นิยมเฉพาะภาพสวยเก๋เป็นหลัก และนั่นหมายความว่าต้องเป็นภาพสวยดูแตะตาเท่านั้นที่จะสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ได้สำเร็จ ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Chobani ที่สร้างแบรนด์ได้สำเร็จบน Instagram เพราะมีการโพสต์รูปภาพที่สื่อถึงแบรนด์แบบสอดคล้องในทางเดียวกัน

2. เด่นดีบนพื้นขาว

เพราะ Instagram มีพื้นที่ขาวโล่งว่างเปล่าเหมือนไวท์บอร์ดหรือกระดานสีขาว โพสต์ของแบรนด์จึงควรมีพื้นหลังสีอื่นที่ขับตัวเองให้ดูเด่นบนพื้นขาวได้แบบไม่กลมกลืนเกินไป

View this post on Instagram

Humpday vibes. 👍👍// 📷: @andrewkuttler

A post shared by Tarteyogurt (@tarteyogurt) on

3. ให้รูปเล่าเรื่อง

วันนี้ยังมีหลายบริษัทที่หยิบตราสินค้าของตัวเองมาติดในรูปแล้วโพสต์แบบไร้จุดหมายบน Instagram ภาพเหล่านี้ไม่มีใครอยากชม เพราะแท้จริงแล้วภาพที่ดีคือภาพที่เชื่อมต่ออารมณ์ได้ และจะยิ่งดีขึ้นเมื่อภาพนั้นบอกเล่าเรื่องราวได้

4. ใช้แสงเงาช่วย

อีกหนึ่งวิธีที่จะตอบโจทย์ให้ภาพดูดีกว่าเดิมบน Instagram คือการมีแสงสว่างที่เหมาะสมดี เห็นได้ชัดจากกรณีภาพถ่ายบุคคลที่ยืนอยู่ริมหน้าต่าง ดังนั้นอย่าคิดว่าจะเป็นการเสียเวลาเพื่อรอคอยหรือมองหามุมแสงที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

View this post on Instagram

***

A post shared by あめ ぴちこ (@amepichi) on

 

5. ใช้กฎ 3 ส่วน

rule of thirds หรือกฎสามส่วนและจุดตัดเก้าช่อง นั้นช่วยให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจขึ้นทันตา เพียงใช้ rule of thirds แล้ววางวัตถุให้ตรงกับเส้นตาราง ภาพก็จะดูดึงดูดด้วยองค์ประกอบที่ดีกว่า

6. โชว์เป็นแกลเลอรี่ต่อเนื่อง

อย่าให้ภาพแต่ละภาพเป็นเรื่องราวที่ต่างกัน เพราะแม้ว่าแต่ละภาพควรจะบอกเล่าเรื่องให้จบในภาพเดียว แต่ทุกภาพในบัญชี Instagram นั้นก็ควรบอกเล่าเรื่องราวที่สอดคล้องกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น CBRE บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ Instagram บอกเล่าเรื่องราวในจินตนาการเกี่ยวกับเมืองต่างๆ รวมถึงแบรนด์อย่าง GoPro ก็ถ่ายทอดเรื่องราวการผจญภัยหลากหลายที่สอดคล้องกันภายในบัญชีเดียว

ที่มา: : PRdaily

The post 6 วิธีเล่าเรื่องด้วยภาพ แจ่มจี๊ดเผ็ดแซ่บบน Instagram appeared first on Thumbsup.

Google Chrome แบน Ad 12 รูปแบบ ตามข้อกำหนดของ Coalition for Better Ads

$
0
0

Google ประกาศว่าบราวเซอร์ Chrome จะเริ่มแบนและกีดกันไม่ให้โฆษณาที่รบกวนสายตาของผู้ใช้ ตามมาตรฐานของ Coalition for Better Ads ที่ได้ออกไว้

โดยการแบนดังกล่าวจะมีผลกับเว็บไซต์ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. นี้เป็นต้นไป และจะขยายการบล็อกโฆษณา 12 รูปแบบไปยังทวีปอื่นๆ ต่อไป

ส่วนผู้ใช้คนใดที่ต้องการเห็นโฆษณาสามารถปลดการบล็อคโฆษณาเพื่อให้แสดงผลได้ตามปกติ ซึ่งโฆษณา 12 ที่รบกวนผู้ใช้ 12 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบโฆษณาบน Desktop ที่แบน

1. Pop-up Ads – โฆษณาที่แสดง Pop-up ขึ้นมาระหว่างเลื่อนดูเนื้อหาบนเว็บไซต์

2. Auto-playing Video Ads with Sound – โฆษณาแบบวิดีโอที่เล่นอัตโมนัติแบบเปิดเสียงไว้

3. Prestitial Ads with Countdown – โฆษณาที่แสดงขึ้นมาก่อนจะเริ่มอ่านเนื้อหา โดยมีตัวนับเวลาถอยหลังขึ้นมา

4. Large Sticky Ads – ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ขึ้นค้างระหว่างการอ่านเนื้อหา กินพื้นที่มากกว่า 30% ของหน้าเว็บไซต์ที่อ่านในขณะนั้น

รูปแบบโฆษณาบน Mobile ที่แบน

5. Pop-up Ads – โฆษณาที่แสดง Pop-up ขึ้นมาระหว่างเลื่อนดูเนื้อหาบนเว็บไซต์

6. Prestitial Ads – โฆษณาที่แสดงขึ้นมาก่อนจะเริ่มอ่านเนื้อหา โดยมีตัวนับเวลาถอยหลังหรือปุ่มให้กดเข้าเว็บไซต์ขึ้นมา

7. Ad Density Higher than 30% – ป้ายโฆษณาที่กินพื้นที่มากกว่า 30% ของหน้าเว็บไซต์

8. Flashing Animated Ads – ป้ายโฆษณาที่มีภาพเคลื่อนไหวแบบกะพริบ หรือเปลี่ยนพื้นหลัง สี หรือข้อความ แบบตัดกันมากจนเกินไป

9. Auto-playing Video Ads with Sound – โฆษณาแบบวิดีโอที่เล่นอัตโมนัติแบบเปิดเสียงไว้

10. Postitial Ads with Countdown – โฆษณาที่แสดงขึ้นมาก่อนจะเริ่มอ่านเนื้อหา โดยมีตัวนับเวลาถอยหลังขึ้นมา

11. Full-screen Scrollover Ads – โฆษณาที่ขึ้นหน้าเต็มหน้าจอ ในระหว่างการเลื่อนอ่านเนื้อหา โดยกินพื้นที่มากกว่า 30% ของหน้าเว็บที่กำลังอ่านในขณะนั้น

12. Large Sticky Ads – ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ขึ้นค้างระหว่างการอ่านเนื้อหา กินพื้นที่มากกว่า 30% ของหน้าเว็บไซต์ที่อ่านในขณะนั้น

ที่มา: Chromium Blog

The post Google Chrome แบน Ad 12 รูปแบบ ตามข้อกำหนดของ Coalition for Better Ads appeared first on Thumbsup.

Social Media Manager ควรดู!! วิดีโอล่าสุดจาก 2 นักแสดงสุดฮาผู้ล้อเลียน “วัฒนธรรมดิจิทัล”

$
0
0

Nick Ciarelli และ Brad Evans เป็นนักเขียนและนักแสดงที่ถูกยกให้เป็นผู้ย่ำยีวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตสุดตลกโปกฮา ล่าสุดทั้งคู่กำลังก้าวไปไกลกว่าการสร้างวิดีโอออนไลน์เพื่อทำให้มุกตลกของ 2 หนุ่มกลายเป็นเสียงบอกต่อในโลกออฟไลน์

เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน ทั้ง Nick Ciarelli และ Brad Evans ปล่อยวิดีโอล้อเลียนบัญชี Twitter ขององค์กร ด้วยการหยิบสำนวนข้อความของระบบโซเชียลอัจฉริยะที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์มากมาย งานนี้ทั้งคู่เลือกแบรนด์เก๋ไก๋มาเป็นตุ๊กตาเรียกเสียงฮา ได้แก่ Otter Pops ขนมน้ำหวานในหลอดพลาสติกสำหรับแช่แข็งแล้วรับประทานเป็นไอศกรีมซึ่งมีวางจำหน่ายจริง และ Pine Breeze Urinal Cakes ลูกเหม็นดับกลิ่นสำหรับติดโถปัสสาวะชายที่ไม่ใช่สินค้าจำหน่ายจริง

ความฮาของวิดีโอนี้อยู่ที่การสะท้อนความเสแสร้งแกล้งทำที่โลกเคยเห็นบนโซเชียล ในวิดีโอนี้ Nick Ciarelli และ Brad Evans สวมบทเป็นผู้จัดการสื่อโซเชียลสำหรับแบรนด์ใหญ่ที่เชื่อว่าการเลือกเนื้อหามาพูดในนามแบรนด์ทำได้ง่ายมาก เพียงแค่ต้องปั่นโพสต์ที่พูดถึงสิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังโพสต์ถึง

กัดเจ็บปนทะลึ่ง

ทั้ง Nick Ciarelli และ Brad Evans เลือกสถานการณ์ล้อเลียนได้อย่างถึงพริกถึงขิง ในวิดีโอ 2 หนุ่มยกตัวอย่างหัวเรื่องที่มีการโพสต์ถึงมากที่สุดลนโซเชียล ว่าประกอบด้วยคำว่า fucking, having depression และ fucking while having depression ซึ่งแปลว่าการร่วมเพศ, ภาวะหดหู่ และการร่วมเพศในขณะที่มีภาวะหดหู่ ความตลกจึงเริ่มขึ้นเมื่อแบรนด์ทั้ง Pine Breeze Urinal Cakes Cake และ Otter Pops ผลัดกันพูดถึง Topic นี้แบบที่หลายคนเผลอหัวเราะออกมา

บทสรุปที่ไม่ธรรมดาจากวิดีโอนี้ คือทั้งคู่เลือกสร้างตัวตนให้แบรนด์สมมติอย่าง Pine Breeze Urinal Cakes Cake ให้มีตัวตนบนโลกออนไลน์ต่อไป แถมยังมีการโต้ตอบกับแฟนคลับของแบรนด์ที่ยังติดใจมุกตลก และสานต่อเจตนารมณ์ของทั้งคู่ที่เสนอว่าจะส่งลูกเหม็นที่สามารถ “รักษาโรคซึมเศร้าหดหู่ใจ” ไปให้ฟรีหากทวีตของทั้ง 2 ที่กล่าวถึงแบรนด์นั้นถูกส่งต่อทะลุ 500 RT

ข้อเสนอนี้บรรลุผลในเวลาไม่ถึง 6 ชั่วโมง และทั้ง Nick Ciarelli และ Brad Evans จึงไปซื้อลูกเหม็นมาทำตามที่พูดไว้

โชคชะตาพามาพบ

Nick Ciarelli และ Brad Evans มีเคมีที่ลงตัวผ่านน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ ขณะเดียวกันหัวข้อ และการเข้าถึงวัฒนธรรมดิจิตัลยุคใหม่ได้เร็วและกว้างทำให้ Ciarelli และ Evans สามารถล้อเลียนสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกดิจิทัลได้อย่างถึงใจ กลายเป็น memes ออนไลน์ที่ถูกแชร์อย่างชื่นชม

ก่อนจะมาเป็น Nick Ciarelli และ Brad Evans ทั้งคู่เป็นนักเขียนที่มาพบกันครั้งแรกเมื่อถูกสุ่มมาร่วมทีมร่างโครงการ UCB ทีมเดียวกันเมื่อปี 2013 หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งปีในการเขียนโครงร่างร่วมกัน Ciarelli และ Evans ก็กลายเป็นเพื่อนร่วมห้องและเริ่มต้นโครงการแสดงแบบยาวหรือ longform ครั้งแรก โดยเขียนเป็นบทพูดหรือสคริปต์สำหรับการแสดงสั้นแบบสดชื่อ Sex & Drugs & Rock & Roll

จากนั้นทั้ง 2 ก็มีผลงานเรียกเสียงฮาออกมาต่อเนื่องหลายตอน สะท้อนความขี้เล่นซึ่งกลายเป็นลายเซ็นของ Ciarelli และ Evans ที่ล้อเลียนสังคมออนไลน์วันนี้ จิกกัดพฤติกรรมคนดูวิดีโอสตรีมมิ่งยุคปัจจุบันได้แบบที่โลกจดจำ.

ที่มา: : Fast Company

The post Social Media Manager ควรดู!! วิดีโอล่าสุดจาก 2 นักแสดงสุดฮาผู้ล้อเลียน “วัฒนธรรมดิจิทัล” appeared first on Thumbsup.

Facebook ปรับขนาดโฆษณา News Feed บน Mobile จาก 2:3 เป็น 4:5

$
0
0

Facebook ปรับโฆษณาขนาดบน News Feed สำหรับบนมือถือจากอัตราส่วน 2:3 เปลี่ยนมาเป็น 4:5 ระบุเพื่อให้แสดงผลทั้ง Facebook และ Instagram ได้ดียิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้ Facebook ประกาศปรับดีไซน์หน้าเว็บไซต์แบบใหม่หมดจดในงาน F8 2019 ล่าสุด Social Media รายใหญ่ก็เริ่มประกาศเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโฆษณาแล้ว

ล่าสุดในวันที่ 19 ก.ค. 62 ที่ผ่านมา Facebook Business ประกาศเปลี่ยนอัตราส่วนของภาพโฆษณาที่แสดงบน News Feed มือถือจากอัตราส่วน 2:3 มาเป็น 4:5 รวมถึงจะแสดงคำว่า See More เมื่อมีข้อความเกิน 3 บรรทัดแรกเท่านั้น จากเดิมจะแสดง See More ถ้ามีข้อความมากถึง 7 บรรทัด

“การเปลี่ยนแปลงทั้งตัวข้อความ, รูปภาพ และวิดีโอต้องการออกแบบให้มีรูปแบบที่เรียบง่าย และสร้างความสอดคล้องให้กับประสบการณ์บนมือถือ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการโฆษณา และทำให้การใช้ภาพทั้งบน Facebook News Feed และ Instagram Feed ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น” Facebook กล่าว

โดยการเปลี่ยนแปลง Mobile News Feed Ads บน Facebook ที่กล่าวไปข้างต้นจะมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.62 ที่จะถึงนี้

The post Facebook ปรับขนาดโฆษณา News Feed บน Mobile จาก 2:3 เป็น 4:5 appeared first on Thumbsup.


เปิดใจ Greg Rinaldi แห่ง Magic Leap มองวิถี AR ชาวโลกไว้หรูเลิศเบอร์นี้

$
0
0

AR หรือ augmented reality จะแจ้งเกิดจริงจังอย่างไร-เมื่อไหร่? คำถามนี้ถูกนำไปถาม Greg Rinaldi (ภาพบน) หัวเรือใหญ่ผู้ดูแลครีเอเตอร์และนักพัฒนาของ Magic Leap คำตอบที่ได้คือเทคโนโลยี AR จะไม่จำกัดเฉพาะในอุปกรณ์สวมศีรษะหรือเฮดเซ็ตเท่านั้น แต่จะอยู่บน “ทุกเลเยอร์” ที่พร้อมนำเสนอข้อมูลให้ชาวโลกทุกคน

เทคโนโลยีเสมือนจริงหรือ reality ที่ Greg Rinaldi มองนั้นไม่ได้มีศัพท์คำว่า AR คำเดียว แต่ยังมี MR และแม้แต่ XR ซึ่งทุก “R” ล้วนผสมภาพดิจิทัลเข้ากับภาพจริงได้อย่างแนบเนียนน่าทึ่ง โดยคำว่า MR นั้นเป็นประสบการณ์เสมือนจริงเชิงพื้นที่ที่ผู้ใช้สามารถใช้ท่าทางการวาดมือ หรือเสียง หรือมองตาเพื่อโต้ตอบกับเนื้อหาเสมือนจริง ซึ่งอุปกรณ์ MR วันนี้ยังต้องการอุปกรณ์ชุดราคาแพงที่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวหลายตัว รวมถึงเซ็นเซอร์วัดความลึก และกล้องติดตามดวงตาที่ Magic Leap พัฒนาในอุปกรณ์ชื่อ Magic Leap One

ขณะที่คำที่คุ้นเคยมากกว่าอย่าง AR นั้นเป็นคุณสมบัติ AR ที่เน้นทำงานบนสมาร์ทโฟนเป็นหลักโดยใช้กล้องหลังพร้อมซอฟต์แวร์ขั้นสูงเพื่อจับภาพและวัดมุมมองภาพวิวจริง ซึ่งหากเป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบไม่ต้องอิงพื้นที่ และผู้ใช้จะไม่ได้สัมผัสโลกแห่งความจริงอย่างสิ้นเชิง ก็จะต้องใช้ชุดหูฟัง VR ที่วันนี้ถูกพัฒนาต่อเนื่องจนถูกเรียกว่า “Extended Reality” หรือ XR ความท้าทายที่ Magic Leap และตัวของ Greg Rinaldi มีคือทั้งหมดทุก R ถูกมองว่ายังไม่แพร่หลาย และยังจำกัดวงอยู่ในเวทีโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีแต่ข่าวคราววิดีโอสาธิตและอุปกรณ์ต้นแบบเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

ออกนอกโฆษณา

Greg Rinaldi มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายนักพัฒนาและผู้สร้างสัมพันธ์ของบริษัท Magic Leap บทบาทหน้าที่ของ Rinaldi ถือว่าสำคัญมากในการเปิดตลาด Magic Leap One ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ชุดหูฟัง XR ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในตลาดปัจจุบัน (นอกจาก HoloLens ของ Microsoft) ขณะนี้มีวางจำหน่ายสำหรับผู้บริโภคที่สนใจผ่านเว็บไซต์ Magic Leap ในราคา 2,300 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 70,827 บาทและโอเปอเรเตอร์อย่าง AT&T มีแผนจะวางจำหน่ายในร้านสาขาเร็ววันนี้

Rinaldi มองว่าจะมี “เลเยอร์ดิจิทัล” หรือชั้นภาพดิจิทัลที่แสดงเหนือภาพวิวจริงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยบอกว่ามนุษย์เราอยู่ในโลกดิจิทัลทุกวันนี้ท่ามกลางเลเยอร์ดิจิทัลอยู่แล้ว แต่เราแค่มองไม่เห็นเลเยอร์เหล่านี้ ที่ผ่านมา มนุษย์สามารถโต้ตอบกับเลเยอร์ได้ผ่านโทรศัพท์ของตัวเอง จนกลายเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์

“เมื่อมีคอนเซ็ปต์ว่านี่คือโลกทางกายภาพ จึงมีโลกดิจิทัลที่เราสามารถเห็นเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างจริงจัง โลกดิจิทัลนี้จึงไม่เกี่ยวกับชุดหูฟังเลย เพราะชุดหูฟังเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น” Rinaldi กล่าว

Rinaldi โชว์วิสัยทัศน์ว่าโลกเสมือนจริงคือเรื่องของเลเยอร์ดิจิทัลทั้งหมดที่ทำงานร่วมกัน และมอบข้อมูลให้ผู้ใช้โดยที่ข้อมูลนั้นอาจเป็นเส้นทางรถเมล์ หรือสำหรับใครที่ทำงานเป็นวิศวกร ข้อมูลนั้นก็อาจเกี่ยวกับรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะถูกแสดงมีลักษณะเข้าใจง่ายด้วยภาพแผนผังใต้ดินแบบไม่ต้องขุดพื้นดินจริง เลเยอร์การทำงานเหล่านี้มีหลักการทำงานคล้ายกับสถานีวิทยุตามท้องถนน ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับจูนรับคลื่นเพื่อเข้าถึงเลเยอร์ที่ต้องการ เช่น เลเยอร์เรื่องการขนส่งที่จะรวมข้อมูลของรถบัสทุกคัน รวมถึงรถจาก Uber, รถไฟ หรือแม้แต่เครื่องบิน Uber ที่กำลังบินอยู่

หมัดเด็ดคือความบันเทิง

Rinaldi ยกตัวอย่างถัดมาคือเลเยอร์ด้านความบันเทิง ซึ่งบนเลเยอร์เดียวจะมีความบันเทิงหลายสิบ, หลายร้อย, หลายพันรายการรวมอยู่ในที่เดียว ผู้ที่ปรับจูนเข้ากับเลเยอร์นี้คือทุกคนที่ชื่นชอบความบันเทิงเริงใจสไตล์มนุษย์ศิวิไลซ์ ซึ่งผู้ใช้จะสามารถจูนเข้ากับช่อง Game of Thrones และสามารถเห็นหรือตอบโต้กับมังกรที่บินอยู่เหนือศีรษะขณะกำลังเดินลงสถานีรถไฟใต้ดิน Embarcadero ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถแชร์ประสบการณ์ต่อให้เพื่อนฝูงคนสนิทได้

อีกตัวอย่างคือ Pokémon Go เลเยอร์ดิจิทัลในมุมมองของ Rinaldi คือความสมจริงและน่าดึงดูดมากกว่าเดิม เพราะตอนนี้ผู้ใช้สามารถมองเห็นตัวละครในเกมได้แบบ 3 มิติ รวมถึงอนาคตของวงการหนังสือการ์ตูนที่จะเปลี่ยนไปตลอดกาล

Rinaldi ระบุว่าทั้งหมดนี้คือความหมายเมื่อมีใครพูดถึง Magicverse ซึ่งเป็นแนวคิดปัจจุบันของ Magic Leap ที่เกี่ยวข้องกับการเสิร์ฟคอนเทนต์ดิจิทัลทั้งหมดทุกประเภท

ข่าวคราวล่าสุดของ Rinaldi คือการประกาศหาทีมงานเพิ่มในอังกฤษ โดยบอกว่าต้องการผู้นำที่มีประสบการณ์มาโฟกัสเรื่องงานจัดการความสัมพันธ์และพันธมิตรนักพัฒนา (Developer Relations and Partnership Management) ประสบการณ์ที่ต้องการคือเทคโนโลยี SpatialComputing ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ #Magicverse แพร่หลายในยุโรปมากกว่าเดิม

ที่มา: : FastCompany

The post เปิดใจ Greg Rinaldi แห่ง Magic Leap มองวิถี AR ชาวโลกไว้หรูเลิศเบอร์นี้ appeared first on Thumbsup.

Infographic: ครบเครื่องเรื่อง “Live สด”

$
0
0

 

ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอที่ออกอากาศทางแพลตฟอร์มไหน Facebook, Twitter, Instagram หรือ YouTube การเรียกความสนใจจากผู้ชมผ่านวิดีโอสดหรือ Live Video ก็ยังเป็นวิธีทรงพลังในการถ่ายทอดแนวคิดและจุดประกายความภักดีในสินค้าหรือแบรนด์ โชคดีที่เคล็ดลับการทำ Live Video ให้ดีนั้นไม่ได้ยาก แต่ก็ไม่ง่ายและมีมุมมองหลายปัจจัยดังต่อไปนี้

ทีมงาน Switcher Studio ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์เพิ่มเอฟเฟ็กต์ในวิดีโอ Live สด รวบรวมสถิติน่าสนใจมาตกผลึกเป็น “วิธีใช้ Live Video เพื่อสร้างธุรกิจ” โดยบอกว่า 8 ใน 10 คนอยากดูวิดีโอสดมากกว่าอ่านโพสต์บล็อกหรือโซเชียลมีเดีย

ชาวเน็ตกำลังดูอะไรอยู่?

เนื้อหาที่มีคนดูมากที่สุด
ข่าวด่วน: 56%
งานประชุมและคอนเสิร์ต: 43%
กีฬา: 30%

แพลตฟอร์มที่มีผู้ชมมากที่สุด

Facebook: 17%
YouTube: 16%
Snapchat: 12%
Periscope: 9%
Twitter: 9%

วิดีโอสดที่มีคนดูมากที่สุด

# 1 Red Bull – 8 ล้านสตรีมในเวลาเดียวกัน: ในปี 2012 Felix Baurngartner กระโดดจากแคปซูลอวกาศที่ความสูง 120,000 ฟุต แล้วใช้ร่มชูชีพร่อนลงบนพื้นโลก
# 2 FIFA – 7.7 ล้านวิวพร้อมกัน: การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2018 ระหว่างอาร์เจนตินาและไอซ์แลนด์สิ้นสุดลงด้วยผลเสมอ 1-1 สามารถทำลายสถิติที่ NFL เคยทำได้

# 3 NFL – 5.5 ล้านวิวพร้อมกัน: มหกรรม Super Bowl ปี 2017 เกมระหว่าง Patriots และ Falcons เป็นนัดที่มีผู้ชมมากที่สุดที่ไม่มีใครทำลายสถิติได้ จนกระทั่งเกิดฟุตบอลโลกในปีถัดมา
# 4 POTUS – ชมพร้อมกัน 4.6 ล้านครั้ง: ในปี 2017 พิธีการของประธานาธิบดีทรัมป์เป็นหนึ่งในอีเวนท์ข่าวใหญ่ที่สุดที่เคยมีการสตรีมสดพร้อมกันทั่วโลก
# 5 SpaceX – 2.3 ล้านวิว: ในปี 2018 การปล่อยตัวจรวด Falcon Heavy ที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก ถูกสตรีมสดจาก Cape Canaveral

ในปี 2019 สตรีมสดของ YouTube จากมหกรรมดนตรีและศิลปะ Coachella สามารถรวบรวมยอดชมสด 82 ล้านวิวในช่วงสุดสัปดาห์แรกของเทศกาลช่วงเมษายนที่ผ่านมา

ทำไมควรทำ Live Video

มีเพียง 20% ของผู้อ่านเท่านั้นที่อ่านบทความจนจบ เพราะส่วนใหญ่จะอ่านช่วง 1 ใน 4 ส่วนแรกของบทความ และ 69% ของผู้ใช้จะเลือกชมวิดีโอมากกว่าการอ่านข้อความเมื่อต้องการศึกษาแบรนด์ที่สนใจ

สถิติยืนยันว่าวิดีโอสดมีประสิทธิภาพมากกว่า ได้แก่

Engagement ที่สูงกว่า: สตรีมสดดึงดูดการมีส่วนร่วมหรือ engagement ได้ดีกว่าวิดีโอออนดีมานด์ทั่วไปถึง 6 เท่า
เข้าถึงได้เพิ่มอีก: 97% ของผู้บริโภคยินดีแชร์วิดีโอสดบนโซเชียลมีเดีย
เกิดยอดขายเร็วขึ้น: 2 ใน 3 ของผู้ชมวิดีโอสด จะซื้อตั๋วสำหรับกิจกรรมที่คล้ายกัน

4 แพลตฟอร์มวิดีโอสดที่ฮอตที่สุดเวลานี้ ได้แก่

1. Facebook
ผู้ใช้งานรายเดือน 2.3 พันล้านราย
ขนาดผู้ชมใหญ่ มีโอกาสเติบโตได้ง่าย
ตัวคอนเทนท์มีแนวโน้มที่จะถูกแชร์ต่อเนื่อง

2. YouTube
ผู้ใช้งานรายเดือน 1.9 พันล้านราย
วิดีโอถูกค้นพบได้ง่ายผ่านการ search
ระยะเวลาชมคอนเทนต์ยาวนานกว่าค่ายอื่น

3. Instagram
ผู้ใช้งานรายเดือน 1 พันล้านคน
สามารถส่งคอนเทนต์ไปแสดงด้านบนสุดของฟีดผู้ใช้
สามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ติดตามได้ทันทีที่ Live สด

4. LinkedIn
ผู้ใช้งานรายเดือน 303 ล้านราย
แพลตฟอร์มล่าสุดที่จะให้บริการวิดีโอสด
เน้นเจาะกลุ่มคนทำงานมืออาชีพ วิดีโอสดจึงต้องเน้นคุณภาพ

Live สดอะไรฮอต

ภายในปี 2022 วิดีโอจะคิดเป็น 82% ของปริมาณทราฟฟิกการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด เพื่อไม่ให้ตกขบวน 5 ทางเลือกในการทำ Live สดต่อไปนี้สามารถช่วยได้

1. Q + A Sessions: สร้างคอมมูนิตี้ให้แบรนด์ ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสนทนาระหว่างผู้ติดตามและผู้สนใจ

2. Webinars: ให้ความรู้แก่ผู้ชมถึงสิ่งที่แบรนด์เป็นผู้เชี่ยวชาญ ทำให้แบรนด์เป็น top of mind หรือแบรนด์แรกที่นึกถึงในอุตสาหกรรม

3. งานเบื้องหลัง: ให้ผู้ติดตามมีโอกาสมองเห็นเบื้องหลังการทำงานของบริษัท เป็นโอกาสแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและวัฒนธรรมขององค์กร

4. กิจกรรมอีเวนท์สด: ถ่ายทอดสดกิจกรรมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมสำคัญอื่นเพื่อสร้างกระแสและเข้าถึงผู้คนมากขึ้น

5. Crowdsourcing: ลองระดมสมองด้วยการสาธิตต้นแบบสินค้าใหม่แล้วให้ผู้ชมออกความเห็นว่าสิ่งใดที่ชอบและสิ่งใดที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง

เคล็ดลับ & เทคนิค

1. ต้องร่วมมือ, ต้องขาย และนำคอนเทนท์กลับมาใช้ใหม่

– ร่วมมือกับ influencers เพื่อขยายการเข้าถึง
– แสดงลิงก์สำหรับซื้อ และสาธิตผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้อง
– หลังจากสตรีมสดจบลง ให้รีโพสต์เนื้อหาใหม่ในเวลาที่เหมาะสม

2. คุณภาพและความสอดคล้องเป็นคีย์สำคัญ

– ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 2 ใน 3 ต้องการชมวิดีโอคุณภาพสูง
– วิดีโอสดคุณภาพสูงจะเรียกความสนใจเมื่อเปิดให้ชมย้อนหลังแบบ on demand
– รักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้คงที่ตลอดการถ่ายทอดสด

3. ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ

– สตรีม Live สดโดยตรงจาก iPhone หรือ iPad
– เพิ่มข้อความ เทคนิคพิเศษ และคลิปที่บันทึกไว้ล่วงหน้า
– บันทึกวิดีโอเพื่ออัปโหลดภายหลังสำหรับชม on demand

ที่มา: : SwitcherStudio

The post Infographic: ครบเครื่องเรื่อง “Live สด” appeared first on Thumbsup.

จับตา PSI, Nielsen, MRDA ใครจะได้เป็นคนกลางวัดเรตติ้งทีวีดิจิทัล

$
0
0

สำนักงาน กสทช. กำหนดเชิญผู้ประกอบการทีวิดีจิตอล สมาคมทีวีดิจิทัล ผู้จัดทำเรตติ้งในประเทศไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์ผู้ซื้อสื่อรายใหญ่ มีเดียเอเจนซี่รายใหญ่ ผู้ผลิตคอนเทนต์ ประชุมรับฟังแนวทางและวิธีการจัดทำเรตติ้ง เพื่อหารือแนวทางการสำรวจเรตติ้ง พร้อมเสนอความเห็น ข้อดี ข้อเสีย เพื่อเป็นแนวทางในกำกับดูแลเรื่องเรตติ้งในประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ (24 ก.ค. 62) ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่าวันที่ 25 ก.ค. 62 นี้ สำนักงาน กสทช. กำหนดเชิญ

  • ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทุกช่อง
  • สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย
  • กลุ่มเจ้าของผลิตภัณฑ์ผู้ซื้อสื่อรายใหญ่ เช่น บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทยโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด, บริษัท ลอริอัล (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท โคคา โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เป็นต้น
  • กลุ่มผู้ผลิตเนื้อหารายการรายใหญ่
  • สื่อมวลชน

มาร่วมประชุมรับฟังแนวทางและวิธีการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ (เรตติ้ง) พร้อมทั้ง หารือ ซักถาม ถกถึงข้อดี-ข้อเสีย และข้อเสนอแนะ ในการจัดทำเรตติ้ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลเรื่องเรตติ้งในประเทศไทย และแนวทางในการสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรกลางเกี่ยวกับการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิตอล ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 ข้อ 14 ของ สำนักงาน กสทช.

โดย กสทช. ได้เชิญผู้จัดทำเรตติ้งในประเทศไทย อันได้แก่ สมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA, บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Nielsen ประเทศไทย และบริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือ PSI มาเสนอระบบเรตติ้ง เพื่อประกอบการพิจารณาของสมาคมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่ต้องเลือกบริษัทที่ทำด้านระบบเรตติ้งต่อไป

PSI ชูระบบเรตติ้งที่ติดตามจากกล่อง S3 Hybrid ที่ขายไป

ส่วนบริษัท PSI ผู้ประกอบการระบบทีวีดาวเทียมรายใหญ่ เล่าว่าในอดีต PSI ใช้การวัดเรตติ้งผ่านกล่อง Rating box ซึ่งใส่ซิมของ AIS ไว้เพื่อให้ส่งข้อมูลผู้ชมกลุ่มตัวอย่างมายังบริษัทได้ แต่ก็พบปัญหาหลังมีจำนวนช่องทีวีดิจิทัลมากขึ้น

ต่อมาในปี 2017 ได้พัฒนาระบบวัดเรตติ้งทีวีใหม่ทั้งหมดใช้ชื่อว่า ‘PSI Rating’ ชูจุดขายระบบคือ มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ การวัดเรตติ้งนั้นวัดจากผู้ชมทีวีผ่านกล่อง S3 Hybrid และทำใช้ผู้ชมสามารถกดเปลี่ยนช่องได้จากแอปพลิเคชัน S3 Hybrid Controller บนมือถือ

ซึ่งแอปดังกล่าวจะเป็นช่องทางในการเก็บข้อมูลผู้ชมได้แบบโดยตรง เพราะมาจากผู้ใช้กล่องทีวีของ PSI จริงๆ และหากผู้ใช้ไม่ยินยอมให้เก็บข้อมูล ก็สามารถยกเลิกการส่งข้อมูลให้กับ PSI ได้ และอาจจะนำมาประยุกต์ใช้ในการแจ้งภัยพิบัติผ่านหน้าจอในอนาคต

ส่วนในฝั่งของระบบหลังบ้านที่ดูเรตติ้งทีวี PSI โชว์ให้เห็นว่าระบบมีความ Real-time มาก อัพเดทข้อมูลทุก 15 นาที ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในช่วงต่างเวลาของหนึ่งช่อง รวมถึงเปรียบเทียบเรตติ้งของหลายๆ ช่องให้เห็นได้ทันที ผ่านแอปที่ดาวน์โหลดจากทั้ง iOS และ Android

หลังการนำเสนอ ตัวแทนเอเจนซี่ได้สอบถามว่ามีระบบวัดสำหรับโฆษณา (Commercial rating) ด้วยหรือไม่ ทาง PSI ระบุว่าบริษัทจะพัฒนาระบบสมาชิกบนแอปรีโมทให้ใส่ข้อมูลรายได้ในอนาคต และยืนยันว่าบริษัทมีความตั้งใจพัฒนาระบบเรตติ้งทีวีเพื่อพัฒนาให้อุตสาหกรรมในภาพรวมดีขึ้น

Nielsen คาดเรตติ้งทีวีและดิจิทัลต้องหลอมรวมกัน

ส่วนตัวแทนของ Nielsen (นีลเซ็น) ประเทศไทย ระบุว่าสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกผู้วัดเรตติ้ง ประกอบด้วย ตรวจวัดครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ทุกแพลตฟอร์มทั้งทีวีและออนไลน์, มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และให้คำปรึกษาด้านยการทำเรตติ้ง, เป็นองค์กรที่ได้รับยอมรับในสากล

Nielsen ยืนยันว่าระบบการวัดเรตติ้งทีวีทั่วโลกพัฒนาตามมาตรฐาน Global Guideline for TV Audience Measurement (GGTAM) ที่พัฒนาโดย Audience Research Methods (ARM) Group

โดย ระบบเรตติ้งที่ Nielsen มีกำลังใช้อยู่ในไทย ได้แก่

  • TAM (Television Ratings) – การวัดเรตติ้งรายการและโฆษณาบนทีวี
  • DAR (Digtal Ad Ratings) – การวัดเรตติ้งแคมเปญโฆษณาออนไลน์ที่แสดงบนคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
  • TAR (Total Ad Ratings) – การวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์-ออฟไลน์ แบบมัลติสกรีน (ทั้งทีวี คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน)
  • DCR (Digital Content Ratings) – การวัดเรตติ้งรายการออนไลน์ รวมถึงการรับชมสดและย้อนหลังผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

ส่วนระบบเรตติ้งที่ Nielsen นำมาเสนอในที่ประชุม คือ TCR หรือ Total Content Ratings ซึ่งเป็นการวัดเรตติ้งรายการทั้งบนออนไลน์-ออฟไลน์แบบมัลติสกรีน ซึ่งจะรวมการรับชมสดและดูย้อนหลังบนทีวี คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

ซึ่งวิธีการวัดเรตติ้งรูปแบบใหม่จะเป็น Census Measurement ซึ่งเป็นนำระบบเดิมอย่าง TAM ที่วัดเรตติ้งทีวีจาก 10,000 ตัวอย่าง ผสานเข้ากับระบบที่ Nielsen พัฒนาใหม่เพื่อให้วัดเรตติ้งจากทุกคนที่อยู่ในระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นดูสด ดูย้อนหลัง หรือดูผ่าน OTT

และพยายามตรวจสอบว่าคนดูทีวีและผ่านแพลตฟอร์มอื่นหรือไม่ ถ้าหนึ่งคนดูหลายแพลตฟอร์มก็จะนับเป็นหนึ่งคนเท่านั้น ไม่นับคนซ้ำ

Nielsen ระบุว่าจะพัฒนา SDK หรือเครื่องมือที่เปิดให้ผู้พัฒนาแอปของ OTT เอาตัววัดเรตติ้งออนไลน์ไปใส่ไว้ในแอปหรือเว็บได้ โดยระบบดังกล่าวเริ่มมีการใช้ในประเทศโปแลนด์และฮ่องกงไปบ้างแล้ว

นอกจากนี้ Nielsen ยังระบุว่าทางองค์กรขายความเป็นมืออาชีพ ซึ่งถ้าไม่มี กสทช. ทาง Nielsen ระบุว่าพร้อมจะลงทุนระบบ TCR หรือ Total Content Ratings เองไปก่อนแล้ว

แต่เมื่อมี กสทช. ก็ต้องฟังเสียงอุตสาหกรรมทีวีภาพรวม และเชื่อว่าถ้าได้เงินสนับสนุน Nielsen ก็จะช่วยให้อุตสาหกรรมภาพรวม โดยเฉพาะในฝั่งเอเจนซี่และทีวีดิจิทัลที่จะไม่ต้องแบกรับภาระการจ่ายค่าระบบทีวีเรตติ้งอีกด้วย

MRDA ระบุระบบเรตติ้งต้องมาจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

ส่วนสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA ชูจุดเด่นว่าองค์กรของตนเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร จึงมีความโปร่งใส่ และทำงานกับหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดองค์กรนี้ขึ้น ส่วนระบบเรตติ้งทีวีออกมาใช้ชื่อว่า Multi-Screen Audience Measurement จะเป็นการวัดจากหลายๆ หน้าจอทั้งทีวีและดิจิทัลโดยเก็บข้อมูลจาก 3,000 ตัวอย่าง

โดยเน้นย้ำเรื่องของความโปร่งใสที่จะมีการตรวจสอบทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มกระบวนการทำโครงการไปจนถึงปลายทางของโครงการ และได้รับการรับรองจากสมาคมมีเดียเอเจนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พร้อมกับมี Partnership กับหลายบริษัทในการทำระบบนี้ ทั้ง Kantar, Intage Group, Mediametrie, Markdata และ CESP

ข้อมูลที่ได้จะมีทั้ง TV Rating, Other Screens Ratings (ซึ่งไม่ใช่การนับตามอุปกรณ์), Multiscreen Ratings, In-home & Out-of-home Ratings

ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ MRDA เสนอให้กับแต่ละฝ่าย คือ กสทช. จะได้ใช้ข้อมูลแบบฟรีๆ ในช่วง 5 ปีแรก (หลังจากนั้นจะคิดเงินแบบอัตราก้าวหน้าที่ไม่สูงมาก) ส่วนทีวีสาธารณะ (ช่อง 5, NBT, ThaiPBS และโทรทัศน์รัฐสภา) จะลดราคาให้ 50 เปอร์เซ็นต์จากราคาปกติ และจะเปิดให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เข้ามาใช้ข้อมูลได้ ราคาที่เปิดใช้เอกชนใช้บริการก็จะเป็นราคาที่สมเหตุสมผล

ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาในการ setup ระบบเรตติ้งทีวี ประมาณ 12-15 เดือน โดยจะเริ่มได้ข้อมูลที่ใช้ได้จริงในวันที่ 1 ม.ค. 64

นอกจากนี้ยังระบุว่า จะทำระบบ Face Recognition Measurement เพื่อวัดเรตติ้งจากผู้ใช้ที่อยู่หน้า Smart TV ที่มีกล้องจริงๆ เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่าผู้ชมอยู่หน้าจอทีวีจริงๆ และมีใครอยู่หน้าจอบ้าง เพราะปกติระบบเรตติ้งทีวีจะนับว่าเปิดทีวีหนึ่งเครื่องเท่ากับดูอยู่หนึ่งคน

เอเจนซี่รอระบบวัดเรตติ้งที่ถูกต้อง เหตุใช้มากสุด

ด้าน ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเจนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ระบุว่าหลังจากการประชุมพบว่าแต่ละภาคส่วนมีความเข้าใจมากขึ้น และมองว่าเอเจนซี่มีความต้องการใช้ตัวเลขที่มีความถูกต้อง ตามความเป็นจริง ถึงทำให้เกิดการ Pitching ระบบเรตติ้งในครั้งนี้ขึ้นมา โดยดำเนินการมาเป็นเวลานานถึง 4-5 ปีแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่จบสักที

“ถึงแม้ว่าจริงๆ แล้ว มันก็ไม่มีใครเหลือแล้ว ก็มีแต่ MRDA นี่แหละที่มาทำเรื่องนี้ แต่ Nielsen เขาก็ขึ้นเป็นผู้ให้บริการปัจจุบัน เขาก็ยังอยากทำต่อ เพราะฉะนั้นก็เลยเกิดการแข่งขันเกิดขึ้น แต่ผมคิดว่าในที่สุดแล้ว มันควรจะยึดพื้นฐานจากคนที่ใช้เป็นหลัก คนที่ใช้มากที่สุดก็คือเอเจนซี่” ไตรลุจน์ กล่าว

The post จับตา PSI, Nielsen, MRDA ใครจะได้เป็นคนกลางวัดเรตติ้งทีวีดิจิทัล appeared first on Thumbsup.

รวมรายชื่อ Digital Agency ของไทย

$
0
0

ทางทีมงาน thumbsup ได้รวบรวมรายชื่อของบริษัทดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่มีผลงานและชื่อเสียงในไทย ให้แก่นักการตลาดและแบรนด์ที่สนใจเก็บคอนแทคกันค่ะ

รายชื่อดิจิทัลเอเจนซี่ by DAAT มีดังนี้

 

นอกจากนี้ ยังมีรายชื่อของบริษัทการตลาดออนไลน์ที่น่าสนใจให้บริการในไทยอีกมากมายเลยนะคะ ลองดูรายชื่ออื่นๆ เพิ่มเติมได้เลยค่ะ

สำหรับรายชื่อที่เราเก็บมานั้น มาจากข้อมูลของ DAAT และการค้นหาที่มีรายชื่อบน google เท่านั้น

สำหรับบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ค่ายไหน ต้องการเพิ่มเติมลิสต์บริษัท สามารถส่งชื่อและเว็บไซต์ให้ทางทีมงาน ได้ที่ contact@thumbsup.in.th ได้เลยค่ะ

The post รวมรายชื่อ Digital Agency ของไทย appeared first on Thumbsup.

รายได้โฆษณา Google กลับมาคืนฟอร์มแล้วจ้า

$
0
0

หุ้น Alphabet พุ่งกระฉูดเมื่อมีการประกาศว่ายอดขายโฆษณาออนไลน์ของ Google ส่งสัญญาณกลับมาคืนฟอร์มฮอตแรงอีกครั้ง ส่งให้บริษัทแม่อย่าง Alphabet รายงานไตรมาส 2 ของปีแบบสุดแข็งแกร่ง แซงหน้าคำพยากรณ์ของทุกสำนักแบบขาดลอย

Alphabet ย้ำว่าธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของ Google เติบโตจนทำให้มีรายรับรวม 38,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท) ทำได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ว่ารายรับรวมของเจ้าพ่อเสิร์ชเอนจิ้นจะอยู่ที่ 38,100 ล้านเหรียญ โดยกำไรต่อหุ้นแบบยังไม่หักค่าเสื่อมอยู่ที่ 14.21 เหรียญ นำโด่งจากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทำได้ 11.30 เหรียญ

หากเจาะลึกที่การเติบโตของธุรกิจโฆษณาของ Google จะพบว่าตัวเลขเพิ่มขึ้นมากกว่า 19% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อัตราเติบโตของ Google เคยอยู่ที่ 17% เมื่อช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทั้งหมดลดลงจากการเติบโต 26% ที่ Google เคยรายงานในช่วง 2 ไตรมาสต้นปี 2561

ยังไม่ท็อปฟอร์ม

ถึงจะไม่สูงเท่าเดิม แต่ตัวเลข 19% นี้แสดงถึงการปรับปรุงที่ชัดเจน และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกดีและเชื่อมั่นในหุ้น Google ส่งให้หุ้น Alphabet มีราคาขายเพิ่มขึ้น 7% ในการซื้อขายนอกเวลาทำการ ทั้งที่ตัว Alphabet เองมียอดรายได้ที่ไม่สวยงามเท่าที่ควร

ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ Alphabet บันทึกรายได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งทำให้นักลงทุนจำนวนมากหวั่นใจจนทำให้หุ้นลดลงมากกว่า 10% ในช่วง 3 เดือนถัดมา แต่ผลประกอบการล่าสุดของไตรมาสนี้อาจบอกล่วงหน้าว่า Google กำลังคืนฟอร์ม แม้ว่านักลงทุนจะยังไม่หมดห่วงเรื่องการถูกคณะกรรมการ Federal Trade Commission ตรวจสอบ Google ด้วยข้อหาผูกขาดธุรกิจโฆษณาออนไลน์

แม้จะทำเงินได้ดี Google และ Alphabet ยังมีภาระเรื่องค่าปรับสูงมาก ล่าสุดคือค่าปรับ 1,700 ล้านเหรียญจากสหภาพยุโรปเมื่อไตรมาสที่แล้ว เวลานั้นสหภาพยุโรปตัดสินว่า Google ได้ใช้กลยุทธ์การแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมในพื้นที่โฆษณาอินเทอร์แอคทีฟในยุโรป ซึ่ง Alphabet ยืนยันว่าจะมีการอุทธรณ์แบบถึงที่สุดต่อไป

ที่มา: : FastCompany

The post รายได้โฆษณา Google กลับมาคืนฟอร์มแล้วจ้า appeared first on Thumbsup.

เทรนด์ลิขสิทธิ์การ์ตูน สำหรับกระตุ้นยอดขาย

$
0
0

หากจะเพิ่มยอดขายและสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับลูกค้า สิ่งแรกๆ ที่นักการตลาดคิดคงหนีไม่พ้นสินค้า Limited ไม่ว่าจะเป็นเปลี่ยนแพ็คเกจ ออกสินค้า Limited เฉพาะ Season หรือวิธีการยอดฮิตที่สุดและได้ผลมากที่สุดนั่นก็คือการใช้การดีไซน์ของแบรนด์เป็น Cartoon Limited 

ซึ่งเป็นได้ทั้ง packaging หรือของ premium สำหรับเก็บสะสมแต้มแล้วนำมาแลกของ แต่ไม่ใช่ว่าทุกตัวการ์ตูนจะสร้างยอดขายดีนะคะ เพราะการ์ตูนก็มีเทรนด์เหมือนกัน แต่นักการตลาดจะรู้จังหวะของเทรนด์การ์ตูนได้อย่างไรนั้น ลองดูกันค่า

Line Friends 

เริ่มต้นกันที่ลิขสิทธิ์ยอดฮิตอย่าง Line Friends ที่เคยคว้าลิขสิทธิ์ยอดเยี่ยมแห่งเอเชียไปครอง ด้วยคาแรคเตอร์สุดก๋ากั่น แต่เข้าถึงง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในสินค้าประเภทไหน ก็สามารถสร้างความสนุก ทำให้รู้สึกอยากได้ไปครอบครอง แม้กระทั่ง 7-11 บ้านเราก็คว้าลิขสิทธิ์เป็นสินค้าพรีเมียม จนยอดแลกสินค้าถล่มทลายกันไปแล้ว และถึงแม้ Line Friends จะเข้ามาครองใจคนไทยอย่างยาวนาน แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดกระแสลงได้ เนื่องจากมีการพัฒนาคาแรคเตอร์ให้โดนใจคนตลอดเวลานั่นเอง

 

We Bare Bears

มาถึงเจ้าสามหมีสุดน่ารักอย่าง We Bare Bears ที่นอกจากจะมีความน่ารักปนความกวนแล้ว ยังสามารถสร้างมีม หรือรีแอ็คต่างๆ จนเป็นที่โด่งดังในโลกทวิตเตอร์ก่อนจะมาโด่งดังเป็นลิขสิทธิ์ที่อยู่แทบจะทุกสินค้า เรียกว่าต่อให้ไม่สายหมี ก็ต้องยอมกับความน่ารักเมื่อนำลิขสิทธิ์ We Bare Bears อย่างที่แบรนด์ Miniso หรือร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์ แอคเซสเซอรี่มากมาย ได้นำเจ้า 3 หมีสุดน่ารักนี้ ไปต่อยอดกลายเป็นสินค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็น สมุด กระเป๋า ผ้าเช็ดหน้า กล่องดินสอ ทำให้จากการขายสินค้าธรรมดาทั่วไป ก็สามารถดึงดูดใจ จนต้องซื้อติดกลับบ้านทันที

 

Snoopy

ถึงแม้จะเป็นการ์ตูนที่ทุกคนรู้จักและได้รับความนิยมในอดีตมาอย่างยาวนาน แต่การกลับมาอีกครั้งของ Snoopy ก็ยังครองใจได้อีก สำหรับเหตุผลที่ทำให้กระแสของ Snoopy กลับมาได้อีกครั้งคือการเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าพรีเมียมใน 7-11 จนเริ่มมีร้านค้าต่างๆ จัดทำสินค้าพรีเมียมโดยมีตัวการ์ตูน Snoopy มากขึ้น จนเกิดเป็นกระแสคนรัก Snoopy มากขึ้นเรื่อยๆ และยังเป็นการ์ตูนที่ครองใจแฟนคลับได้เสมอ ไม่ว่าอยู่ในสินค้าประเภทใด ถือว่าเป็นตัวการ์ตูนยอดฮิตของคนฮิปๆ ไปเรียบร้อย  

 

Marvel

หนังจบแต่คนไม่จบจริงๆ สำหรับคาแรคเตอร์ซุปเปอร์ฮีโร่ของหนังเรื่อง Marvel ที่ได้ปรับเป็นลิขสิทธิ์การ์ตูนจนได้รับความนิยมไปทั่วโลก เรียกได้ว่าที่ชนะใจกว่าแบรนด์การ์ตูนอื่นๆ คือตัวละครนี้มีคนจริงๆ มาเป็นนักแสดงแล้วค่อยต่อยอดมาเป็นตัวการ์ตูน ซึ่งต่างจากการ์ตูนลิขสิทธิ์ตัวอื่นๆ ที่เป็นการ์ตูนแล้วค่อยกลายมาเป็นคน นอกจากนี้ คาแรคเตอร์การ์ตูน Marvel ยังเป็น Packaging ให้ตามรสชาติของลูกอมฮอลล์ (Halls) แต่ละสี จนสามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น เเละเป็นที่จดจำถึงความทันสมัย ถือว่าเป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ให้แก่แบรนด์ลูกอมฮอลล์ด้วย

 

Adventure Time

ถึงจะเป็นการ์ตูนที่ไม่ได้แมสเท่าแบรนด์อื่นๆ แต่บอกเลยว่าสาวกของ Adventure Time พร้อมควักกระเป๋าจ่าย หากผลิตสินค้าลายนี้ออกสู่ตลาด ถึงขนาดที่มีการผลิตตัวการ์ตูนบีโม่ ออกมา Big Size เพื่อสร้างความน่าสนใจ ก็ยังมีเหล่าแฟนคลับไปต่อแถวรอซื้อกันเลยทีเดียว เรียกว่าถึงไม่แมสมาก แต่ก็มาแรงไม่แพ้ใครเลยทีเดียว

 

สำหรับตัวการ์ตูนเหล่านี้ ก็เหมือนกับของขวัญที่แบรนด์มอบให้กับลูกค้า นอกจากจะสร้างในเรื่องของ Brand awareness ได้แล้ว ยังสร้าง Brand Relationship อีกด้วย ยิ่งใครเป็นนักสะสมและคลั่งไคล้การ์ตูน บอกเลยไม่ได้ซื้อแค่ชิ้นเดียวแน่นอน นี่คือเหตุผลที่ทำไมนักการตลาด ถึงต้องการทำสินค้า Limited เป็นเซต เพื่อวางเป็นสตอรี่ในแต่ละช่วงเวลาและมีจำนวนที่จำกัด ก็เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำนี่เอง 

 

The post เทรนด์ลิขสิทธิ์การ์ตูน สำหรับกระตุ้นยอดขาย appeared first on Thumbsup.

Infographic: วิดีโอเด็กบน youtube มียอดชมมากกว่าวิดีโอผู้ใหญ่ 3 เท่า!!!

$
0
0

 

แม้ว่า YouTube จะกำหนดให้ผู้ใช้ต้องมีอายุอย่างน้อย 13 ปี แต่การศึกษาล่าสุดของ Pew Research Center พบว่าวิดีโอที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนั้นโกยยอดชมมากกว่าถึง 3 เท่าตัว การค้นพบนี้สรุปได้จากช่องวิดีโอยอดนิยม 43,770 ช่องที่มียอดสมัครสมาชิก 250,000 คนขึ้นไป ชาแนลเหล่านี้อัปโหลดวิดีโอรวม 243,254 วิดีโอในปีนี้ และ 56% ของวิดีโอถูกอัปเดตในสัปดาห์แรกของปี 2019

อีกความจริงที่เซอร์ไพรส์คนทั้งโลก เพราะไม่เพียงวิดีโอ YouTube ที่เน้นกลุ่มผู้ชมเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จะได้รับความนิยมมากกว่าเนื้อหาประเภทอื่น การวิเคราะห์ของ Pew Research Center ยังพบว่าวิดีโอในช่อง YouTube ยอดนิยมที่มีสมาชิกมากกว่า 250,000 ราย เป็นวิดีโอภาษาอังกฤษจำนวนน้อยด้วย โดย 17% เท่านั้นที่เป็นวิดีโอภาษาอังกฤษ

 

พลังของวิดีโอใหม่บนช่อง YouTube ยอดนิยมนั้นเรียกยอดชมได้สูงมาก Pew Research Center พบว่าเพียงสัปดาห์แรก วิดีโอเหล่านี้มีการชมมากกว่า 14,200 ล้านครั้งใน 7 วันแรกที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์ม เบ็ดเสร็จแล้ว วิดีโอกลุ่มนี้มีความยาวรวมกัน 48,486 ชั่วโมง

หากเทียบกับการชมของบุคคลเดียวที่ดูวิดีโอเป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่หยุดพัก วิดีโอความยาวรวมกัน 48,486 ชั่วโมงจะต้องใช้เวลามากกว่า 16 ปีในการดูเนื้อหาทั้งหมดที่โพสต์โดยช่องยอดนิยมบน YouTube ในช่วงสัปดาห์แรกของปี วิดีโอที่โพสต์โดยช่องฮิตในช่วงเวลานี้มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 12 นาที และได้รับยอดวิวเฉลี่ย 58,358 ครั้งในช่วงสัปดาห์แรก

เมื่อเจาะลงไปในกลุ่มวิดีโอของช่องฮิตที่โพสต์ในช่วงระยะเวลาการศึกษา 1-7 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา พบว่า 70% ของวิดีโอทั้งหมดที่โพสต์โดยช่องเหล่านี้ในช่วงสัปดาห์แรกของปี 2019 มาจากเพียง 10% ของช่องยอดนิยมเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน 10% ของวิดีโอที่ถูกเปิดชมมากที่สุด (Top most-viewd video) ของช่องยอดนิยม ก็ครองสัดส่วนการชม 79% ของการชมวิดีโอใหม่ทั้งหมดของช่อง สถิตินี้สะท้อนการกระจุกตัวของยอดการชมและการผลิตวิดีโอที่เห็นชัดในช่วงสัปดาห์แรกของปี 2019

 

Pew Research Center พบว่าหัวข้อวิดีโอที่อัปโหลดโดยช่องฮิตช่วงวันที่ 1-7 มกราคมที่ผ่านมานั้นมีหลากหลาย แต่ที่ครองส่วนแบ่งมากที่สุดคือวิดีโอเกม 18% รองลงมาเป็นอีเวนท์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นหรือการเมือง 12% ที่เหลือเป็นเรื่องกีฬาและสุขภาพ 9% รวมถึงหัวข้อดนตรีและการเต้นรำ 9% เท่ากัน

ความน่าสนใจคือ Pew พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของวิดีโอที่เกี่ยวกับเกมมียอดชมอย่างน้อย 34,347 ครั้งในช่วงสัปดาห์แรกที่วางฉายบน YouTube แต่ในบางวิดีโอนั้นได้รับความนิยมสูงมาก ทำให้ค่าเฉลี่ยยอดการชมวิดีโอเรื่องเกมในช่วงเวลานี้ทะลุสูงถึง 122,195 ครั้ง

 

สำหรับช่อง YouTube ยอดฮิต 43,770 ช่องที่มีสมาชิกมากกว่า 250,000 subscribers ขึ้นไปนั้นถือว่าเป็นเพชรยอดมงกุฎเมื่อเทียบกับจำนวนช่องรวมทั้งหมด 1,525,690 ช่องที่ Pew พบในช่วงมกราคม 2019 ที่ผ่านมา

ที่มา: : Pew

The post Infographic: วิดีโอเด็กบน youtube มียอดชมมากกว่าวิดีโอผู้ใหญ่ 3 เท่า!!! appeared first on Thumbsup.


Facebook ฟ้องร้อง LionMobi และ JediMobi ฐานโกงสถิติโฆษณา (Ad Fraud)

$
0
0

Jessica Romero ซึ่งเป็น Director of Platform Enforcement and Litigation ของ Facebook บริษัท Social Media รายใหญ่ของโลก ระบุว่าบริษัทได้ทำการฟ้องร้องต่อสองบริษัทที่พัฒนาแอป ได้แก่ LionMobi (ตั้งอยู่ในฮ่องกง) และ JediMobi (ตั้งอยู่ในสิงคโปร์)

Facebook ระบุว่า ทั้งสองบริษัทเป็นผู้พัฒนาแอป Android ลงบน Google Play Store ได้สร้างระบบเพื่อทำให้ Facebook เข้าใจผิดว่าเป็นคนจริง ๆ ที่คลิกโฆษณาเพื่อสร้างรายได้แบบผิดกฎ

ซึ่ง LionMobi ยังโฆษณาแอปที่มีการขโมยข้อมูลอีกด้วย ซึ่งถือเป็นการละเมิด Advertising Policies ที่ Facebook กำหนดไว้อีกด้วย

สำหรับผู้ลงโฆษณาที่เสียเงินเพื่อลงโฆษณากับ LionMobi และ JediMobi จะได้รับเงินโฆษณาคืนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 แล้ว รวมถึงดำเนินลบ 30 แอปที่เกี่ยวข้องกับการโกงโฆษณาไปตั้งเดือนตุลาคม 2561 แล้วอีกด้วย

นอกจากนี้ Facebook ระบุว่าการดำเนินการทางกฎหมายของบริษัทถือเป็นหนึ่งในต่อสู้กับปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น โดยยืนยันจะตรวจสอบหาสาเหตุและหยุดยั้งการโกงสถิติโฆษณาต่อไป

ต้องยอมรับว่าการโกงสถิติโฆษณาเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นปัญหาที่กระทบในวงกว้าง แต่แพลตฟอร์มยังจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ผลิตเนื้อหา (Publisher) และผู้ลงโฆษณา (Advertiser) เริ่มดำเนินการสำหรับลดการกระทำที่ก่อให้เกิดปัญหาแบบไม่สิ้นสุดได้

ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา Mobile Ad Network ของ Google ก็ได้บังคับให้เว็บไซต์ที่ใช้โฆษณา Google ต้องเพิ่มไฟล์ app-ads.txt ซึ่งเป็น Protocol ที่ป้องกันการโกงสถิติโฆษณาเพื่อให้ผู้ลงเนื้อหาสามารถใช้งานได้ ซึ่งพัฒนาโดย IAB Tech Lab และบังคับให้ใช้แต่วันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา

ที่มา: MarketingLand และ The Verge

The post Facebook ฟ้องร้อง LionMobi และ JediMobi ฐานโกงสถิติโฆษณา (Ad Fraud) appeared first on Thumbsup.

ตลาดมีเดียในครึ่งปีหลัง เผาจริงหรือเผาหลอก

$
0
0

ธุรกิจสื่อถือว่าเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมความหวังที่จะสร้างการไหลเวียนของเม็ดเงินให้เฟื่องฟู แม้จะมีภาวะซบเซาของเศรษฐกิจก็ตามที เพราะยังไงแบรนด์ก็ต้องลงโฆษณาเพื่อการรับรู้สำหรับคนในวงกว้าง แต่ด้วยสภาวะที่เรียกว่าซบเซากันทั่วโลก ทำให้คาดการณ์ยากว่าจะมีตัวแปรอะไรมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง

ทีมงาน thumbsup ได้เข้าร่วมสัมภาษณ์พิเศษ คุณภวัต  เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด หรือ IS กับคุณคุณณัฐพล  ธำรงลักษณ์  ผู้จัดการอาวุโสสายงานวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา (Communication Strategist-Senior Manager) บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI เกี่ยวกับทิศทางสื่อโฆษณาในปีนี้

คุณภวัต  เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด หรือ IS

จากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยที่ยังซบเซาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาอุปสรรคต่างๆทั้งในและนอกประเทศ เศรษฐกิจยุโรปที่ตกต่ำ สงครามการค้าจีน-อเมริกา ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยหดตัว  อีกทั้งเงินบาทที่แข็งค่า ปัญหาภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ส่งออกแย่

และล่าสุดการลดค่าเงินหยวนจีน การยกระดับการชุมนุมประท้วงในฮ่องกง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น การจับจ่ายใช้สอยในประเทศ  ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นๆที่มีกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมสื่อและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ทำให้แบรนด์ที่เคยลงทุนสื่อใดสื่อหนึ่งแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ก็อาจต้องปรับเปลี่ยนอย่างละครึ่งๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ด้วย แม้กระทั่งนักการตลาดเอง ก็ต้องปรับตัวให้ทันต่อ Technology & Digital Disruption ยิ่งแลนด์สเคปของสื่อและธุรกิจโฆษณาก็เปลี่ยนแปลงและได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน

อีคอมเมิร์ซกลายเป็นช่องทางที่สินค้าสนใจ

เทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนของแพลตฟอร์มได้สร้าง IMPACT และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะแพลตฟอร์มโซเชียล, E-Commerce (E-Retail/ E-Market Place) ต่างๆ นักการตลาดและนักสื่อสารการตลาดทุกวันนี้มุ่งให้ความสำคัญแพลตฟอร์มดิจิตัลมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งแทบจะพึ่งพาแต่แพลตฟอร์มดิจิตัลในการทำการตลาด/สื่อสารการตลาด

จากตัวเลขของ DAAT และการคาดการณ์ของ MI ภายใน 2 ปีนี้ (หรือสิ้นปี 2020) สัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิตัลจะสูงถึงเกือบ 25,000 ล้านบาทหรือเกือบ 30% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดมีมูลค่ารวมกว่าเก้าหมื่นล้านบาท (หดตัวลงจากแสนล้านอันเนื่องมาจากการถดถอยของสื่อแมส อาทิ สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือนักการตลาดคนไหนสามารถการันตีได้ว่าการเน้นสื่อสารการตลาดผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพียงอย่างเดียว จะสามารถได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจที่สุด

หลักคิดในเรื่อง OMNI CHANNEL หรือการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง ต้องเชื่อมโยง สอดคล้องกับ Customer Journey หรือเส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้า ยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การทำการตลาด/สื่อสารการตลาด บรรลุวัตถุประสงค์และได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึก (Customer Insight) หรือการนำ Big Data มาใช้งานได้มีประสิทธิภาพเพื่อประกอบการวางแผนการตลาด/สื่อสารการตลาด

“จากที่เคยอัพเดทให้ทราบในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เอ็มไอได้ฟีดแบ็คจากนักการตลาด แม้ว่าสื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสื่อที่เติบโตและได้รับความนิยมอย่างมาก วัดผลได้  มีข้อมูลสถิติครบ แต่บางครั้งก็ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ มีหลายหมวดสินค้า อาทิ  รถยนต์ มือถือ ประกันภัย หรือ FMCGs แม้แต่สินค้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโลกดิจิตัล เช่น มือถือ, Application, E-Commerce การผสมผสานสื่อออฟไลน์และออนไลน์ โดยคำนึง Customer Journey มักจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างเดียว”

การเปลี่ยนแปลงของทีวีส่งผลเรื่องเม็ดเงิน

ช่องทีวีดิจิทัลที่จะทะยอยยุติออกอากาศกลางเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยายนนั้น กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เม็ดเงินจะโยกย้าย แต่ช่องต่างๆก็คงยังไม่เพิ่มราคาเพราะจะกระทบกับการตัดสินใจของลูกค้าแน่นอน 

“อย่างที่รู้ว่าเรายังไม่เห็นนโยบายที่กระตุ้นการใช้จ่าย ทำให้คนก็ไม่ใช้จ่าย แบรนด์ก็ชะลอและเกลี่ยงบไปทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งทีวียังคงราคาสูงกว่าสื่อ Out of home และออนไลน์ หากจังหวะนี้มีการขึ้นราคาแน่นอนว่างบโฆษณาจะโยนไปที่ฝ่ายตรงข้ามแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น รายการข่าวช่องอมรินทร์ที่เพิ่งปรับราคา ทำให้หลายแบรนด์เลือกไปลงกับรายการข่าวของไทยรัฐทีวีแทน เพราะราคายังพอรับได้และรายการก็มีเรตติ้งที่สูสีกัน”

ดังนั้น ในครึ่งปีหลังจนถึงกลางปีหน้าอาจจะไม่เหมาะที่จะออกนโยบายเรื่องการปรับราคา เพราะอย่างที่ทราบว่าพฤติกรรมของคนยังคงปรับเปลี่ยนเสมอ การนำละครมารีรัน หรือดึงรายการเด็ดๆ จากช่องที่ปิดตัวมาไว้ที่ตัวเอง อาจทำให้ผังหลายอย่างไม่นิ่งและช่วงแรกก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าคนจะติดตามหรือดูโฆษณา แม้จะเข้าใจว่าสื่อทุกรายต่างก็อยากได้เม็ดเงินที่เพิ่ม แต่หากไม่สามารถสร้างเรตติ้งได้ก็อาจจะส่งผลเชิงลบในอนาคต

เพราะทางแบรนด์เองก็มีคุยกับนักการตลาดหรือเอเจนซี่ของตัวเองในการปรับแผนลงโฆษณาให้เหมาะสมกับรายได้และยอดขายของแบรนด์เช่นกัน

จากตารางจะเห็นได้ว่าการปิดช่องของทีวีดิจิทัลรายการดีๆ อาจจะถูกยุบรวมไปที่ช่องหลัก และรายการโฮมช้อปปิ้งที่เคยเป็นรายได้หลักก็อาจจะถูกย้ายไปอยู่ในช่วงเวลาที่คนไม่ดูมากขึ้น เราจะเห็นแต่ละช่องปรับผังให้มีโอกาสทางรายได้มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าการใช้จ่ายของโฮมช้อปปิ้งในช่วงที่ผ่านมากลายเป็นรายได้หลักของบางสถานีไปเลย ภาพรวมที่เคยเป็นเม็ดเงินกลมๆ 2,000 ล้านบาท การปิดตัวของช่องเหล่านี้ ทำให้ไตรมาสสุดท้ายจะหายไปกว่า 500 ล้านบาท

นอกจากนี้ แบรนด์ยังคงเลือกที่จะลงโฆษณาในสื่อหลักเช่นเดิม แต่จะเลือกสื่อแบบ Tier 1 อย่างช่อง 7 และช่อง 3 ก่อน เพราะเรตติ้งของทั้งสองช่องนี้ยังมีทิศทางที่ดี ยิ่งช่อง 3 มีการรีรันละครที่อยู่ในกระแสแบบรวดเร็วในช่วงเวลาที่ฐานแฟนสะดวกดูมากขึ้น ทำให้เรตติ้งกลับมาดีในช่วงเวลาที่หลากหลายขึ้น จากที่เคยโฟกัสกันแต่ช่วงไพร์มไทม์ ก็อาจเลือกเวลาที่เช้าขึ้น เพราะถ้าฉายดึกคนก็เลือกจะไปเสพสื่อออนไลน์มากกว่านั่งเฝ้าจอ

แบรนด์ก็แข่งกันสูงขึ้น

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือการปรับลดงบโฆษณาของหลายแบรนด์ จากข้อมูลของนีลเส็นจะเห็นว่า อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโด บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ทุกประเภทเลย มองเรื่องการลงสื่อน้อยลงเน้นเรื่อง reach เช่นเดิมเพื่อสร้างการรับรู้ และไปโฟกัสด้านโปรโมชั่นและส่วนลดจากการขายมากขึ้น เพราะกำลังซื้อของคนไม่ได้คึกคักเหมือนก่อน เราจึงจะเห็นราคาบ้านและคอนโดที่เคยเป็นระดับพรีเมียมอาจต้องปรับลดลง เพื่อให้ลูกค้ากล้าซื้อมากขึ้น ยิ่งฐานลูกค้าชาวจีนก็ชะลอการเข้ามาลงทุนในไทยจากหลายๆ เหตุการณ์ยิ่งทำให้ธุรกิจนี้เน้นการปรับลดราคาก่อนจะเกิดฟองสบู่

นอกจากนี้ หลายแบรนด์สินค้าที่เคยเป็น Global ก็เน้นมาทำการตลาดแบบ Localize มากขึ้น เพราะต้องการสร้างความเชื่อมั่นและจับตลาดคนท้องถิ่นแต่ละประเทศ เช่น นีเวีย จากที่เคยใช้พรีเซนเตอร์คนเดียว และฉายโฆษณานั้นไปในหลายๆ ประเทศ ก็เลือกใช้ญาญ่า อุรัสยา ที่เป็นนางเอกตัวท็อปของวงการ เพราะต้องการสื่อให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น เข้าถึงฐานแฟนง่ายขึ้นในการจัดกิจกรรมส่งเสริมต่างๆ เพราะอย่างที่รู้ว่าฐานแฟนคลับจะยอมจ่ายเพื่อไอดอลของเขา

เม็ดเงินโฆษณาแตะแสนล้านเป็นแค่ฝัน

 

แม้จากกราฟจะเห็นว่าสื่อทีวีดิจิทัล สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อนอกบ้าน ยังมีทิศทางเป็นบวก แต่สื่ออื่นๆ ต่างก็ทะยอยติดลบกันมาติดๆ การที่ 3 สื่อหลักมีทิศทางที่ดีแต่ก็ไม่ใช่เงินที่หมุนเวียนในประเทศทั้งหมด เช่น สื่ออินเทอร์เน็ตคนก็เน้นไปที่การบูสต์โพสต์บนโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook LINE Twitter Youtube Instagram แต่กลับไม่เลือกลงในสื่อออนไลน์ที่มีเว็บไซต์น่าเชื่อถือ อย่าง Sanook Pantip หรือ thumbsup เองก็ตาม ทั้งที่สื่อออนไลน์เหล่านี้เป็นคนนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแบรนด์ แต่ก็เลือกเน้น Reach เพื่อให้คนจดจำแบรนด์

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของภาพรวมเม็ดเงินที่ลงในสื่อทีวี อินเทอร์เน็ตและสื่อนอกบ้าน ตัวเลขรวมกันก็ยังไม่มีทางแตะแสนล้านบาทอย่างที่เคยคาดการณ์กัน ต่อเนื่องไปอีก 2 ปีก็ไม่น่าจะถึงเพราะทุกอย่างชะลอตัวหมด ยิ่งปีหน้าไม่มีแฟกเตอร์มาเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายแบบในปีนี้ ยิ่งมีโอกาสที่การลงโฆษณาของแบรนด์จะลดลง ซึ่งต้องลุ้นกันว่าจะมีทิศทางบวกหรือลบ

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ Mood ในการจับจ่ายของคนลดลงเยอะ แต่ราคาสินค้ากลับสูงขึ้นกว่าที่จะซื้อได้บ่อย เช่น ราคาชานมไข่มุกจากที่เคยราคาแก้วละ 30-50 บาท หลายแบรนด์ที่เข้ามาทำตลาดก็มีราคาเฉลี่ย 80-150 บาทแล้ว แน่นอนว่าจะซื้อกินบ่อยๆ ก็คงไม่ไหวเพราะรายได้ก็ยังอยู่เท่าเดิม หรือแม้แต่ค่าอาหารตามห้างสรรพสินค้าที่เคยเริ่มต้น 20-50 บาท ก็เริ่มต้นที่ 60-120 บาท ขนาดร้านอาหารสตรีทฟู้ดเองยังปรับขึ้นเพราะต้นทุนสูง ทุกอย่างก็ได้แต่เฝ้าหวังว่าจะมีตัวกระตุ้นเรื่องรายได้ให้คนอยากจับจ่ายมากขึ้น

The post ตลาดมีเดียในครึ่งปีหลัง เผาจริงหรือเผาหลอก appeared first on Thumbsup.

JD.com อัดฉีดธุรกิจ offline marketing เท 142 ล้านดอลล์ทำโฆษณาในลิฟต์

$
0
0

JD.com คิดใหม่ทำใหม่ธุรกิจโฆษณา ด้วยการหันไปให้ความสำคัญกับธุรกิจ offline marketing มากขึ้น ตัดสินใจนำเงินลงทุน 142 ล้านเหรียญสหรัฐในบริษัทชื่อ Xinchao Media ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการโฆษณาในลิฟท์ของอาคารหลายแห่งทั่วเมืองจีน

ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของจีนอย่าง JD.com ให้เหตุผลการลงทุน 142 ล้านเหรียญหรือประมาณ 4,363 ล้านบาทในบริษัท Xinchao Media ว่าเพื่อยกระดับให้ JD.com มีที่ยืนในธุรกิจการตลาดออฟไลน์ที่ดีกว่าเดิม บนเป้าหมายใหญ่คือการทำให้ JD.com สามารถเข้าถึงตลาดสื่อเมนสตรีมที่ปรากฏสู่สายตาของชาวจีนในวงกว้าง

เบื้องต้น JD.com ระบุเพียงว่าการลงทุนใน Xinchao Media เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แต่ไม่มีการเปิดเผยจำนวนเงินที่ลงทุนใน Xinchao รวมถึงรายชื่อกลุ่มทุนหรือนักลงทุนรายอื่นที่เข้าร่วมในการระดมทุนรอบนี้

ด้วยการลงทุนนี้ JD.com หวังจะเสริมความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมการตลาดออฟไลน์ และผลักดันผู้ใช้ให้เข้าสู่แพลตฟอร์มของ JD.com มากขึ้น บริษัทยังกล่าวอีกว่ามูลค่าตลาดของ Xinchao กำลังโดดเด่นมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนึ่งในสื่อกระแสหลักที่แพร่หลายมากขึ้นในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

สำหรับ Xinchao รายงานระบุว่าได้เริ่มติดตั้งหน้าจออัจฉริยะในลิฟท์มากกว่า 700,000 จอในอาคารกว่า 100 เมืองทั่วประเทศจีน ก่อนหน้านี้ บริษัทได้รับเงิน 302 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9,280 ล้านบาท) ในรอบการระดมทุนครั้งล่าสุดซึ่งมี Baidu เจ้าพ่อบริการค้นหายักษ์ใหญ่จีนเป็นผู้นำในการลงทุน

สิ่งที่สามารถสรุปได้จากข่าวคือ JD.com กำลังไล่ตามคู่แข่งเพื่อเสริมแกร่งในธุรกิจออฟไลน์ของตัวเอง โดยเมื่อปีที่แล้ว คู่แข่งของ JD.com อย่าง Alibaba ประเดิมลงทุนประมาณ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐในบริษัทชื่อ Focus Media ซึ่งเป็นบริษัทที่ติดตั้งทีวีในลิฟท์มากกว่า 2 ล้านเครื่องแล้ว.

ที่มา: : TIA

The post JD.com อัดฉีดธุรกิจ offline marketing เท 142 ล้านดอลล์ทำโฆษณาในลิฟต์ appeared first on Thumbsup.

[กรณีศึกษา] เมื่อแบรนด์โฆษณาบนแพลตฟอร์มวิดีโอถี่เกินไป อาจทำให้เกิดกระแสตีกลับแทน!

$
0
0

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีโฆษณาเกมเจ้าหนึ่งปรากฎบนแพลตฟอร์ม YouTube อย่างต่อเนื่อง เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกไปต่างๆ นานา ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า.. การทุ่มเม็ดเงินโฆษณาและกว้านเจาะกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างจะเป็นผลดีต่อแบรนด์ ต่อแอป ต่อ product ที่เราจะนำเสนอจริงๆ หรือไม่?

 

ต้องยอมรับการโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Video Streaming ไม่ว่าจะเป็นบน Facebook Watch (ซึ่งมีผลต่อการชมหลายๆ คลิปบน Facebook) และ YouTube ซึ่งมีเจ้าของคือ Google ได้ผลดีกว่าที่ใครคิด

แต่เมื่อวานนี้ เว็บไซต์ MacThai ทำ poll สอบถามแบบทีเล่นทีจริง ซึ่งถามว่า “สอบถามสนุกๆ ว่าช่วงนี้ คุณโดนโฆษณาไหนตามวนเวียนอยู่มากที่สุด” โดยมาพร้อมกับช้อยส์เป็นแบรนด์ที่พวกเราทุกคนคุ้นกันในช่วงเวลาหนึ่ง ได้แก่ Rise of Kingdom, Shopee, Traveloka และ Netflix

Poll : คุณโดนโฆษณาไหน ตามหลอกหลอนมากสุดบน YouTube ?ช่วงนี้หลายคนเจอโฆษณาซ้ำๆ บน YouTube จำนวนมาก แม้จะกด report…

โพสต์โดย MacThai เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2019

เสียงส่วนใหญ่ออกไปในทางเดียวกัน คือ ไม่โอเคกับโฆษณา Rise of Kingdom กันพอสมควร และแม้จะกด report ไปแล้วก็ยังขึ้นมาให้เห็น

ทำให้เกิดคำถามว่า ผู้บริโภคเบื่อโฆษณาที่ขึ้นบนแพลตฟอร์มจริงๆ หรือเปล่า หรือโฆษณามันไปรบกวนความรู้สึกผู้บริโภคด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ เช่น

  • ฉันไม่ได้เล่นเกม ขึ้นโฆษณาอื่นมาบ้างสิ
  • ฉันไม่ได้เล่นเกม กดรายงานไปหลายรอบแล้วก็ยังขึ้นอยู่
  • ฉันลองเล่นแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนุกอย่างที่คิด
  • ฉันลองเล่นแล้ว เล่นบนไอแพดไม่ได้เลย
  • ฯลฯ

หากไปดูใน Twitter hashtag อย่าง #riseofkingdom และ #riseofkingdoms ก็พบว่าเสียวิจารณ์ออกไปในทางแง่ลบ รวมถึงพาลเข้าใจผิดไปถึง YouTube Channel อื่นๆ ที่มีโฆษณานี้ขึ้น ทั้งๆ ที่เจ้าของ YouTube Channel ไม่สามารถเลือกโฆษณาขึ้นมาเองได้ ระบบของ YouTube จะเป็นผู้คัดสรรโฆษณาที่คิดว่าเหมาะสมมาให้กับเรา

นอกจากนี้อย่าลืมว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่คนยอมใช้เวลาละเมียดละไมในการรับชมวิดีโอกว่า Facebook โดยเห็นว่า Facebook จะเลือกใช้โฆษณาแบบสั้นเพียง 15 วินาทีที่กดข้ามไม่ได้ แต่ YouTube กลับต้องมีรูปแบบโฆษณาที่ยืดหยุ่นกว่า นั่นคือมีโฆษณาทั้งแบบกดข้ามไม่ได้และกดข้ามได้ รวมถึงรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย

สะท้อนให้เห็นว่า แบรนด์ต่างๆ อาจต้องคำนึงถึงความรู้สึกของผู้บริโภคในภาพรวมมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์และผู้บริโภคอยู่ในจุดสมดุลที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

“คนไม่ได้ไม่ชอบโฆษณา เราแค่ไม่ชอบโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับเรา” มัณฑิตา จินดา Vice President of Digital Marketing ของ Workpoint Entertainment กล่าวไว้ในงาน Seminar on Stage เมื่อวานนี้ (18 ส.ค. 62)

ถือเป็นอีกเคสที่น่าสนใจ ชวนคิด และชวนตั้งคำถามต่อว่า… การทุ่มเม็ดเงินโฆษณาและกว้านเจาะหลุ่มเป้าหมายในวงกว้างจะเป็นผลดีต่อแบรนด์ ต่อแอป ต่อ product ที่เราจะนำเสนอจริงๆ หรือไม่?

The post [กรณีศึกษา] เมื่อแบรนด์โฆษณาบนแพลตฟอร์มวิดีโอถี่เกินไป อาจทำให้เกิดกระแสตีกลับแทน! appeared first on Thumbsup.

Twitter เปิดตัวเลือก Bidding โฆษณาแบบใหม่ ชมวิดีโอเกิน 6 วินาทีจะเริ่มคิดเงิน

$
0
0

Twitter เปิดตัวรูปแบบ Bidding โฆษณาแบบใหม่ ในชื่อ “” โดยอนุญาตให้ผู้ลงโฆษณา (Advertisers) สามารถลงโฆษณาที่เป็นวิดีโอความยาวไม่เกิน 15 นาที แต่จะเริ่มคิดเงินเมื่อผู้ใช้ชมโฆษณามากกว่า 6 วินาที และกินพื้นที่หน้าจอไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

ทาง Twitter ระบุว่า “ตัวเลือกที่ยืดหยุ่นสำหรับนักลงโฆษณานี้คำนึังถึงการวัดยอดวิวแบบสมบูรณ์ แต่ตอนนี้เราพร้อมปรับตัวอย่างที่เน้นการแสดงผลบนมือถือก่อน และพัฒนา assets แบบสั้นให้เหมาะกับการชมในหน้าฟีด”

ข้อมูล EyeSee เผยข้อมูลจากการศึกษาจากการติดตาม Engagement ของผู้ใช้งาน Social Media พบว่า ในช่วงเวลา 3 วินาที ผู้ใช้งานจะจดจำและตอบสนองในโฆษณาความยาว 15 วินาทีได้ ถึงแม้จะปิดเสียงแล้วภาพยังเล่นอยู่ก็ตาม ซึ่งรูปแบบโฆษณาดังกล่าวสร้างการจดจำได้ดีกว่าการโฆษณาบนทีวีแบบปกติอีกด้วย

นั่นหมายความว่าในทางทฤษฎี การคิดเงินโฆษณาวิดีโอที่ชมภายในระยะเวลา 6 วินาที ถึงเป็นเวลาที่มากพอที่จะมั่นใจได้ว่าผู้ชมโฆษณาจะเกิดการตอบสนองได้อย่างน่าพอใจ

และตัวเลือกแบบใหม่นี้จะมีให้ใช้กับ Promoted Video, In-stream Video Sponsorships และ In-stream Video Ads สำหรับวิดีโอที่มีความยาวน้อยกว่า 15 วินาที ซึ่งเปิดให้ผู้ลงโฆษณาทั่วโลกสามารถใช้งานได้อย่างเป็นทางการแล้ว

ในแถลงการณ์ Twitter ก็ยกตัวอย่างโฆษณาวิดีโอสั้น 6 วินาทีของแบรนด์ Dell Brazil ที่มีการใช้โฆษณารูปแบบดังกล่าวแล้วพบว่า วิดีโอมียอดวิว (view rate) เพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์

สะท้อนให้เห็นว่า Twitter ก็ยังต้องพยายามปรับรูปแบบการโฆษณาและรูปแบบการคิดเงินให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นักลงโฆษณาต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอโฆษณาอยู่ตลอด

ที่มา: Campaign, SocialMediaToday และ Marketing Land

The post Twitter เปิดตัวเลือก Bidding โฆษณาแบบใหม่ ชมวิดีโอเกิน 6 วินาทีจะเริ่มคิดเงิน appeared first on Thumbsup.

Viewing all 1958 articles
Browse latest View live